Tuesday, February 23, 2010

ธุรกิจครอบครัวควรคิดถึงอะไร(1) : What should Family Businesses be thinking about in 2009

โหรทางธุรกิจออกมาคาดคะเนกันต่างๆนานาว่าทิศทางธุรกิจในอนาคตจะเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นไปตามคาดกันครับมีทั้งเห็นว่าน่าจะเป็นไปได้กับอีกกลุ่มว่าน่าจะไปได้กับอีกกลุ่มว่าน่าจะแย่เพราะสารพัดเหตุการณ์รอบตัวที่หยิบยกมาสนับสนุน


สิ่งที่ผู้เขียนได้สัมผัสกับบรรดาคนค้าขายภายหลังจากมีการเลือกตั้งและปีใหม่ผ่านไปแล้ว หลายๆ เสียงกลับบอกว่าการค้าขายดีขึ้น แต่สิ่งที่ธุรกิจกลัวหรือกังวลคือสิ่งต่อไปนี้
:บรรดาพวกที่คิดว่ารู้ทุกเรื่องชอบให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ในเชิงลบและบอกถึงว่าจะแย่อย่างนั้นอย่างนี้เลยทำให้คนหมดอารมณ์ซื้อ-ขายหรือทำมาหากิน
:กังวลถึงลัทธิประชานิยมจะแปลงรูปกลับมาอีกครั้ง ซึ่งจะทำให้
-ชาวบ้านหรือคนทำมาหากินระดับรากหญ้ากลายพันธุ์เป็นไม่คิดจะทำมาหากินหรือรอเศษเงินจากโครงการต่างๆ ของรัฐบาลประชานิยมใหม่ (ถ้าพรรคที่ยึดประชานิยมเป็นรัฐบาล)
-บรรดาคนที่กู้หนี้ยืมสินจะเอาตัวอย่างพวกนักการเมืองหรือนักธุรกิจในอดีตคือ ไม่ใช้หนี้ ไม่หนี ไม่มี จนกลายเป็น NPL เพราะได้ประโยชน์จากการที่เจ้าหนี้มาขอประนอมหนี้ (ลดทั้งดอกเบี้ยและเงินต้น) เลยเป็นการสร้าง "ความไม่มีวินัยทางการเงิน" ให้เกิดขึ้นอย่างรุนแรงมากกว่าที่เป็นอยู่
ปี 2009 ธุรกิจครอบครัวต้องคิดถึงอะไร?
การศึกษาของ Crowe, Chizek, & Co.,(A Consulting and Accounting Firm) ได้ทำการสำรวจให้กับนิตยสาร Family Business เพื่อสอบถามผู้บริหารระดับ CEO ของธุรกิจครอบครัว จำนวน 339 คนในปี 1999 โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาระดับของปัจจัยทางธุรกิจและปัจจัยด้านครอบครัวในอีก 10 ปี (คือปี 2009) ซึ่งหลายๆ เรื่องยังน่าสนใจและเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน จึงขอนำสรุปมาให้ได้พิจารณากัน







ประเด็นด้านปัจจัยทางธุรกิจและด้านครอบครัวสำคัญอย่างไร ถ้าพิจารณาโดย-รวมค่อนข้างจะสอดคล้องกับบริบทของธุรกิจครอบครัวไทยโดยเฉพาะปัจจัยทางธุรกิจ เช่น การดำเนินการด้วยเทคโนโลยี การดึงดูด/รักษาผู้บริหารที่เก่งซึ่งไม่ใช่คนในครอบครัว การขาดระดับพนักงานที่มีคุณภาพและความต้องการลูกค้าที่มีศักยภาพ
ส่วนปัจจัยด้านครอบครัวสำหรับธุรกิจครอบครัวไทย น่าจะมีประเด็นที่สอดคล้อง เช่น การเลือกและตระเตรียมทายาท ค่าตอบแทนพนักงานที่เป็นสมาชิกครอบครัวและการขัดแย้งในครอบครัว


วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  
email: drdanait@gmail.com





No comments:

Post a Comment