เรื่องราวของตระกูลที่น่าสนใจศึกษาอีกตระกูลหนึ่ง ที่ในยุคปัจจุบันเราคงได้ยินชื่อ บัณฑูร ล่ำซำ แม่ทัพใหญ่ของ ธนาคารกสิกรไทย แต่ถ้าหากมองย้อนกลับไป คุณบัญชา ล่ำซำ เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญคนหนึ่งของตระกูลล่ำซำ และการกำหนดวิถีทางและอนาคตของครอบครัวและธุรกิจธนาคารไว้อย่างน่าคิดถึงอัจฉริยภาพของท่าน
ผมได้หยิบหนังสือ "บัญชา ล่ำซำ ประวัติและผลงาน" ที่ระลึกเนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพของคุณบัญชา วันที่ 22 สิงหาคม 2535 มาอ่าน และพอดีกับธุรกิจในบ้านเราสนใจเกี่ยวกับธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จ เลยถือโอกาสนำประวัติ "ต้นตระกูลล่ำซำ" ที่เป็นบันทึกของคุณบัญชา มาเผยแพร่ให้ปรากฎเป็นเกียรติและได้ศึกษากันอย่างกว้างขวาง
1.เทคนิคการบริหารคนของ บัญชา ล่ำซำ
2.ข้อคิดธุรกิจไทยจาก บัณฑูร ล่ำซำ
3.การควบรวมของ ภัทรประกันภัย กับเมืองไทยประกันภัย-เหตุผลของการควบรวม
แหล่งข่าว สยามธุรกิจ http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=4021
-การผนึกทายาท ล่ำซำ สายโชติ และจุลินทร์
-Co-President : บมจ. เมืองไทยประกันภัย หุ้นน้องใหม่ เล็งก้าวเป็นผู้นำประกันวินาศภัย
4.. ปี 2557 บทสัมภาษณ์
บัณฑูร ล่ำซำ : กสิกรไทย คือศูนย์กลางแห่งเอเชีย
ธุรกิจ : CEO Agenda
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2557
(นำมาจาก http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/detail/business/ceo-agenda/20140227/565375/บัณฑูร-ล่ำซำ-:-กสิกรไทย-คือศูนย์กลางแห่งเอเชีย.htm)
คำตอบในการทำธุรกิจต่างประเทศของกสิกรไทย ก็คือ รูปแบบการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับธนาคารที่เป็นคู่ค้าในประเทศอาเซียน
บทบาทเศรษฐกิจโลกและการขยายตัวของภูมิภาคที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจไทยในระยะ 3-5 ปีข้างหน้าดูเหมือนจะมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นหนึ่งในทิศทางที่เศรษฐกิจไทยจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อดำเนินไปกับกระแสดังกล่าว ว่ากันว่า ภาคการเงินนั้นเป็นดั่งกระจกสะท้อนเศรษฐกิจ และต้องพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น
บัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารกสิกรไทย มีวิสัยทัศน์ว่าในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า หากเศรษฐกิจประเทศใหญ่ ๆ ฟื้นตัวได้จริงจะช่วยดึงประเทศเล็ก ๆ ฟื้นตัวตามไปด้วย รวมถึงประเทศไทยที่จะได้แหล่งขายสินค้ากลับมาอีกครั้ง ซึ่งภูมิภาคอาเซียนและเอเชียจะกลายเป็นศูนย์กลางของความยิ่งใหญ่ทางเศรษฐกิจในอนาคต
การขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในระยะ 3-5 ปีข้างหน้านี้เขาคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 5-6% แม้จะถือว่าไม่สูงมากนักเนื่องจากเป็นช่วงที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจด้วยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในระบบคมนาคมขนส่ง ที่เป็นรากฐานการเจริญเติบโตที่สำคัญในวันข้างหน้าของเศรษฐกิจไทย
“หวังว่าปีหน้า ด้วยอานิสงส์ของเศรษฐกิจโลกที่โงหัวขึ้นบ้างมีกำลังซื้อมากขึ้นประเทศไทยส่งออกได้มากขึ้น และปัจจัยที่ 2 คือ เงินลงทุนที่เป็นส่วนสำคัญ ทั้งการลงทุนที่ภาครัฐมีเป้าหมายค่อนข้างใหญ่ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน บวกกับความน่าสนใจของประเทศต่างชาติที่เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่น นั้นมีพลังสูงที่จะไปลงทุนในประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทย ซึ่งจะช่วยทำให้ระบบเศรษฐกิจคึกคักมากขึ้น และถ้าเป็นไปตามคาดในปีหน้าเศรษฐกิจไทยน่าจะโต 5% เป็นอย่างต่ำ”
ในส่วนของระบบธนาคารพาณิชย์เป็นภาพสะท้อนของเศษฐกิจโดยรวมนั้น ซีอีโอท่านนี้ระบุว่าการขยายตัวของธุรกิจที่จะสร้างความมั่นคงให้กับระบบเศรษฐกิจได้ควรอยู่ในระดับที่สอดคล้องตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยธนาคารกสิกรไทยคาดว่าอัตราการขยายสินเชื่อในปี 2557 จะอยู่ที่ระดับ 8-9% บนสมมติฐานว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวในระดับ 4-5%
นอกจากนี้การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีจะสนับสนุนทำให้ตลาดกว้างยิ่งขึ้น ถือเป็นโอกาสสำหรับการค้า และผู้ประกอบการไทยเองต้องหาโอกาสออกไปลงทุนสร้างฐานผลิตในภูมิภาค เพื่อหาแหล่งต้นทุนที่ต่ำกว่า ขณะเดียวกัน ต้องตระหนักว่าเออีซีก็ทำให้มีจำนวนคู่แข่งที่เพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะคู่แข่งหน้าใหม่ที่มีต้นทุนต่ำกว่าที่มาจากประเทศในกลุ่มเออีซีด้วยกันจึงถือเป็นความท้าทายสำหรับภาคธุรกิจไทย ในการเร่งพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน
อย่างไรก็ตามเขามองว่า ประเทศไทยมีความได้เปรียบ เนื่องจากมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เป็นจุดศูนย์กลางของเออีซี ส่งผลให้เกิดการเดินทางที่สะดวกที่สุด ทั้งยังมีโครงสร้างพื้นฐานที่สร้างมากว่า 30-40 ปี และปัจจุบันก็ยังถือว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ดีที่สุดในภูมิภาค จึงมีความมั่นใจว่า เงินลงทุนจากต่างประเทศจะมีสถานีแรกก็คือประเทศไทยอย่างแน่นอนแล้วค่อยขยายออกไปยังประเทศรอบ ๆ
“ ประเทศไทย ต้องวางยุทธศาสตร์สร้างความพร้อมให้นักลงทุน รวมถึงนักท่องเที่ยว ให้เขาสนใจและเลือกเป็นอันดับแรก เพื่อเป็นทางผ่าน หรือฐานแรกที่ต่างชาติเข้ามาตั้งฐานแล้วผ่านไปในประเทศรอบ ๆ”
ทั้งนี้เพื่อให้การค้าการลงทุนที่จะเข้ามาช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจประเทศ และนำไปสู่การมีงานทำ กินดีอยู่ดี ภาครัฐควรต้องเร่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจที่ครบถ้วนเพื่อเป็นทางเลือกหมายเลข 1 ที่จะดึงดูดเม็ดเงินลงทุนเข้ามา
การสร้างความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคมนาคม การสื่อสาร การศึกษา และมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ คือหน้าที่ที่ไม่อาจเพิกเฉยของภาครัฐบาล
“เออีซี มีหมายความว่าตลาดใหญ่ขึ้น จาก เดิมที่เคยปิดการค้าเคยเข้าไปไม่ถึง แต่อีกไม่ช้าประเทศโดยรอบ ประเทศไทยก็ฟื้นตัวและเปิด กว้างทางโอกาสมากขึ้น ซึ่งไม่เพียงแค่เราแต่ผู้ประกอบการทั่วโลกก็จะมาแข่งกันขายสินค้าบริการในเออีซีด้วย ผู้ประกอบการไทยกำลังจะเผชิญโจทย์ที่ไม่เคยเจอมาก่อน นั่นคือ พวกเขาจำเป็นต้องออกไปต่างประเทศ แสวงหาต้นทุนที่ต่ำกว่า หรือหันไปพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพ ที่สามารถสู้ได้ในตลาดโลก นี่คือความท้าทายอย่างยิ่งของภาพคธุรกิจไทย ขณะที่ภาครัฐก็ต้องวางโครงสร้างพื้นฐานให้ครบ ให้น่าลงทุน และหากทำไม่ดี นักลงทุนเขาก็เลือกไปทำธุรกิจในประเทศที่ทำได้ดีกว่า”
เมื่อมองเห็นว่าภูมิภาคอาเซียนและเอเชียจะกลายเป็นศูนย์กลางเป็นขุมพลังแห่งความยิ่งใหญ่ของเศรษฐกิจในอนาคตธนาคารกสิกรไทยจึงได้วางยุทธศาสตร์เพื่อเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งภายใต้สปอตไลท์นั้นด้วยหมายถึงการเร่งสร้างศักยภาพให้ทั้งลูกค้าไทยและลูกค้าต่างชาติมองเห็นภาพว่า การลงทุนในภูมิภาคนี้ต้องเริ่มต้นที่ประเทศไทย และหากไว้วางใจธนาคารกสิกรไทยพวกเขาจะได้ประโยชน์และบริการที่ครบถ้วนที่สุด
"ธนาคารกสิกรไทยาต้องทำให้บริษัทหรือนักลงทุนที่กำลังจะเข้ามาหรือมาค้าขายกับประเทศไทยอยู่แล้วรับรู้ว่าหากมาหา กสิกรไทย พวกเขาจะได้รับความช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงตลาดไทยอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในเรื่องข้อมูลและความรู้ที่มีความหมายกับธุรกิจ ที่ทำให้เขาสามารถเดินต่อไปยังประเทศรอบข้างโดยอาศัยเครือข่ายที่ธนาคารเราสร้างไว้ในประเทศอื่น ๆ ที่อยู่ในประชาคมอาเซียน กสิกรไทยต้องทำให้พวกเขารู้สึกมั่นใจว่าบริการของเราจะช่วยทำให้เขาประสบความสำเร็จ"
สำหรับรูปแบบของการออกไปขยายสาขาในต่างประเทศนั้น บัณฑูรมองว่า ธนาคารพาณิชย์ไทยจำเป็นต้องมีรูปแบบที่เหมาะสม ด้วยมีขนาดที่ไม่ใหญ่พอและไม่มีเงินทุนในระดับสูงในการเข้าไปซื้อกิจการธนาคารในต่างประเทศได้โดยง่าย คำตอบในการทำธุรกิจต่างประเทศของธนาคารกสิกรไทยก็คือ รูปแบบการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับธนาคารที่เป็นคู่ค้าในประเทศอาเซียน เพื่อสร้างระบบที่สามารถส่งต่อลูกค้าและให้บริการกันได้ ซึ่งสาขาในต่างประเทศของกสิกรไทยที่เห็นเป็นรูปเป็นร่างมากที่สุดในเวลานี้ตั้งอยู่ที่ประเทศจีนจำนวน 2 สาขา โดยให้บริการลูกค้าในประเทศจีนและธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศจีน
มีโอกาสมากมายให้ไขว่คว้า แต่ทำไมกลับเอื้อมไม่ถึง บัณฑูรบอกว่า อุปสรรคใหญ่ที่ธุรกิจธนาคารพาณิชย์กำลังเผชิญอยู่ก็คือ ขาดคนเก่งมาช่วยสานความฝันให้เป็นความจริง
"ทุกวันนี้ ในทุกๆ ธุรกิจกำลังประสบปัญหาขาดแคลนคนเก่ง และถือว่าเป็นปัญหาใหญ่สำหรับธุรกิจการเงิน สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่เราต้องวางยุทธศาสตร์เพื่อทำให้องค์กรของเรานั้น มีคุณค่ามีความหมาย เนื่องจาก คนเก่งๆ มักจะเลือกทำงานกับองค์กรที่ดีมีอนาคต และเมื่อเขาเลือกที่จะมาอยู่ด้วยแล้ว เราก็ต้องมั่นใจว่านโยบายบริหารด้านคนของเราต้องดีพอ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อคนเก่งมาอยู่ด้วยกันเป็นจำนวนมาก มักจะเกิดการปีนเกลียวกันได้โดยง่าย"
ความกังวลใดๆ ก็คงไม่หนักหนาเท่ากับปัญหาทางการเมืองไทย ที่ยังคงติดอยู่ในวังวนและกลายเป็นตัวถ่วงไม่ให้เศรษฐกิจสามารถก้าวเดินไปข้างหน้า
"การเมืองในที่นี้หมายความว่า มัวแต่เถียงกันว่าใครจะมีอำนาจในการจัดการ เลยไม่มีเวลาในการจัดการ เพราะมัวแต่เถียงกัน ในแต่ละวัน รัฐบาลหรือไม่ว่าใครก็ตาม ต้องวุ่นวายไปกับการต่อสู้กับข้อคัดค้าน ข้อประท้วงทั้งในและนอกสภาทำให้ไม่มีเวลาเต็มที่ในการจัดการโครงการต่างๆ ให้ลุล่วงไป ก็หวังว่าจะหารูปแบบที่ตกลงกันได้ในเชิงการเมือง ซึ่งจะทำให้มีการจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้ประเทศไทยเรามีความสามารถในการแข่งขัน"
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
ผู้อำนวยการโครงการ Human Capital
ผู้อำนวยการโครงการ Human Capital
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า