Friday, February 18, 2011

ผู้สืบทอดธุรกิจครอบครัวหญิง

มีคำถามของ นศ. คณะพาณิชย์ฯ มธ.  ทางอีเมล์สอบถามเกี่ยวกับ "การสืบทอดธุรกิจครอบครัวโดยผู้หญิง" ดังนี้............ 

เรียน ดร.ดนัย เทียนพุฒ

เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ปรึกษาเกี่ยวกับงานวิจัย

       ดิฉันเป็ํนนักศึกษาชั้นปีที่สาม คณะำพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดิฉันและเพื่อนกำลังหาหัวข้อเพื
่อทำงานวิจัย และมีความสนใจเกี่ยวกับธุรกิจครอบครัว ประเด็น
ของผู้สืบทอดธุรกิจหญิง และจากการศึกษาวรรณกรรมปริทั
ศอย่างคร่าวๆพบว่าในหัวข้อนี้มีประเด็น
ที่น่าสนใจเรื่องปัญหาจากการที่
ผู้หญิงมักจะออกจากงานที่ทำเพื่อมารับผิดชอบในบทบาทครอบครัว
เช่น เมื่อมีลูก
      ดิฉันจึงขอความอนุเคราะห์
อาจารย์ช่วยแนะนำเกี่ยวกับแง่มุมและแนวทางในการวิจัยที่เกี่ยวข้อง
กับหัวข้อที่ดิฉันและเพื่
อนสนใจด้วยค่ะ
ด้วยความเคารพอย่างสูง
น.ส.พุทธชาด  วีระอาชากุล
                                                              

คำตอบ 

ความเห็นผม ในเรื่องนี้ คิดว่าเป็นประเด็นน่าสนใจเพราะในเมืองไทยเกี่ยวกับธุรกิจครอบครัวมีการศึกษายังไม่มากยิ่งเป็นเรื่อง "การสืบทอดธุรกิจครอบครัว (Succeeding Generations)" ด้วยแล้ว และโดยเฉพาะที่ นศ.พุทธชาดกับเพื่อน ๆ สนใจ "ผู้สืบทอดธุรกิจครอบครัวหญิง"

ในการวิจัย ผมเห็นว่าประเด็นหลักในเรื่องนี้ มีหลายปัจจัยที่น่าศึกษา
1. การที่ผู้หญิงจะขึ้นมาเป็นผู้นำตระกูล ได้หรือไม่ เป็นเพราะอาจจะมีปัญหาในเรื่อง  "Glass ceiling" (เพดานกระจก-ใส ๆ มองไม่เห็น แต่กีดกันไม่ให้ผู้หญิงก้าวสู่ตำแหน่งบริหารในองค์กร) ในการที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารสูงสุดของครอบครัว และในสภาพแวดล้อมแบบเอเซีย ซึ่งน่าศึกษา
   แต่ก็มีตัวอย่าง ที่เด่นๆ ของไทยซึ่งไม่ใช่ เช่น 
   กรณีคุณหญิง ชนัตถ์ ปิยะอุย ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการกลุ่มโรงแรมดุสิตธานี
2. ผมเห็นว่า " ผู้หญิงมักจะออกจากงานที่ทำเพื่อมารับผิดชอบในบทบาทครอบครัว
เช่น เมื่อมีลูก..." อาจไม่ใช่เหตุผล 100 % เพราะ
    1) วัฒนธรรมแบบเอเซีย ที่ให้ "ผู้หญิงต้องอยู่กับเย้าเฝ้าเรือน" ดังนั้น การเริ่มธุรกิจครอบครัว หากผู้ชายเริ่มก่อตั้งและดำเนินธุรกิจมา ผู้หญิงจึงไม่ได้เป็นผู้สืบทอด
    2) หากเริ่มธุรกิจครอบครัวมาด้วยกัน และผู้หญิงมีลูกก็คงต้องพักไปดูแลลูก พอระยะหนึ่งก็กลับมาทำงานอีก
   เช่น  อย่างกรณีของ ต้นตระกูลจิราธิวัฒน์ คือ คุณเตียง-หวาน เริ่มเปิดร้านขายของชื่อ"เข่งเส่งหลี" (ไหหลำ สัมฤทธิ์ผล) โดยชั้นล่างขายสินค้าเบ็ดเตล็ด กาแฟและอาหารตามสั่งเล็ก ๆน้อยๆ  ชั้นบนคุณหวานรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า แต่คุณหวานมาเสียชีวิตก่อนในช่วงสงครามโลก (จึงไม่ได้ดูแลธุรกิจ)  คุณสัมฤทธิ์ จึงช่วยพ่อ(คุณเตียง) ค้าขายต่อมา  และหลังจากนั้น ต่อมาได้เปิดร้านขายหนังสือชื่อ "ห้างเซ็นทรัลเทรดดิ้ง"  
  
3. ยังมีประเด็นที่น่าสนใจ ของการสืบทอดธุรกิจ ระหว่าง รุ่นที่ 1   (ผู้ก่อตั้ง) ไปยัง รุ่นที่ 2  มีโอกาสไหมหาก พี่-น้อง รุ่นเดียวกับผู้ก่อตั้งเป็นหญิง และได้สืบทอดธุรกิจ ซึ่งทางทฤษฎีเรียกว่า  "Sibling Partnership" มีลักษณะการสืบทอดแบบ Evolutionary succession น่าจะเป็นโอกาสที่ผู้หญิงสามารถมาเป็นผู้นำธุรกิจครอบครัวได้
แต่หาก สืบสอดระหว่าง รุ่นที่ 1 ไปยังรุ่นที่ 2 ซึ่งเรียกว่า "Controlling owner" ในลักษณะ  Recycle succession  โอกาสที่เป็นผู้หญิงจะยาก เพราะส่วนใหญ่จะให้ลูกคนโต หรือ ลุกผู้ชาย 

ลองอ่านงานศึกษาจากต่างประเทศน่าจะได้ข้อคิดในการวิจัยเพิ่มขึ้นครับ

No comments:

Post a Comment