Friday, December 24, 2010

โมเดลของการสืบทอดธุรกิจครอบครัว : Thai Family Business Succession


น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งที่ปัจจุบันมีความสนใจในธุรกิจครอบครัว (Family Business) กันค่อนข้างมาก เนื่องด้วยผู้เขียนได้รับการสอบถามอยู่เสมอ
- มีนักศึกษาปริญญาเอกหลายๆ ท่านสนใจสอบถามพูดคุยถึงแนวทางการทำ Dissertation เกี่ยวกับธุรกิจครอบครัว
- เรื่องราวของธุรกิจครอบครัวที่ผู้เขียนโพสต์ไว้ใน blog โดยเฉพาะกรณีตัวอย่างธุรกิจครอบครัวจิราธิวัฒน์ มีผู้เข้าชมเกือบ 500 ท่าน
- การแข่งขันของธุรกิจธนาคารมีสูงมากจนต้องโดดเข้ามาสร้างความแตกต่างใหม่เพื่อจับกลุ่มลูกค้า SMEs และผู้ประกอบการโดยเข้ามาพัฒนาธุรกิจครอบครัว เริ่มเห็นเป็นรูปเป็นร่างและจริงจังมากกว่าในอดีต
- อีกทั้งยังมีหลายๆ สถาบันการศึกษาเปิด MBA ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ธุรกิจ SMEs และธุรกิจครอบครัว (Family Business)

สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้น การศึกษาของ Longenecker และคณะ (2006) พบว่า การเริ่มต้นธุรกิจ (Business Startup) นั้นมาจากแหล่งของไอเดียที่ช่วยสร้างธุรกิจ เช่น ประสบการณ์ในงานที่เคยทำมาก่อน (45%) ความสนใจส่วนตัวหรืองานอดิเรก (16%) โอกาสที่บังเกิดขึ้น (11%) คำแนะนำ (7%) ส่วนธุรกิจครอบครัวและการศึกษาหรือเข้าหลักสูตรอบรม (เพียง 6%)
(รูปสไลด์ที่ 1 ด้านล่าง)

โมเดลของการสืบทอดธุรกิจครอบครัว
สิ่งที่สนใจกันมากอีกอย่างหนึ่งของธุรกิจครอบครัวคือ การสืบทอดธุรกิจ (Suc-cession in Family Business) เพราะมีทฤษฎีหรือการพัฒนาในธุรกิจเมืองไทยให้เห็นน้อยมากหรืออาจจะพูดได้ว่า “ธุรกิจครอบครัวในเมืองไทยขาดการค้นคว้าและศึกษามายาวนานนับหลายทศวรรษ”
จะมาสนใจศึกษากันว่า ธุรกิจครอบครัวเป็นมาอย่างไรคงประมาณไม่เกิน 10 ปีมานี้เอง
จุดเริ่มต้น การพัฒนาการจัดการจุดเริ่มต้นของการวางแผนสืบทอดธุรกิจ (Suc-cession Planning)
หัวใจอย่างหนึ่งของธุรกิจที่ถ่ายทอดกันมาคือ เรื่องของการสืบทอดธุรกิจ (Succession Planning) ซึ่งเกิดมาจากความต้องการของธุรกิจในการที่จะขยายกิจการแล้วต้องการผู้บริหารเข้ามารับผิดชอบงานดังกล่าวในอนาคต กับการเตรียมผู้บริหารไว้ทดแทนผู้บริหารระดับสูงที่ลาออกหรือเกษียณออกไป หรือถูกซื้อตัวจะได้มีตัวตายตัวแทน (Successor)
(รูปสไลด์ที่ 2 ด้านล่าง)

Woodall และ Winstanly (1998) ได้อธิบายเรื่องนี้ไว้ในการพัฒนาการจัดการ (Management Development) เกี่ยวกับแนวคิดในการวางแผนสืบทอดธุรกิจที่เกิดมาจากความจำเป็นใน 3 ส่วนด้วยกันคือ 1) ความจำเป็นของธุรกิจ (Business Needs) ในด้านกลยุทธธุรกิจ (Business Strategy) 2) ความจำเป็นขององค์กร (Organization Needs) ในด้านการพัฒนาองค์กร (Organization Development) และการพัฒนาการจัดการ (Management Development) และ 3) ความจำเป็นส่วนบุคคล (Individual Needs) ในเรื่องการพัฒนาตนเองและการวางแผนอาชีพของตนให้เติบโตไปพร้อมกับองค์กร

การสืบทอดธุรกิจครอบครัว โมเดลการจัดการสืบทอดธุรกิจครอบครัว

แม้ว่า Ward (2005) จะได้เสนอ เมทริกซ์ระยะของตัวตายตัวแทน (Successor’s Phases Matrix) ผู้เขียนยังอยากจะเสนอโมเดลของการสืบทอดธุรกิจครอบครัวที่ Longenecker & et al (2006) ได้พัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ปี 1978 และเป็นโมเดลที่ได้รับการพูดถึงอยู่พอสมควร ซึ่งในโมเดลนี้มี 7 ระยะด้วยกันดังรูปที่ 3 (สไลด์ด้านล่าง)
ทั้งหมดใน 7 ระยะนี้คือ การเข้าสืบทอดธุรกิจของตัวตายตัวแทนอย่างเต็มตัวของธุรกิจครอบครัว ไม่รู้ว่าธุรกิจครอบครัวไทยจะมีลักษณะแบบนี้หรือไม่ น่าสนใจศึกษาและคราวต่อไปจะเสนอสุดยอดพาราไดม์ของทฤษฎีหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้
กันครับ!




ดร.ดนัย เทียนพุฒ
กรรมการผู้จัดการ
บจก. ดี เอ็น ที คอนซัลแตนท์
โทร 029301133

1 comment:

  1. Bet365 Casino & Promos 2021 - JTM Hub
    Full worrione.com list of Bet365 Casino & Promos · Up to £100 in Bet 출장샵 Credits for new customers at bet365. Min deposit £5. Bet 토토 사이트 Credits available for use casinosites.one upon settlement www.jtmhub.com of bets to value of

    ReplyDelete