Sunday, December 15, 2013

เจนใหม่ (New Gen) กับ ธุรกิจของครอบครัว: "วงจรที่ท้าทาย"


 สิ่งที่เป็นวงจรและเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ในธุรกิจครอบครัว คือ
.... การที่ลูกชายหรือ ลูกสาวที่เพิ่งคว้าปริญญา สด ๆ ร้อน ๆ หลังจาก สำเร็จการศึกษาจากเมืองนอก และเมื่อมานั่งมอง "ธุรกิจครอบครัว (Family Business)"  มีอะไรให้อยากทำใหม่ ๆ อีกเยอะทีเดียว  แหวกแนวทางความสำเร็จของรุ่น ก่อน ๆ ทั้งรุ่นผู้ก่อตั้ง  หรือ รุ่นพ่อ-แม่ หรืออาจจะเป็น รุ่นพี่ ๆ ที่ได้ปลุกปั้นความสำเร็จได้มาตลอดช่วงชีวิต..

 เพียงแต่การเพิ่งเข้ามาได้ช่วยดูแลกิจการ ย่อมต้องมีเหตุผลที่รุ่นก่อน  อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เพื่อยกระดับธุรกิจไปอีกระดับ

นั่นไม่ใช่ สิ่งที่เจนใหม่ ซึ่งมีความต้องการ "คิด"  และ "ทำ" สิ่งใหม่ ๆ  เพราะอาจจะยังไม่สามารถผลักดันได้อย่างทันทีทันใด โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนองคาพยพของธุรกิจเลยทีเดียว

ความใจเย็น  การไม่รีบร้อน น่าจะเป็นยุทธวิธีที่หมาะสม

ในทัศนะผม
1. ต้องคิดหา หรือ ค้นให้พบว่า  "จะสร้างพื้นที่ยืนให้กว้างขึ้นได้อย่างไร" หมายถึง การพิสูจน์ฝีมือ ให้รุ่นก่อนยอมรับใน ความสามารถ หรือ เห็นว่า น่าจะให้ดูแลธุรกิจบางส่วนได้อย่างเป็นที่วางใจ

2. การสร้างแบรนด์  น่าจะเป็นสิ่งที่ รุ่นก่อนไม่มีความชำนาญ แต่ รุ่นใหม่มีความเข้าใจและ คุ้นกับแบรนด์ และช่องทางการสื่อสารใหม่ ๆ
   สิ่งนี้เป็นโอกาสในการ "สร้างฝีมือของเจนใหม่"   เพราะเข้ามาปิดช่องว่างของเจนเนอเรชั่นได้พอดี

ถือเป็นความท้าทาย ของเจนใหม่ ที่จะสร้าง "พื้นที่ยืนในธุรกิจครอบครัว" ครับ

ถือเป็นข้อคิด ฝากก่อน ปีใหม่ 2557 นี้


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com

Tuesday, August 13, 2013

นักบริหารมืออาชีพ (Professional Executive)



           คำว่า "นักบริหารมืออาชีพ (Professional Executive)" หาก พิจารณาในคำเดิม มักจะใช้กันว่า  Professional Manager  แต่ในปัจจุบัน คำที่ผู้เขียนใช้ดูจะเป็นที่นิยมกว่า
           ในเรื่องราวของ นักธุรกิจ นักบริหาร หรือ ผู้ประกอบการ(Entrepreneur) ต่างก็ใขว่คว้า หรือ พัฒนาตนเองให้สามารถ ก้าวมาสู่ความเป็นมืออาชีพ  ไม่มีใครต้องการถูกมองหรือ เห็นว่า
           -เป็นนักบริหารแบบมวยวัด หรือ ลูกทุ่ง
           - ไม่อยากบอกว่าเป็นธุรกิจครอบครัว ที่บริหารแบบลองผิดลองถูก
           -ไม่มีหลักการหรือตำราเล่มใด ที่สามารถบ่งบอกถึงความสำเร็จที่ผ่านมาได้
           แต่ทุกคนอยากให้ ..มีคนยกย่องและยอมรับว่า   "เป็นมืออาชีพ" หรือ "นักบริหารมืออาชีพ"

         ผู้เขียนไปสอนเรื่องนี้อยู่ระยะหนึ่ง แต่ ก็ต้องยอมรับว่า การศึกษาและค้นคว้าหาเอกสาร มีไม่มากนัก โดยเฉพาะในประเทศไทย ยิ่งการศึกษาเชิงลึกกลับไม่มี (มีแต่ไม่ตรงกับทางธุรกิจ)

         ทำให้ผู้เขียนย้อนกลับไปนึกถึง สมัยแรก ๆ ที่เริ่มเขียนหนังสือ น่าจะเป็นเล่มแรกในปี 2530
         ....มีความคิดว่า น่าสนใจทีเดียวที่จะศึกษา รวบรวมข้อคิด ประสบการณ์และความสำเร็จของ ผู้บริหารและนักธุรกิจ มาสังเคราะห์ดูว่ามีอะไรเป็นสาระสำคัญ
         ...จะไปศึกษาได้ที่ไหน และจะศึกษาอย่างไร
         ...  แล้วจะตรวจสอบยืนยันได้อย่างไรว่า การสังเคราะห์และสรุปมานั้นถูกต้อง

        ผู้เขียน ได้ อ่านเอกสาร รวบรวมหนังสือที่รวมเล่ม ประวัติบุคคล (นิยมทำแจกกันในช่วงนั้น จาก บรรดา นสพ. ด้านเศรษฐกิจ)
        พอทำอย่างนั้นได้ก็จัดวาง เป็นเรื่องราวของการศึกษา ดังนี้
      ภาคแรก สู่ความเป็นนักบริหารมืออาชีพ
      ตอนที่ 1  หลักการทำงาน การบริหาร และการดำเนินชีวิตของนักบริหารมืออาชีพ
      ตอนที่ 2 ยุทธศาสตร์การจัดการของนักบริหารมืออาชีพ
      ตอนที่ 3 หัวใจสู่ความสำเร็จ..คือ การพัฒนาคน
      ตอนที่ 4 ประสบการณ์ของความเป็นมืออาชีพ
     ภาคหลัง ศิลปะและเทคนิคของนักบริหารมืออาชีพ
        โดยส่วนแรกเป็นการ วิเคราะห์และสังเคราะห์ มาจากนักบริหารมืออาชีพ 6 ท่าน
         ส่วนภาคหลัง เป็นข้อเขียนจากการศึกษาและประสบการเชิงวิชาการของผู้เขียน

    นักบริหารมืออาชีพทั้ง 6 ท่าน ที่เลือกมานั้นประกอบด้วย  เกษม จาติกวนิช  ดุษฎี สวัสดิ์-ชูโต  บัญชา ล่ำซำ   บุญชู โรจนเสถียร  มีชัย วีระไวทยะ และ ดร.อำนวย วีรวรรณ

   ผลได้เป็นดังนี้ (ตามรูป ซึ่ง สรุปและนำเสนอใหม่ปี 2556 )
    1. นักบริหารมืออาชีพ  ต้องมี
        -หลักการและจุดยืนทางวิชาชีพ
        -ความเป็นผู้นำแห่งวิสัยทัศน์
        -การแสดงทัศนะที่มีผลกระทบทางสังคม
        -ดำรงตนในการเป็นแบบอย่าง
        -มาตรฐานการทำงาน
     



 2. คุณลักษณะเฉพาะบุคคล
     มีระบุตามรูป ครับ


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com

Thursday, August 1, 2013

Family Business Leadership Cycle


         ความสนใจในธุรกิจครอบครัวไม่ได้ลดน้อยลงไปเหมือนกับ การที่เศรษฐกิจไม่ดี แต่กลับมีความสนใจกันมากขึ้น
         ผู้เขียนได้รับเชิญให้ไปพูด เร็ว ๆ นี้ (เดือน กย.56 ที่จะถึง)  เรื่อง "ความเป็นผู้นำในธุรกิจครอบครัว" ทำให้นึกถึง  "เมทริกซ์ความสลับซับซ้อนของวงจรความเป็นผู้นำ" ในธุรกิจครอบครัว ที่สามารถนำมาใช้อธิบาย ความเป็นผู้นำของธุรกิจครอบครัว ได้ ตั้งแต่รุ่นก่อตั้งจนถึง สมาชิกครอบครัวที่เป็นผู้นำรุ่นใหม่ซึ่งกำลังจะเข้ามาบริหารธุรกิจได้อย่างลงตัว


             ในการศึกษา"วงจรความเป็นผู้นำของธุรกิจครอบครัว  (Family Business Leadership Cycle)" พบว่ามีใน 3 ระยะด้วยกัน คือ  
                 1)การปฏิบัติ ( Do phase) เป็น ผู้นำครอบครัวรุ่นต่อไปเข้ามาสู่ธุรกิจ  มีความกระตือรือร้น เข้ามาทำงาน แต่จริง ๆ เป็นการเรียนรู้และทำความเข้าใจธุรกิจ

                 2) การชี้นำสู่การปฏิบัติ (The “Lead to Do”phase) เริ่มจากการเลื่อนตำแหน่งในบทบาทของความเป็นผู้นำพร้อมด้วยความชัดเจนในอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ  
                 
                3) สุดท้าย ระยะการอนุญาตให้ปฏิบัติ (The “Let Do”phase)  จะครอบคลุมการเกษียณ  การคร่อม (Overlapping) กับระยะการปฏิบัติของผู้นำครอบครัวและของรุ่นผู้ตาม (The Following Generation of Family Leaders) ที่เข้ามาหาประสบการณ์ในวงจรแบบเดียวกัน



ดร.ดนัย เทียนพุฒ
  นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505



Sunday, April 7, 2013

เครือข่ายมังกร -The Dragon Network



              เมื่อวานไปเดินร้านหนังสือ ดูไปดูมา  เจอหนังสือเล่มหนึ่ง เป็นเรื่องราวของธุรกิจครอบครัวขาวจีน (CFB : Chinese Family Business)  ถือเป็นหนังสือ อีกเล่มหนึ่งที่ พูดถึง CFB ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะประเทศไทย ว่า ชาวจีนนอกผืนแผ่นดินใหญ่ ที่เป็นธุรกิจครอบครัวขนาดใหญ่และดำเนินกิจการได้อย่างมั่นคงยาวนานของไทยอาทิ  เจียวรวนนท์  โสภณพนิชย์ จิราธิวัฒน์  รัตนรักษ์ และยังมีอีกหลาย ธุรกิจครอบครัวในภูมิภาคนี้ คงได้ทำการศึกษามาพอสมควร เนื่องจากผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ เป็นธุรกิจที่ปรึกษาในประเทศอินโดนีเซีย 

              ในเล่มนี้มีเนื้อหา 12 บท ได้หยิบยกจุดเด่นและสิ่งที่ควรเรียนรู้มาอธิบายได้อย่างน่าสนใจ และครอบคลุมได้ดีทีเดียว
              เช่นกล่าวถึง "คุณค่าอะไรของชาวจีนที่สนับสนุนคุณค่าธุรกิจ" ซึ่งใคร ๆ ที่ศึกษาเกี่ยวกับ CFB คงเดาออกว่า ต้องเป็น "ลัทธิขงจื้อ" เป็นแน่
              แต่ที่น่าสนใจคือ บอกถึงคุณลักษณะของ CFB ไว้ด้วยเช่น High Cohesiveness, Strong family Relationships, Passing Down the Cultural Values
              นอกนั้นก็พูดถึงเรื่องต่าง ๆ ใน CFB แต่ที่ผู้เขียนสนใจเช่น  การสืบทอดธุรกิจ  สไตล์ความเป็นผู้นำ  ประเด็นความยั่งยืนใน FB (Family Business)  ข้อแนะนำในการพัฒนา CFB   ฯลฯ
                
              ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับธุรกิจครอบครัวชาวจีน น่าหามาอ่านครับ

             ในสัปดาห์ที่ผ่านมายังมีอีกเรื่องที่ผู้เขียนประทับใจ คือ  ทาง อจ. ที่สอนด้านการจัดการของ ม.ศรีปทุม  ต้องการให้ นศ.ปี 3 ได้มีหนังสืออ่านประกอบการเรียนการสอน ซึ่งได้เลือก หนังสือของผู้เขียนคือ  "คัมภีร์สร้างและรักษาธุรกิจครอบครัว" สั่งไปให้นักศึกษาได้ใช้ประกอบการเรียน  

  
          

            ถือเป็นก้าวใหม่ที่นำความรู้ใหม่ ๆ ไปให้กับ นศ. ซึ่งจะทำให้ นศ.ได้เสริมและเพิ่มประสบการณ์ตรงเป็นสิ่งที่น่าสนใจครับ  ขอขอบคุณที่ให้ความไว้วางใจ




ดร.ดนัย เทียนพุฒ
  นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com

Monday, January 28, 2013

สไตล์สร้างคนของเจ้าสัวซีพี

ในบรรดาธุรกิจครอบครัวที่สามารถปรับธุรกิจมาสูการเป็นธุรกิจมืออาชีพได้ จนกระทั่งประสบความสำเร็จ มีกิจการมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
"เครือซีพีเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่น่าสน ใจศีกษากลุ่มหนึ่ง"
บังเอิญช่วงเดินทางไปต้างจังหวัดพบ หนังสือเล่มนี้น่าสนใจแต่เสียดายไม่มี อ้างอิงที่มาของเนื้อหา(ทำให้คุณค่าในความรู้ลดลง)
แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่หยิบออกมาได้มี อย่างหนึ่งว่า ซีพีมี  3 เคล็ดลับใน การสร้างคน
1.อำนาจ
คนเก่งต้องมีเวที มีอำนาจ สำหรับใช้ในการแสดงความสามารถ
2.ต้องมีเกียรติ เพราะนอกจากการแสดงความสามารถอย่างเต็มที่แล้ว คนเก่งต้องได้รับการยอมรับ
3.เงิน  ตือผลตอบแทนที่จูงใจพร้อมขอให้ผู้นำกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ  เก่งดำเนินการสร้างและพัฒนาคนเก่ง ให้แก่ซีพี เพราะซีพีจะยิ่งใหญ่ได้ต้องสร้างคน ถ้าไม่มีคนเก่งเราก็ไม่สามารถชนะใน ตลาดโลกได้
นั่นเป็นบางส่วนของเจ้าสัวซีพี จากหนังสือ สร้าง"คน"ให้ยิ่งใหญ่ สไตล์ธานินท์ เจียรวนนท์ โดยทศ คณนาพร(2556)
บันทึก ธุรกิจครอบครัว
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
28-01-2013



ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com

Friday, January 11, 2013

60 ปีมี คุณถึงมีเรา

ในบรรดาธุรกิจครอบครัว กลุ่มธุรกิจเซ็นทรัล หรือครอบครัวจิราธิวัฒน์ เป็นต้นแบบ ของธุรกิจครอบครัวไทยที่น่าสนใจ
อย่างยิ่ง
วันนี้ได้ไปเดินร้านหนังสือเก่าที่ยูเนียนมอลล์ เจอหนังสือเล่มนี้ ทำให้ข้อมูลที่มีมาก่อน โดยเฉพาะ หนังสือ สัมฤทธิ์จิราธิวัฒน์ กับโมเดลธุรกิจของกลุ่มครอบครัวจิราธิวัฒน์ ได้เติมเต็มมากยิ่งขึ้น
นั่นหมายความว่า งานวิจัย โมเดลธุรกิจครอบครัวสู่มืออาชีพ จะสมบรูณ์มาก แม้ว่าจะได้ไปดู นิทรรศการ นี้มาก่อนที่เซ็นทรัลเวิรด์
โชคดีปีใหม่ 2556 จริง ๆ


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com

Thursday, January 10, 2013

งานวิจัย "จากธุรกิจครอบครัวสู่ธุรกิจมืออาชีพ" โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ


(ร้านแรก ของธุรกิจครอบครัวจิราธิวัฒน์)

ภายหลังจากที่ ปิดต้นฉบับเรื่อง Strategic Visionary Leader ไป ตอนก่อนปีใหม่ 2556

ทำให้มีเวลา อาจจะต้องบอกว่าถึงเวลาต้อง เข็นงานวิจัยชิ้นใหญ่ เรื่อง "จากธุรกิจครอบครัวสู่ธุรกิจมืออาชีพ" เดิมที่ตั้งใจจะเขียนให้หมดต่อเนื่องไปเลย แต่ด้วยการวิจัยในครั้งมี 2 เรื่องใหญ่ด้วยกันคือ
  เรื่องย่อยที่ 1 "10 ลักษณะเด่นของผู้นำธุรกิจครอบครัวไทย" เป็นการวิจัยต่อเนื่อง บนการวิจัย ด้านธุรกิจครอบครัว และการยืนยันผล คุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการธุรกิจครอบครัวไทย
  อีก เรื่อง "สังเคราะห์โมเดลธุรกิจครอบครัวไทย จาก 4 ตระกูลใหญ่ของประเทศไทย" (กำลังพิจารณาว่าจะ ใช้ชื่อว่าอย่างไรดี) 
 พอมาทบทวนวรรณกรรม กับ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดูท่าทาง ไม่สามารถรวมทั้ง 2 เรื่องย่อย เข้ามาเป็นเล่มงานวิจัย ฉบับเดียวได้ 

คงต้องแบ่งเป็น 2 ภาค น่าจะทำให้ ง่ายในการศึกษาและนำไปใช้ของ เจ้าของกิจการ ผู้นำ ผู้บริหาร และ ทายาทของธุรกิจครอบครัวไทย

คงเป็นงานศึกษาชิ้นสำคัญ หลังจากที่ผู้เขียนได้ ส่ง
งานวิจัยเล่มแรก ออกมาเผยแพร่ คือ เจาะดีเอ็นเอ ธุรกิจครอบครัวไทย
  และติดตามมาด้วยหนังสือเมื่อปีที่แล้วเรื่อง  "คัมภีร์สร้างและรักษาธุรกิจครอบครัว"

หมายความว่าในปีนี้ ท่านจะได้พบกับผลงานการศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจครอบครัวไทย  อีกอย่างน้อยเป็นหนังสือ 2 เล่ม และแถมพิเศษด้วยโปรแกรมฝึกอบรมด้านธุรกิจครอบครัว ครับ


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
  นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com