ปี 2556 ..ปลายปี 2556 ต่อ ปี 2557 เซ็นทรัลส่งสัญญาณ ยกเครื่องบอร์ดบริหาร สุทธิชัย จิราธิวัฒน์
นำทัพก้าวสู่สากล
นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2552 "เซ็นทรัล กรุ๊ป" ได้ปรับโครงสร้างการบริหารครั้งใหญ่ภายใต้การนำของ "วันชัย จิราธิวัฒน์"ในฐานะประธานกรรมการ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด การเปลี่ยนแปลงครั้งนั้นไม่เพียงแต่เพื่อเสริมความแข็งแกร่งขององค์กรเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจในอนาคต และผลักดันคนรุ่นใหม่เจเนอเรชั่น 3 ขึ้นมามีบทบาทในการมาบริหารอย่างเต็มรูปแบบ
แต่ครั้งนั้นยังเป็นการเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างบริหารจัดการจากระบบ "Executive Committee"มาสู่ระบบ 2 บอร์ดบริหาร คือ คณะกรรมการกำกับการบริหาร Supervisory Board (SB) และคณะกรรมการบริหาร CEO Management Board (CMB) หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า บอร์ดซีเนียร์ (SB) จะคอยดูแลการทำงานและให้คำปรึกษาบอร์ดบริหาร ในยามที่ต้องขอคำปรึกษาและเมื่อต้องใช้งบฯการลงทุนก้อนโต หรือกรณีซื้อกิจการ-ร่วมทุนในดีลขนาดใหญ่ โดยบอร์ดบริหาร (CMB) มี "สุทธิธรรม"คุมทัพ พร้อมกับ 7 ผู้บริหาร คือ สุทธิลักษณ์ จิราธิวัฒน์, กอบชัย จิราธิวัฒน์, ปริญญ์ จิราธิวัฒน์, ทศ จิราธิวัฒน์, พิชัย จิราธิวัฒน์, Mr.Gerd Steeb และธีระเดช จิราธิวัฒน์
ความเคลื่อนไหวของกลุ่มเซ็นทรัล กรุ๊ป เดินทางมาถึงการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างองค์กรอีกครั้ง เมื่อกลุ่มเซ็นทรัลประกาศแต่งตั้งผู้บริหารใหม่รอบใหม่ ด้วยการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง 2 ตำแหน่งเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่การแข่งขันระดับสากล คือ "สุทธิชัย จิราธิวัฒน์"
ในวัย 73 ปี ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด (Chairman of Central Group Board of Directors) แทน "วันชัย จิราธิวัฒน์" ที่ถึงแก่กรรมเมื่อปีที่ผ่านมา พร้อมแต่งตั้ง "ทศ จิราธิวัฒน์" ในวัย 49 ปี ก้าวขึ้นเป็นประธานกรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด (Chairman of Executive Committee and CEO of Central Group) แทน "สุทธิธรรม จิราธิวัฒน์" ในวัย 66 ปีที่ขอเกษียณอายุการทำงาน มีผลตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ "กลุ่มเซ็นทรัล" ขยายความว่า เป็นการก้าวสู่การบริหารงานยุคใหม่ของกลุ่มเซ็นทรัล โดย "ทศ" จะเป็นผู้ขับเคลื่อนสำคัญในการสานต่อความสำเร็จตามยุทธศาสตร์ที่ "สุทธิธรรม" ได้วางรากฐานเอาไว้
สอดคล้องกับการฉายของแหล่งข่าวระดับสูงจากเซ็นทรัล กรุ๊ป ที่ขยายความถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ว่า การดัน "ทศ" ขึ้นเป็นหัวขบวนการขับเคลื่อนองค์กรครั้งนี้ จะเห็นภาพการบุกเต็มรูปแบบของกลุ่มเซ็นทรัลในทุกโมเดลและทุกรูปแบบทั้งเมืองไทยและการเติบโตในต่างประเทศ
สอดรับกับสไตล์การทำงานของกลุ่มเซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น ที่เห็นชัดในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตด้วยยุทธศาสตร์ ควบรวมกิจการ (Mergers & Acquistions : M&A) รวมถึงปักธงบุกต่างประเทศเป็นครั้งแรก
"การปรับครั้งนี้เป็นการประกาศเพียงลอตแรกเท่านั้น ในช่วงปลายปีหรือต้นปีหน้าจะเห็นโครงสร้างใหม่ของเซ็นทรัล กรุ๊ปทั้งหมดว่าอยู่กันตรงไหนอย่างไร และที่สำคัญการยกเครื่ององค์กรครั้งนี้เป็นการกลับเอาระบบองค์กรแบบดั้งเดิม คือ Executive Committee มาบริหารอีกรอบจากโครงสร้างปี"52 ใช้รูปแบบ 2 บอร์ดซีเนียร์และบอร์ดบริหาร และต้องมีผู้บริหารมาแทนตำแหน่งคุณทศในเซ็นทรัลรีเทลฯ"
"ทศ จิราธิวัฒน์" เคยให้สัมภาษณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่า ยุทธศาสตร์ M&A จะเป็นตัวเร่งให้เซ็นทรัลสามารถเติบโตทางธุรกิจได้อย่างก้าวกระโดดและต่อเนื่อง และเปิดกว้างการลงทุนเปิดในทุกรูปแบบ ควบคู่กับการมองหาโอกาสในการลงทุนในลักษณะควบรวมกิจการทั้งในไทย จีน อาเซียน และยุโรปไปในทิศทางเดียวกับมุมมองประธานกรรมการคนใหม่ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด "สุทธิชัย จิราธิวัฒน์" ให้เหตุผลว่า ตลอดการทำงานกว่า 24 ปีของคุณทศ มีความทุ่มเทและมีความรู้รอบด้านอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับธุรกิจค้าปลีก ที่เป็นหัวใจสำคัญของกลุ่มเซ็นทรัล เช่นเดียวกับสไตล์การทำงานแนวรุกที่เฉียบคมทั้งด้านธุรกิจและความสร้างสรรค์ใหม่ในธุรกิจค้าปลีกที่สำคัญเป็นการสานต่อการทำงานของคุณสุทธิธรรมที่วางรากฐานที่แข็งแกร่งเอาไว้
ไม่เพียงพาเซ็นทรัลก้าวขึ้นเป็น 1 ในผู้นำธุรกิจในระดับสากลเท่านั้น แต่การวิเคราะห์สถานการณ์ที่แหลมคมในแต่ละช่วงที่เป็นอุปสรรคทางธุรกิจได้ทำให้บริษัทข้ามผ่านมาได้เป็นอย่างดี
ความเปลี่ยนแปลงของเซ็นทรัล กรุ๊ปดังกล่าว ยังไปพร้อม ๆ กับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของ 2 หน่วยธุรกิจสำคัญ คือ กลุ่มพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ของเซ็นทรัลพัฒนา หรือซีพีเอ็น และเซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น หรือซีอาร์ซี ที่ปรับเปลี่ยนผู้บริหารในบียูห้างสรรพสินค้าโรบินสัน โดยบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) มีมติแต่งตั้ง "ปรีชา เอกคุณากูล"ที่โยกมาจากหัวเรือใหญ่ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน มาดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ แทน "กอบชัย จิราธิวัฒน์" มีผลตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2557 เป็นต้นไป ด้วยเป้าหมายครองความเป็นผู้นำในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกและขยายโครงการทั้งในกรุงเทพฯ ต่างจังหวัด และเน้นกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านเตรียมความพร้อมในการรุกตลาดใหม่ ๆ ในอาเซียนและรองรับการขยายตัวและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย
จากประสบการณ์การทำงานของ "ปรีชา" ตั้งแต่ปี 2538-2556 เป็นหัวเรือใหญ่บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์, ซีอาร์ซี เพาเวอร์ รีเทล และบีทูเอส รวมทั้งห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ตามลำดับ ส่วนตำแหน่งแม่ทัพโรบินสันที่ว่างลงคณะกรรมการบริษัทห้างสรรพสินค้าโรบินสัน มีมติแต่งตั้ง "อลัน ทอมสัน" ขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน มีผลตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2557 ด้วยรายได้ 2 แสนล้านบาทต่อปี
ทุกความเคลื่อนไหว ทุกก้าวย่างที่เป็นการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเซ็นทรัล จึงมีความสำคัญไม่เพียงแต่ในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกด้วยกันเอง แต่ยังรวมถึงกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ ที่ล้วนเฝ้ามองทุกการเคลื่อนทัพของกลุ่มเซ็นทรัล
updated: 12 ธ.ค. 2556 เวลา 10:24:57 น.
ปี 2555
วันชัย จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ถึงแก่กรรมด้วยวัย 84 ปี โดยศพจะตั้งบำเพ็ญกุศล ณ ศาลาเตชะอิทธิพร (ศาลา1) วัดเทพศิรินทร์ พิธีรดน้ำศพเวลา 14.30 น. สวดพระอภิธรรมเวลา 19:00 น
นายวันชัย จิราธิวัฒน์ เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้อง 8 คน ของนายเตียง และนางหวาน จิราธิวัฒน์ โดยบิดา เป็นผู้ก่อตั้งห้างเซ็นทรัล
นายวันชัย เป็นผู้ร่วมบุกเบิก และร่วมเปิด ห้างเซ็นทรัล สาขาแรก วังบูรพา ปี พ.ศ.2499 หลังจากนั้นก็เดินหน้า ขยายสาขาห้างเซ็นทรัลจำนวนมาก ทั้งใน กทม.และต่างจังหวัด รวมถึงการไปลงทุนต่างประเทศที่จีน ทำให้ที่ผ่านมา ห้างเซ็นทรัล ประสบความสำเร็จ มาเป็นเวลา 60 ปี โดย เครือเซ็นทรัล เป็นเครือบริษัทที่ดำเนินธุรกิจค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า โรงแรม และรีสอร์ท มีพนักงานกว่า 60,000 คน
ชื่อพี่น้อง ได้แก่ คนโต นายสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ (เสียชีวิต), 2 นายวันชัย จิราธิวัฒน์ , 3.นายสุทธิพร จิราธิวัฒน์ ,4 นางสุจิตรา มงคลกิตติ ,5 นางมุกดา เอื้อวัฒนะสกุล ,6 นางรัตนา นรพัลลภ ,7 นายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ และ 8 นายสุทธิชาติ จิราธิวัฒน์
ภรรยา ของดร.วันชัย คือ นางสุมาลี (ด่านภัทรกุล) จิราธิวัฒน์(เสียชีวิต) มีบุตร-ธิดา 5 คน เป็นชาย 4 คน หญิง 1 คนประกอบด้วย นางจินตนา บุญรัตน์ สมรสกับ นายฉัตรชัย บุญรัตน์ ,นายวัฒน์ จิราธิวัฒน์,นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ สมรสกับนลินี อรรถกระวีสุนทร ,นายศักดิ์ชัย จิราธิวัฒน์ สมรสกับสุรางค์รัตน์ วิทยะเวทิน และนายพิชัย จิราธิวัฒน์
สำหรับประวัติการศึกษา จบการศึกษาระดับประถมศึกษาจากจากโรงเรียนวัดราชโอรส ระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนอำนวยศิลป์ รุ่นลมหวล,โรงเรียนอัสสัมชัญ และอัสสัมชัญพาณิชย์ และปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ก่อนเสียชีวิตดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด หรือผู้นำสูงสุดของอาณาจักรเซ็นทรัล
รายงานข่าวระบุว่า นายวันชัย จิราธิวัฒน์ ประธานเซ็นทรัลกรุ๊ป ได้เสียชีวิตลง เพราะป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มากว่า 10 วันแล้ว
อ้างอิง จาก
http://www.posttoday.com/ธุรกิจ-ตลาด/177022/สิ้น-วันชัย-เจ้าสัวเซ็นทรัลกรุ๊ป
15 กันยายน 2555
ปี2555
4.ซีอาร์จีตั้งเป้าขยายพอร์ตแบรนด์ร้านอาหารเป็น 16 แบรนด์อีก 5 ปีข้างหน้า ลุยเพิ่มปีละ 1 แบรนด์ เปิดกว้างร้านอาหารทุกประเภท ประกาศใช้งบฯลงทุนขยายสาขา-ทำตลาดปีนี้ 1,000 ล้าน ตั้งเป้ามีสาขาครอบคลุม 1,000 แห่งใน 5 ปี โตเฉลี่ย 10% ต่อเนื่อง
หลังจากนี้ แนวทางการสร้างแบรนด์ใหม่ ๆ จะมีความชัดเจนขึ้น โดยตั้งเป้าขยายเป็น 16 แบรนด์ภายในปี 2559 หรืออีก 5 ปีข้างหน้านับตั้งแต่ปีนี้ คิดเป็นจำนวนสาขาไม่ต่ำกว่า 1,000 สาขา จากปัจจุบันมีสาขาทั้งสิ้น 603 สาขา
"ที่ผ่านมามีหลายแบรนด์มาติดต่อเรา เป็นร้านอาหารหลายประเภท ปีนี้เราจะมีแบรนด์ใหม่อย่างน้อย 1 แบรนด์ แนวทางการขยายแบรนด์ของเราจะหลากหลายในทุกประเภท ไม่ได้เน้นแค่แนวใดแนวหนึ่ง"
ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจร้านอาหารของซีอาร์จีมีการเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยราว 12% ในปีที่ผ่านมา และตั้งเป้าปีนี้เติบโต 26% คิดเป็นรายได้ประมาณ 8,200 ล้านบาท โดยใน 5 ปีข้างหน้าจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% ปัจจุบันมูลค่าตลาดเชนร้านอาหารอยู่ที่ประมาณ 70,000 ล้านบาท โดยสัดส่วนของตลาดที่เติบโตอย่างเด่นชัด ได้แก่ ตลาดอาหารญี่ปุ่น ตลาดไก่ และประเภทบุฟเฟ่ต์ ชาบู ชาบู และปิ้งย่าง ซึ่งเติบโตราว 13-15%
นายธีระเดชกล่าวว่า ปีที่ผ่านมายอดขายรวมทั้งสิ้น 6,551 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,256 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโต 24% จากปีที่ผ่านมา โดยปีที่ผ่านมามีสาขาเพิ่มขึ้นถึง 91 สาขา แบ่งเป็นการเปิดสาขาใหม่ 56 สาขา และจากการซื้อกิจการแบรนด์ร้านอาหารโอโตยะ 35 สาขา โดยปีนี้บริษัทเตรียมงบฯลงทุนในปีนี้ทั้งสิ้น 1,000 ล้านบาท แบ่งเป็นงบฯการเปิดสาขาใหม่ 450 ล้านบาท งบฯการปรับปรุงสาขาเดิม 200 ล้านบาท และงบฯการตลาด 350 ล้านบาท
ปีที่ผ่านมาซีอาร์จีได้มีการลงทุนในการเพิ่มแบรนด์ใหม่ในกลุ่มนี้ทั้งสิ้น 2 แบรนด์คือ โยชิโนยะ และโอโตยะ ซึ่งปีที่ผ่านมาโอโตยะมียอดขาย 200 ล้านบาท ตั้งระยะเวลา 4 เดือนตั้งแต่ที่บริษัทซื้อกิจการเข้ามา และปีนี้คาดว่ายอดขายทั้งปีจะอยู่ที่ 700 ล้านบาท ขณะที่ยอดขายของโยชิโนยะ
ปีที่แล้วอยู่ที่ 20 ล้านบาท และตั้งเป้าเพิ่มขึ้นในปีนี้ โดยแบรนด์ที่ผลักดันให้บริษัทมีการเติบโตอย่างมากปีที่ผ่านมาคือ เคเอฟซี, มิสเตอร์โดนัท และอานตี้ แอนส์ ที่มีการเติบโตเป็นตัวเลข 2 หลัก
ปัจจุบันธุรกิจร้านอาหารคิดเป็นสัดส่วน 60% ของบริษัท โรงแรมเซ็นทรัล พลาซา จำกัด หรือเซ็นเทล ซึ่งมีรายได้ 11,474 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา และคาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าสัดส่วนจะเพิ่มเป็น 64%
3.ความท้าทายในธุรกิจรีเทลคือการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับขาช้อป 'กอบชัย จิราธิวัฒน์' ท่องคาถาธุรกิจไว้เสมอว่า จะต้องนำหน้าตลาดก้าวหนึ่งเสมอ
ธุรกิจ : BizWeek
วันที่ 16 มีนาคม 2555 14:50
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/bizweek/20120316/442092/กอบชัย-จิราธิวัฒน์ต้องก้าวนำหน้าตลาดหนึ่งก้าวเสมอ.html
กอบชัย จิราธิวัฒน์
ผู้บริหารรุ่นที่ 3 ของกลุ่มเซ็นทรัลทายาทผู้ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญอีกผู้หนึ่งในการบริหารธุรกิจของครอบครัวจิราธิวัฒน์ ที่ปัจจุบันทายาทรุ่นที่ 5 แล้วที่เริ่มเข้ามารันธุรกิจแสนล้าน ที่มีธุรกิจค้าปลีกและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เป็นเส้นเลือดใหญ่
บุคลิกสุขุมคัมภีรภาพ พูดน้อย เรียบร้อย คือลักษณะเด่นของเขา ซึ่งดูจะสอดคล้องกับบุคลิกของนักวางแผน (ตัวยง) ผู้มองการณ์ไกล
ปัจจุบันเขารั้งตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ถือเป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการวาง "รากฐาน" ของกลุ่มเซ็นทรัลภายใต้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมาที่กลุ่มเซ็นทรัลมีแผนขยายห้างสรรพสินค้าออกไปยังหัวเมืองใหญ่ๆ ในต่างจังหวัดอย่างเซ็นทรัลสาขา เชียงราย พิษณุโลก ขอนแก่น ชลบุรี หรือการพลิกโฉมห้างเก่าแก่เซ็นทรัล ลาดพร้าวให้กลายเป็น Rule Model ของห้างเซ็นทรัลสาขาอื่นๆ รวมทั้งเซ็นทรัล พระราม 9 ที่เพิ่งจะเปิดดำเนินการไป ความสำเร็จส่วนหนึ่งก็อยู่ภายใต้วิสัยทัศน์ที่เขามองไว้เช่นกัน
“เทรนด์การใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก ไม่เหมือนเมื่อก่อน เดี๋ยวนี้คนต่างจังหวัดเริ่มมีไลฟ์สไตล์ที่เหมือนกับคนกรุงเทพฯเข้าไปทุกที เพราะรายได้มากขึ้น เราอยู่ในธุรกิจนี้ต้องพยายามมองให้ออก” เขาบอกและว่า
“แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด ต้องเป็นผู้ที่ชี้นำเทรนด์ให้ตลาด แบบนี้จะทำให้เราก้าวนำหน้าหนึ่งก้าวอยู่เสมอ”
แม้เส้นทางการทำธุรกิจอาจจะดูไม่ราบรื่น ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่ผ่านเข้ามา ล้วนส่งผลกระทบรุนแรงต่อกลุ่มเซ็นทรัลทั้งไฟไหม้ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ผลพวงจากการประท้วงทางการเมือง หรือในช่วงปลายปีที่แล้วที่กรุงเทพฯเกิดน้ำท่วมใหญ่ ทำให้หลายห้างสรรพสินค้าในกลุ่มเซ็นทรัลต้องหยุดให้บริการ
สำหรับกอบชัยเขาเห็นว่า ทุกธุรกิจต้องเจอปัญหา แต่ต้องค่อยๆ คิดแก้ปัญหา ค่อยๆ หาทางออก ผมเชื่อว่าทุกปัญหามีทางแก้
ขณะที่ความสำเร็จของกลุ่มเซ็นทรัลในวันนี้ยังเกิดขึ้นจากหลายๆ องค์ประกอบที่มีส่วนสนับสนุน เช่น เมื่อปีที่แล้ว กลุ่มเซ็นทรัลมีการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขยายสาขาที่รวดเร็วเกินไป ทำให้การทำงานไม่เป็นระบบและเกิดปัญหามากมายตามมา เลยมีโครงการที่เรียกว่า Stream Line Organization เกิดขึ้น โดยเน้นในเรื่องระบบการทำงาน การพัฒนาบุคลากรเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยซีพีเอ็นได้ลงทุนไปกับการทำวิจัยพัฒนา การสร้างทีม และการนำนวัตกรรมมาใช้ เพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันในระดับโลก "กอบชัย" เผย
กลุ่มเซ็นทรัลยังได้ชื่อว่าเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงมาให้กับวงการค้าปลีกไทย ด้วยการนำนวัตกรรมหลายๆ ด้าน ทั้งด้านการออกแบบ การตลาด และการบริหารจัดการองค์กร วัดได้จากรางวัลที่ได้รับมากมายทั้งในเวทีระดับโลก บ่งบอกว่าห้างสรรพสินค้าไทยเป็นห้างที่มีมาตรฐานไม่แพ้ที่ใดในโลกเช่นเดียวกัน
“ตอนนี้มันเหมือนคอขวด ขยายงานมากๆ แต่ระบบยังไม่นิ่งก็ไปกระจุกตัวอยู่จุดจุดหนึ่ง เรากำลังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการอยู่น่าจะแล้วเสร็จปีหน้า แต่ปลายปีนี้เราจะลงระบบไอทีใหม่ทั้งหมดในกลุ่มบริษัทของเรา การมีโครงการนี้ขึ้นมาส่วนหนึ่งก็เพื่อปรับตัวให้พร้อมมากขึ้นเพราะไทยจะเข้าสู่การแข่งขันในโลกการค้าเสรีแบบเต็มตัว จะเห็นได้ชัดเจนเมื่อเปิดเสรีอาเซียนในปี 2558” กอบชัย บอก
เขายังมองแนวโน้มธุรกิจค้าปลีกในปี 2555 ว่า มีสัญญาณเศรษฐกิจที่ดีขึ้น การท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้น ซึ่งสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประเมินว่าจีดีพีน่าจะอยู่ที่ 5% ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ปี 2555-2556 กลุ่มเซ็นทรัลจะขยายธุรกิจออกไปอีกถึง 7 โครงการ ซึ่งใช้เงินลงทุนราว 25,300 ล้านบาท ซึ่งล้วนแต่เป็นโปรเจคใหญ่
“การลงทุนในโปรเจคใหญ่มากขนาดนี้ ก็เพราะเราต้องการก้าวเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกระดับโลก และมั่นใจว่าทุกโครงการจะเป็นโครงการที่มีศักยภาพสูง”
กอบชัยเองมองว่าบิ๊กโปรเจคทั้ง 7 โครงการนี้จะช่วยดันยอดขายเพิ่มอีกราวๆ 25 % นั่นหมายความว่ารายได้รวมในปี 2556 จะเพิ่มขึ้นอีกมาก และเป้าหมายการเติบโตโดยรวมในปีนี้และปีถัดๆ ไปน่าจะอยู่ที่ 15 % ขณะที่เม็ดเงินในการลงทุนเฉลี่ยในแต่ละปีของซีพีเอ็นจะอยู่ที่ประมาณ 13,000 ล้านบาทต่อปี
สำหรับ 7 โครงการใหม่ ประกอบด้วย โรงแรมเซ็นทารา อุดรธานี เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี ,เซ็นทรัลพลาซา สุราษฎร์ธานีเซ็นทรัลพลาซา ลำปาง เซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี เซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ และเซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ โดยทั้ง 7 โครงการนี้จะเพิ่มพื้นที่ GFA หรือ Gross Floor Area ของศูนย์การค้าของซีพีเอ็นจากกว่า 4.2 ล้าน ตร.ม.ในปัจจุบัน ให้เป็นกว่า 5 ล้าน ตร.ม. ในปี 2556
เขาอธิบายเพิ่มเติมว่า ซีพีเอ็นยังมองเห็นศักยภาพในต่างจังหวัดทุกๆ จังหวัดที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง และแบรนด์สินค้าต่างๆ ที่อยู่ในห้างเซ็นทรัลลาดพร้าวก็จะยกออกไปยังต่างจังหวัด
กอบชัยย้ำว่า การแข่งขันในปัจจุบันเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เพราะไม่ได้แข่งขันกับผู้ประกอบการในประเทศเท่านั้น แต่ยังมีผู้ประกอบการรายใหญ่จากต่างชาติเข้ามา รวมทั้งความท้าทายในการปรับตัวกับความต้องการของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
"มองในแง่บวกว่ามันเป็นงานที่ท้าทาย เพราะทำให้องค์กรแข็งแกร่งขึ้นและส่งผลดีต่อผู้บริโภค"
โดยการที่ซีพีเอ็นจะแข่งขันได้นั้นสิ่งสำคัญ คือ ต้องสามารถตอบสนองต่อการสร้างประสบการณ์ของผู้บริโภคที่เหนือกว่าคู่แข่งในทุกมิติ ทั้งร้านค้า บริการและกิจกรรมต่างๆ เราจึงต้องนำเทรนด์ใหม่ๆ ในการพัฒนาศูนย์การค้ามาใช้ สรรหาร้านค้าที่มีความทันสมัย แปลกใหม่เข้ามา รวมถึงนำนวัตกรรมการออกแบบ ตกแต่งที่ทันสมัยตามเทรนด์การออกแบบของโลกมาพัฒนา ตลอดจนแคมเปญการตลาดสร้างกระแสใหม่ๆ เพื่อสร้างความแตกต่างให้ศูนย์การค้าให้มีความน่าสนใจ และโดนในผู้บริโภค
No comments:
Post a Comment