ถ้าพุดถึงธุรกิจครอบครัวไทย เรามักจะบอกว่า มีอัตรารอดประมาณ 30% (บางคนก็บอกว่าเยอะแล้ว มองในแง่บวก) แต่ในทัศนะผม หากมีการเตรียมและพัฒนาเพื่อดำเนินการธุรกิจครอบครัวอย่างจริงจัง อัตรารอดน่าจะมากกว่านี้ มิฉะนั้นจะเตรียม ผู้ประกอบการใหม่และ ทายาทธุรกิจครอบครัวไปทำไม
ธุรกิจครอบครอบครัว ที่ใหญ่ที่สุดระดับโลก ในปัจจุบันคือ อันดับ 1 Wal-Mart อันดับ 2 Ford อันดับ 3 Samsung และอันดับ 4 LG
น่าสนใจนะครับ ที่เอเซีย อยู่ในอันดับที่ 3-4
กลับมาที่เมืองไทยครับ ตัวเลขล่าสุดที่ผมได้วิเคราะห์จากข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
-ในช่วง ปี 2455 -ปี2540 มีธุรกิจจดทะเบียน 483,707 กิจการ มีอัตรารอด 81.6 %
-ในช่วง ปี 2541-ปี 2550 (10ปี) มีธุรกิจจดทะเบียน 372,237 กิจการ มีอัตรารอด 40.9 %(ในปี 2543 มีอัตราการตายเกิน 100 %)
-ล่าสุด ปี 2541-ปี 2554 (14ปี) มีธุรกิจจดทะเบียน 562,845 กิจการ มีอัตรารอด 16.5 % (มีอัตราการตายเกิน 100% ในปี 2543 ปี2552 และปี 2554)
ถ้าพิจารณาตัวเลข ในปีแรก ปี 2541 มีอัตรารอด 38.8 %
3 ปีแรก (ปี2541-2544) มีอัตรารอด 43.3 %
5ปีแรก (ปี 2541-2546) มีอัตรารอด 35.3%
8ปีแรก (ปี 2541-2549) มีอัตรารอด 42.4%
ที่น่าแปลกใจคือ อัตรารอด ใน 10ปีของธุรกิจไทยอยู่ที่ 40.9% แต่ พอผ่านไป 14 ปี อัตรารอดกลับลดลงเหลือเพียง 16.5 % และมีอัตราการตายเกิน 100% ใน 3 ช่วงคือ ปี 2543 ปี 2552 และ ปี 2554
แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจไทย หรือ ธุรกิจที่พัฒนาเป็นธุรกิจครอบครัว มีความยากมากขึ้นในการบริหารกิจการให้ประสบความสำเร็จ
ข้อคิดสำคัญ ประเทศไม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อม กับการมีปัญหาทางด้านการเมือง จะส่งผลให้กิจการไม่สามารถรอดไปได้ จากตัวเลขในปี 2552 และ ปี 2554
ผู้ประกอบการและ ธุรกิจควรอบครัว ต้องพัฒนาตัวเองมากยิ่งขึ้น ไม่มี เทวดาหรือ อัศวินที่ไหนมาช่วยได้หรอกครับ หากไม่ปรับและพัฒนาตัวเองให้แกร่งและแข็งแรง ยังมี คลื่นลูกใหม่ที่รอโถมเข้าหาธุรกิจอยู่คือ AEC 2015 ใครปรับตัวช้า เหนื่อยครับ และอาจไม่มีพื้นที่ให้เล่น ก็ได้
ผู้อำนวยการ ดี.เอ็น.ที.เน็ต (D n t Net)
No comments:
Post a Comment