Thursday, February 20, 2014

การสืบทอดธุรกิจครอบครัว (Succeeding Generations)



ผู้เขียน ได้เขียนถึง การสืบทอดธุรกิจครอบครัว และ บรรยายให้กับหลายแห่ง  โดยใช้หลักแนวคิดของ Ward ซึ่งน่าจะมีความเหมาะสมในเชิงแนวคิด  แต่ในการวิเคราะห์เพื่อใช้งานจริงผู้เขียนใช้แนวคิดของ

Succeeding Generations  ของ  Lansberg กับ อีกแนวคิดคือ ของ Gersick ในการจัดทำโมเดลจริง เพื่อวิเคราะห์ ตระกูลธุรกิจครอบครัว  4 ตระกูลใหญ่ของประเทศไทย


   

  
(นำรูปมาจาก www.amazon.com)

    สำหรับแนวคิดของ Ward (2006) หนังสือ Unconventional  Wisdom ที่ผู้เขียน ปรับมาใช้เป็นแนวคิดในตอนทำวิจัย "เจาะดี เอ็น เอ ธุรกิจครอบครัวไทย. (2552) จะเป็นดังรูป(ข้างล่าง)

   รายละเอียด ของ เมทริกซ์ การสืบทอดธุรกิจครอบครัว มีอยู่ด้วยกัน 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1  การปฏิบัติ (The Do Phase)
       เป็นระยะที่เริ่มต้นด้วยการว่าจ้างในระดับแรกเข้าสู่ธุรกิจอยู่ในราวอายุ 25-35 ปี  ความท้าทายของผู้สืบทอดธุรกิจที่จะเผชิญภายในระยะนี้เป็นความขัดแย้งด้านความคิดเห็นในการดำเนินธุรกิจระหว่างผู้ก่อตั้งธุรกิจหรือรุ่นอาวุโสที่จะมักใช้ความสัมพันธ์แบบสายบังคับบัญชาที่เป็นมาตั้งแต่เดิมกับผู้สืบทอดธุรกิจ  ยังไม่เห็นความจำเป็นในการถ่ายโอนอำนาจการควบคุมธุรกิจ  ให้มีการทดลองดำเนินธุรกิจแต่ก็ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด  ระยะนี้มีสิ่งที่สำคัญคือการที่ผู้สืบทอดธุรกิจได้เรียนรู้และซึมซับวัฒนธรรมของผู้ก่อตั้งได้ดีเพียงใด


















ระยะที่ 2  การชี้นำสู่การปฏิบัต (The Lead to Do Phase)
       ระยะนี้เริ่มขึ้นเมื่อผู้สืบทอดธุรกิจได้รับการเลื่อนระดับให้สูงขึ้นด้านความรับผิดชอบ  โดยอยู่ในระหว่างอายุ 35-50 ปี  สิ่งที่เป็นปัจจัยหลักคือ การสร้างครอบครัวใหม่จากการแต่งงาน  ลูกๆ เริ่มมีวุฒิภาวะที่จะเป็นผู้สืบทอดธุรกิจ  ทำให้ความสัมพันธ์แบบพ่อ-แม่ลูกเปลี่ยนไปเป็นความสัมพันธ์แบบผู้ใหญ่-ผู้ใหญ่  ผู้สืบทอดธุรกิจกำลังคิดว่าจะอยู่หรือจะไปจากธุรกิจครอบครัว  เพราะคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากพ่อ-แม่  หากมีลูกพี่ลูกน้องเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  ทั้งสองฝ่ายต่างก็ดิ้นรนที่จะเข้ามาควบคุมธุรกิจ  จึงกลายเป็นสงครามระหว่างผู้นำรุ่นเดิมกับผู้นำรุ่นใหม่  สิ่งสำคัญอยู่ที่การกำหนดวัฒนธรรมธุรกิจครอบครัวให้มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการจัดตั้งสภาครอบครัว (Family Council)
 ระยะที่ 3  การอนุญาตให้ปฏิบัติ (The Let Do Phase)
      ระยะนี้จะอยู่ระหว่างช่วงอายุ 50-65 ปีของผู้สืบทอดธุรกิจ  แม้ว่ารุ่นพ่อ-แม่จะยังมีชีวิตอยู่และมีอิทธิพลด้านจิตใจ ความท้าทายคือการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นในทางบวกต้องการบูรณาการเรียนรู้บทเรียนที่ผ่านมา  สำหรับความเป็นเจ้าของนั้น  ผู้สืบทอดธุรกิจควบคุมไว้ได้อย่างสมบูรณ์เหลือเพียงความท้าทายที่จะปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ การกำหนดนโยบายและริเริ่มแผนการสนับสนุนความต้องการในระยะยาวของครอบครัว

           ส่วนผู้ที่สนใจ ในตัวอย่างการวิเคราะห์ ด้วยแนวคิดของ Lansberg  ต้องอดใจรอหน่อยครับ เพราะรายงานวิจัยเล่มใหม่ กำลังเร่งอยู่ครับ จะเป็นอีกเล่มของเมืองไทย ที่ยังไม่เคยมีใครศึกษามาก่อนในแนวที่ผู้เขียนศึกษา ตาม โมเดล 4 D ธุรกิจครอบครัวไทย (FOBE  : Family , Owner, Business, Entrepreneur ) ทำให้เกิดความเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับธุรกิจครอบครัว ของ 4 ตระกูลใหญ่ในเมืองไทย ครับ  

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID : thailand081

ธุรกิจครอบครัวกับการบริหารอย่างโปร่งใส



         เรื่องราวของการบริหารธุรกิจครอบครัวอย่างโปร่งใส เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก เมื่อธุรกิจครอบครัวได้เติบโตมาระยะหนึ่ง และยิ่งเป็นครอบครัวที่มี กิ่งก้านสาขามากมาย (สมาชิก)   ความจำเป็นในเรื่องนี้ ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น เราะสามารถลดสิ่งที่เผชิญอยู่ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะข้อขัดแย้ง

         และความจำเป็นในการกำหนดให้มี  "Family Meeting" ก็ต้องทำขึ้นอย่างรีบด่วนด้วย หากธุรกิจครอบครัวใดยังไม่เป็นระบบมากนัก เพราะการจัดทำ "Family Meeting" ช่วยให้ครอบครัวดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างราบรื่น และส่งต่อธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่นได้



ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID : thailand081