Friday, September 12, 2014

ธุรกิจSMEs สืบทอดธุรกิจอย่างไร

มาดูงาน ที่ชัยบูรณ์ บราเดอร์ส ถามกันว่า ครอบครัวเข้ามาบริหารอย่างไร
1. พี่น้อง ต้องไม่เอา เขย สะใภ้เข้ามา ทำงาน
2.  การทำงาน ไม่ใช่ CEO มีอำนาจตัดสินใจคนเดียว เราฟังทุกคนในพี่น้อง 6 คน ถ้าคนอื่นไม่เห็นด้วยความคิด COE ก็ไม่ผ่าน
3.การทำงานทุกคนมีหน้าทีความรับผิดชอบ ในการทำงานไม่มีความเป็นพี่น้อง นอกเวลานานเป็นพี่น้อง
4.  การสร้างทายาท มีหลัการง่าย ๆ เขาต้องมีความรู้ในงานที่จะทำก่อน  และทำครบหมดที่ผมทำอยู่ ถ้าเขาผ่านเกณฑ์นี้ ได้ก็เข้ามาบริหารกิจการได้ ครับ

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  
email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

Thursday, August 28, 2014

Chinese Family Businesses


ธุรกิจครอบครัวชาวจีน จะมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1.มีขนาดเล้กและโครงสร้างองค์กรที่ เรียบง่าย
2. รูปแบบทั่วไป มุ่งเฉพาะหนึ่งผลิตภัณฑ์หรือ ตลาดเดียว
3.โครงสร้างการตัดสินใจเป็นแบบรวมศูนย์โดยขึ้นอยู่กับประธานบริหาร
4.ความเป็นเจ้าของและควบคุมโดยครอบครัว
5.บรรยากาศองค์กรแบบพ่อปกครองลูก
6.การเชื่อมโยงเครือข่ายส่วนบุคคลที่เข้มแข็งกับหัวใจขององค์กร เช่น ซัพพลายเออร์และลูกค้า
7.ให้ความสำคัญสูงกับด้านต้นทุนและประสิทธิภาพทางการเงิน
8.ไม่เข้มแข็งในการสร้างให้เกิดการยอมรับในตลาดขนาดใหญ่สำหรับแบรนด์ของตนเองโดยเฉพาะระดับนานาชาติ
9.การเติบโตและความซับซ้อนขององคืกรจำกัดต่อการจ้างมืออาชีพ
10. ปรับตัวทางกลยุทธได้เก่งเพื่อการตัดสินใจ


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาธุรกิจ
กรรมการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลผู้บริหารระดับกลาง
สถาบันพระปกเกล้า
www.facebook.com/Innovation.th
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

Thursday, July 10, 2014

บริษัทครอบครัว หรือ Holding Company

        บางครั้งการอ่านตำรา หรือ สร้างกระแสชักนำ บอกว่า "ธุรกิจครอบครัว" ควรจะทำนั่น ทำนี่ บางทีก็บอกแต่ข้อดี แต่อาจไม่บอกว่าจำเป็นหรือไม่ หรือควรจะทำตอนไหน  เรียกว่า "เอามันส์" หรือต้องพูด ต้องเขียน เอามาเป็นประเด็นก็ว่ากันไป แต่ ผู้เขียนอยากให้ "ธุรกิจครอบครัว (Family business) โดยเฉพาะ รุ่นหลัง  ๆ ( GEN 2, # 3 ,#4 ) ได้ คิดและศึกษาให้กระจ่างชัดและเข้าใจอย่างถ่องแท้เสียกรอนครับ
       

          ขอกลับมาที่เรื่องของ บริษัทครอบครัว  
          หลาย ๆ ท่าน ที่ทำงานหรือ ประกอบธุรกิจของตนเอง เรียกว่า ก่อร่างสร้างธุรกิจขึ้นมา  กลุ่มนี้ว่าแบบตำรา ก็คือ  "ผู้ก่อตั้งธุรกิจ (Founder)"   อาจจะบอกว่าผมก็จดทะเบียนบริษัท กับทางการเรียบร้อย เป็นนิติบุคคล  มีอำนาจลงนาม และถือหุ้นใหญ่เบ็ดเสร็จ ยังไม่เป็นบริษัทครอบครัวอีกหรือ  อันนี้ก็คงจริง ไม่งั้นคงไม่เรียก ธุรกิจครอบครัว

          แต่ในทัศนะ นี้ เป็นอีกลักษณะหนึ่งครับ
          คำว่า บริษัทครอบครัว ในสิ่งที่กำลังจะพูดถึง 
          ความหมายแรก หมายถึง การเป็นบริษัท ที่ก่อตั้งโดย พ่อ-แม่ และลูก ๆ  เป็นบริษัท จดทะเบียนของครอบครัวจริง ๆ  ไม่มีการประกอบกิจการแต่เป็นการไปลงทุนในหุ้น กับบริษัท ที่ครอบครัวตั้งขึ้นมา เป็นบริษัทแกน หรือ Flagship ของธุรกิจ  และอื่นๆ 

         ข้างล่างการจดทะเบียนเป็นบริษัทโฮลดิ้ง ตาม  ตลท.    
         การจัดโครงสร้างในรูปของการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) เป็นวิธีที่นิยมกันมากวิธีหนึ่งเนื่องจาก
  • กิจการต้องมีการเติบโตตลอดเวลา และมีแนวโน้มที่จะขยายการเติบโตไปในสายธุรกิจทั้งที่เกี่ยวข้อง และไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม ทั้งในประเทศและ/หรือต่างประเทศ ในรูปแบบของบริษัทย่อยมากขึ้น
  • ปัจจุบันมีการเพิ่มจำนวนของบริษัทในเครือที่มีโครงสร้างในลักษณะต่าง ๆ กัน มากขึ้นซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่ประสงค์จะยื่นคำขอเข้าจดทะเบียน
  • การรวมกลุ่มของบริษัทที่มีสายธุรกิจที่แตกต่างกัน ในบางครั้งอาจมีปัญหาในการที่จะเลือกบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นบริษัทผู้ยื่นคำขอ
         และเมื่อต้องการเอาบริษัท โฮลดิ้งไปจดทะเบียนใน SET      
            (อ้างจาก http://www.set.or.th/th/products/listing/criteria_p3.html)
            Holding Company หมายถึง บริษัทที่มีการประกอบธุรกิจโดยมีรายได้จากการถือหุ้นในบริษัทอื่นเป็นหลัก ซึ่งอาจเป็นการลงทุนในประเทศหรือต่างประเทศ และไม่มีการประกอบธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญเป็นของตนเอง  โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ
  • คุณสมบัติครบถ้วนตามกรณีทั่วไป ยกเว้นคุณสมบัติในเรื่องการมีผลการดำเนินงาน จะพิจารณาเฉพาะการมีกำไรสุทธิหรือมีมูลค่าหุ้นสามัญตามราคาตลาด (Market Capitalization) ตามหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับบริษัทแกน
  • ถือหุ้นในบริษัทแกนอย่างน้อย 1 บริษัท โดยสัดส่วนการถือหุ้นให้แยกตามประเภทของบริษัทแกนเป็นหลัก ดังต่อไปนี้
    1. กรณีบริษัททั่วไป > 50%
    2. กรณีบริษัทที่ร่วมลงทุนภาครัฐหรือมีข้อจำกัดตามกฎหมายอื่น > 40%
  • มีกรรมการและผู้บริหารเป็นบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการบริหารจัดการบริษัทแกน ซึ่งบริหารจัดการบริษัทแกนมาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ปี
  • มีอำนาจควบคุมหรือบริหารจัดการบริษัทแกนได้ตามสัดส่วนการถือหุ้น
  • ถือหุ้นในบริษัทแกนตลอดเวลาที่เป็นบริษัทจดทะเบียน โดยอาจเปลี่ยนบริษัทแกนได้ เมื่อพ้นระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่หุ้นสามัญเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ
  • ต้องไม่มีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจบริหารจัดการเงินลงทุน (Investment Company) ตามที่ ก.ล.ต. กำหนด

        ความหมายที่ 2 เป็นบริษัทครอบครัว ที่ไม่ประสงค์จะจดทะเบียน ใน ตลท.  แต่ไปถือหุ้น บริษัท           โฮลดิ้งของ ธุรกิจในครอบครัวอีกชั้นหนึ่ง  แทนที่จะเป็นแค่ บุคคลหรือ สมาชิกครอบครัวไปถือหุ้นใน บริษัทโฮลดิ้ง เท่านั้น เรียกว่า ไม่มีทางหลุดไปเป็นกิจการของใครอื่นได้แน่ ๆ ลงกลอนแน่นหนา 
    
         ไม่ว่ากรณีใด ๆ ต้องดูที่ความจำเป็นเพราะว่า หาก ครอบครัวไม่ใหญ่   กิจการที่ดำเนินอยู่หลัก ๆ มีเพียง 1-2 กิจการ และ ไม่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน   ธุรกิจครอบครัวลักษณะดังกล่าวหากมีสัญญาครอบครัว มีพินัยกรรม และ ข้อบังคับบริษัท อย่างชัดเจน พร้อมธรรมนูญครอบครัว อาจไม่มีความจำเป็นที่ไปจัดตั้ง บริษัทโฮลดิ้ง ก็ได้ครับ 

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081

Thursday, July 3, 2014

ระบบครอบครัวกับระบบธุรกิจ เกี่ยวข้องกันยังไง


      หลายท่านมักสอบถามว่า ธุรกิจครอบครัวกับ ธุรกิจมีส่วนเกี่ยวข้องและซ้ำซ้อนกันอย่างไรบ้าง หรือ
บางครั้งก็แยกกันไม่ค่อยออกเพราะ ครอบครัวเข้ามาบริหารธุรกิจเสียจะทุกตำแหน่ง

       ภาพข้างล่างนี้น่จะทำให้เห็นความชัดเจนของธุรกิจครอบครัวกับครอบครัวธุรกิจ  โดยเฉพาะ สภาครอบครัวว่า มีตำแหน่งอยู่ ณ จุด แห่งใด

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081


Thursday, June 12, 2014

ธรรมนูญธุรกิจครอบครัว



            ความจริงความสำเร็จของธุรกิจครอบครัว มีหลายปัจจัยมาก  อาทิ การเข้าใจ "โมเดลธุรกิจครอบครัว" หรือ ที่ฝรั่งเรียกว่า "ทฤษฎี 3 วง"  การมีสภาครอบครัว  การเตรียมทายาทสืบสอดธุรกิจ  การแก้ปัญหาความขัดแย้งในปฏิสัมพันธ์ของโมเดลธุรกิจครอบครัว   การมีความชัดเจนระหว่าง ธุรกิจและครอบครัว ฯลฯ

            ขณะที่ใน "ธุรกิจครอบครัวไทย" ผู้เขียนได้ศึกษาทำวิจัย เกี่ยวกับธุรกิจครอบครัวไทยพบว่า  ทฤษฎี 3 วง (ธุรกิจ ครอบครัว และ ความเป็นเจ้าของ) อธิบาย ธุรกิจครอบครัวไทยได้ไม่พอ  จึงเสนอใหม่เป็น  The 4D -FOBE Model of  Thai Family Business (TFB) คือ  มีทั้งครอบครัว   (F) เจ้าของ (O) ธุรกิจ (B) และ ผู้ประกอบการ (E) จะเหมาะกับธุรกิจครอบครัวไทยมากกว่า


            ในส่วนของ ธรรมนูญธุรกิจครอบครัว หรือ Family Constitution หรือ  Family Charter เป็นส่วนสำคัญใน สภาธุรกิจครอบครัว (Family Council)

            หากพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็เป็นเหมือน รัฐธรรมนูญ ในการปกครองประเทศ  คือ เป็น กฎ กติกา ให้ครอบครัวยึดถือปฏิบัติ  ซึ่งในสภาธุรกิจครอบครัวมักจะมี  คณะกรรมการอยู่ 2 ชุด ชุดแรกคือ Family Foundation Board กับอีกชุด คือ Family Office Board
            การมีธรรมนูญครอบครัว หรือ ธรรมนูญธุรกิจครอบครัว  อาจไม่ใช่ยาสารพัดนึกว่าจะทำให้ธุรกิจครอบครัวประสบความสำเร็จ  ทั้งนี้ก็เพราะว่า
            1. หากไม่มีเรื่อง  อื่นรองรับ เพื่อการนำไปปฏิบัติ  ธรรมนูญครอบครัวก็ทำอะไรไม่ได้
            2. ธรรมนูญที่จัดทำขึ้น ต้อง เกิดจาก ความเชื่อใจ  การให้โอกาสที่เท่าเทียม  กระบวนการคัดเลือก สมาชิกที่จะเข้ามาในสภาธุรกิจครอบครัว  หรือสมาชิกที่ไม่ได้อยู่ใน ตำแหน่งผู้บริหารธุรกิจแต่เป็นกรรมการสภาครอบครัว ฯลฯ
           3. การบริหารจัดการ ให้ได้อย่างลงตัวระหว่าง มืออาชีพที่เข้ามาเป็นผู้บริหารธุรกิจ และ เจ้าของกิจการหรือ สมาชิกครอบครัว ที่มีความเป็นเจ้าของ
           4.ความขัดแย้งในระหว่าง รุ่นผู้ก่อตั้ง กับ พี่น้องและรุ่นลูกที่เป็นทายาทจากผู้ก่อตั้ง  หรือ  สมาชิกใหม่ ที่เข้าสู่ครอบครัวจากการสมรส เข้ามาในธุรกิจครอบครัว
           5. การครอบครองสิทธฺิในการดูแลและมีอำนาจบริหารบริษัทโฮลดิ้ง ของครอบครัว หรือแม้กระทั่ง  สำนักงานธุรกิจครอบครัว (The Office of Family Business)

          ถูกต้องครับ ธุรกิจครอบครัว เมื่อขยายเติบโตเป็นครอบครัวใหญ่ มีหลายรุ่น จึงมีความจำเป็นต้องมี สภาธุรกิจครอบครัว และ ธรรมนูญครอบครัว แต่ ก็ยังมี สิ่งที่ผู้ดำรงความเป็นผู้นำสูงสุดของครอบครัว ต้องนึกถึงประเด็นต่าง ๆ ข้างต้น ที่ผู้เขียนกล่าวมา มิฉะนั้น  "ธุรกิจครอบครัวที่ท่านสร้างมาอาจไม่เป็นไปหรือเติบใหญ๋แผ่กิ่งก้านสาขา ดังปณิธาน ของผู้ก่อตั้งก็ได้ในท้ายที่สุด"  เนื่องจากมีตัวอย่างให้เห็นค่อนข้างมาก ที่บางธุรกิจครอบครัวได้เดินไปสุดปลายถนน  ..แต่ก็มีธุรกิจครอบครัวที่ยั่งยืนได้เกิน 100 ปี หรือ เกินกว่า 3 รุ่นครับ
         

       


     ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081




Friday, April 4, 2014

โมเดลการสืบทอดธุรกิจครอบครัว --งานวิจัยยืนยันใช้ได้


         ผู้เขียนได้ค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต  ปรากฎว่า มี นศ. MBA นางสาวอุมาพร โรซาร์พิทักษ์ - 2552  ที่ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ทำวิจัยใน.....
"หัวขอการวิจัยโครงการเฉพาะเรื่อง. การศึกษากระบวนการถายโอนกิจการธุรกิจครอบครัวใน. กลุมโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ". 
        ทําการเปรียบเทียบขั้นตอนการสืบทอดธุรกิจครอบครัวโดยนำ  "โมเดลการสืบทอดตําแหนงของดร.ดนัย เทียนพุฒ" ไปทดสอบ พบว่าสามารถนํามาใช
                                                                  
                                                             ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID: thailand081



อ่านได้จากบทคัดย่อครับ
--------------------
บทคัดย่อ
หัวขอการวิจัยโครงการเฉพาะเรื่อง การศึกษากระบวนการถายโอนกิจการธุรกิจครอบครัวใน
กลุมโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ
หนวยกิต 6
ผูเขียน นางสาวอุมาพร โรซารพิทักษ
อาจารยที่ปรึกษา ดร.ตอยศ ปาลเดชพงศ
หลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
สาขาวิชา การจัดการสําหรับการเปนผูประกอบการ
คณะ บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม
พ.ศ. 2552

บทคัดยอ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาแนวความคิดเชิงทฤษฏีเกี่ยวกับระบบสืบทอดกิจการในธุรกิจครอบครัวตาง ๆ เพื่อใหทราบถึงขั้นตอนและวิธีการสืบทอดกิจการ ตลอดจนผลที่ไดรับจากการนําไป
ประยุกตใชในองคกรนั้น ๆ เพื่อทําการเปรียบเทียบขั้นตอนการสืบทอดธุรกิจครอบครัววาสามารถ
นํามาใชไดจริง และเพื่อเสนอแนะขอมูลเพิ่มเติมที่จําเปนตองใชในการสืบทอดกิจการเพื่อใชในการ
ปรับปรุงและพัฒนาการดําเนินการนําระบบสืบทอดกิจการมาใชในธุรกิจครอบครัวใหดียิ่งขึ้นตอไป
การศึกษาครั้งนี้ วิธีการวิจัย การวิจัยเอกสาร (Literature Research) โดยอาศัยขอมูลจากเอกสารตาง ๆ
ที่เกี่ยวของ เชน บทความรายงานผลงานวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวของกับการสืบทอดกิจการ และการวิจัย
สนาม (Field Research) โดยใชการสัมภาษณแบบเจาะลึก (In-depth Interview) กับองคกรที่ประสบ
ความสําเร็จจากการนําระบบสืบทอดกิจการมาใช ดังนี้ บริษัท อิมพิเรียลเยนเนอรัลฟูด อินดัสทรี่ จํากัด
บริษัท โรงงานแมรวย จํากัด บริษัท ไทยเอเซียพีอีไพพ จํากัด บริษัท วี.พี. พลาสติก โปรดักท (1993)
จํากัด บริษัท สยาม สามอี จํากัด หางหุนสวนจํากัด ฮงเส็งการทอ บริษัท สยามสตีลอินเตอรเนชั่นแนล
จํากัด (มหาชน)

การวิจัยนี้ไดผลออกมาวาผูสืบทอดกิจการครอบครัวทั้ง 7 ทานไดลงความเห็นเปนประเด็นสวนใหญ
วา โมเดลการสืบทอดตําแหนงของดร.ดนัย เทียนพุฒนั้น สามารถนํามาใชไดจริงในการวางแผนสืบ
ทอดกิจการและเจาของกิจการธุรกิจครอบครัวสวนใหญจะเห็นวาในแตละขั้นตอนมีความสําคัญตอ
การรับสืบทอดกิจการธุรกิจครอบครัว สวนปจจัยสําคัญที่ชวยสรางความสําเร็จในการทําวางแผนถาย
โอนอํานาจของ ดร.ศิริยุพา รุงเริงสุข ทั้งนี้จากการสัมภาษณทั้ง 7 ทานสรุปไดจากเสียงสวนใหญวา
ทฤษฎีของ ดร.ศิริยุพา รุงเริงสุข ปจจัยที่ 1, 3, 5, 7 และ 9 นํามาปรับใชได และ จากการสัมภาษณทั้ง 7
ทานสรุปไดจากเสียงสวนใหญวาปจจัยที่ 2, 4, 6 และ 8 ไมสามารถนํามาปรับใชได
คําสําคัญ : ธุรกิจครอบครัว / การถายโอนอํานาจ / เจาของกิจการ / ผูสืบทอดกิจการ




Special Research
Study Title The Study of Family Business Succession in Large Enterprises
Special Credits 6
Candidate Ms.Umaporn Rosarpitak
Advisor Dr.Toryos Pandejpong
Program Master of Business Administration
Field of Study Entrepreneurship Management
Faculty Graduate School of Management and Innovation
B.E. 2552

Abstract
This research aims to study the concept-oriented theory about the family business succession in
order to get the succession planning process, to apply the results with the organization, to compare
the practical family business succession process, and to suggest additional information required for
business succession to better improvement of family business.

The Research methods is Research documents (Literature Research) based on information from
relevant documents such as articles about research related to business succession and Field
Research, using in-depth interview with the successful succession organizations including Imperial
General Foods Industry Co., Ltd Siam 3 E Co., Ltd. Mae-Ruay Snack Food Factory Co., Ltd Thai
Asia P. E. Pipe Co., Ltd. V.P. Plastic Product (1993) Co., Ltd. Hong Seng Knitting Group
(Garment) Co., Ltd., and Siam Steel International Public Company Limited.

The research result shows that most of seven family business successors agree that A Model of
succession in a family business by Dr. Danai Thieanphut can be applied with their organizations.
They agree that each step is important for business succession. On the other hand, most of the seven
successors state that Important 9 factors that help create success in a succession planning by Dr.
Siriyupa Roongrerngsuke can be applied only factor no. 1,3,5 ,7 and 9 but not factor no.2, 4, 6 and 8

Keywords: Family Business / Succession Planning / Entrepreneurship / Successor

อ้างจาก : http://www.kmutt.ac.th/gmi/upload/50430371นางสาวอุมาพร%20%20โรซาร์พิทักษ์.pdf

Monday, March 24, 2014

เมื่อนักเศรษฐศาสตร์ มามองเรื่องธุรกิจครอบครัว เราได้อะไร


       ผู้เขียนมองแตกต่างกันครับ ไม่ได้คิดผูกขาด กับการที่ใครจะมาพูดเรื่องธุรกิจครอบครัว แต่เห็นข่าว ใน นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ตามชื่อที่ผู้เขียนตั้งไว้
      1) ปัจจุบันนี้ เรื่องธุรกิจครอบครัวเราไปกันพอสมควรที่จะมาบอกว่า  มีความสำคัญ (เรารู้กันหมดแล้วว่าสำคัญ)
      2) ที่ไม่ยั่งยืน คำตอบเรายังไม่ชัด เพราะ เราเอา ทฤษฎี 3 วง เข้ามามองธุรกิจครอบครัวไทยซึ่งอาจไม่ ฟิต(Fit) ก็ได้ คงต้องหาคำตอบ ... ผู้เขียนคิดว่าต้อง 4 มิติหรือ 4 ด้าน (FOBE ......ให้ท่านลองเดาคำตอบไปก่อนล่วงหน้า หรือ หาอ่านในบล็อกนี้ได้ครับ.)
    3) ดังนั้น THAI  FB (Family Business:FB) คงมองเพียง  Ownership กับ  Business คงไม่พอ หรือ Family กับ Business  ว่าต้องมี "ธรรมาภิบาล" แล้วจะทำให้  THAI FB  ยั่งยืน
       คงต้องกลับไปมองว่า THAI FB เดิมนั้นมีรากฐานมาจาก  CFB (Chinese FB) หากไม่เข้าใจในมิตินี้ ก็ว่ากันตามตำราที่พูด ๆ กันครับ และต้องยอมรับ ทั่วเอเซียโดยเฉพาะ ASIAN  มีพื้นฐาน FB มาจาก CFB ทั้งนั้น

     การส่งต่อ ธุรกิจครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่น หลักการบริหารจัดการที่ดีจำเป็น  แต่ ยังมีอะไรที่ต้องพิจารณาคือ  ความเป็นผู้นำในธุรกิจครอบครัว (FB Leadership) อันนี้แหละครับสำคัญที่จะทำให้ THAI FB ในปัจจุบัน จะส่งมงกุฎ ต่อให้รุ่น Sibling หรือ Cousin consortium ได้ไหม

    ทั้งหมดนี้ผู้เขียนถึงเรียกว่า  "การเรียนรู้บนความท้าทาย"   ผู้เขียนจะมีโซลูชั่น ในอีกไม่นานครับเกี่ยวกับ  4ตระกูลใหญ่ของธุรกิจครอบครัวในประเทศไทย


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID : thailand081

Thursday, February 20, 2014

การสืบทอดธุรกิจครอบครัว (Succeeding Generations)



ผู้เขียน ได้เขียนถึง การสืบทอดธุรกิจครอบครัว และ บรรยายให้กับหลายแห่ง  โดยใช้หลักแนวคิดของ Ward ซึ่งน่าจะมีความเหมาะสมในเชิงแนวคิด  แต่ในการวิเคราะห์เพื่อใช้งานจริงผู้เขียนใช้แนวคิดของ

Succeeding Generations  ของ  Lansberg กับ อีกแนวคิดคือ ของ Gersick ในการจัดทำโมเดลจริง เพื่อวิเคราะห์ ตระกูลธุรกิจครอบครัว  4 ตระกูลใหญ่ของประเทศไทย


   

  
(นำรูปมาจาก www.amazon.com)

    สำหรับแนวคิดของ Ward (2006) หนังสือ Unconventional  Wisdom ที่ผู้เขียน ปรับมาใช้เป็นแนวคิดในตอนทำวิจัย "เจาะดี เอ็น เอ ธุรกิจครอบครัวไทย. (2552) จะเป็นดังรูป(ข้างล่าง)

   รายละเอียด ของ เมทริกซ์ การสืบทอดธุรกิจครอบครัว มีอยู่ด้วยกัน 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1  การปฏิบัติ (The Do Phase)
       เป็นระยะที่เริ่มต้นด้วยการว่าจ้างในระดับแรกเข้าสู่ธุรกิจอยู่ในราวอายุ 25-35 ปี  ความท้าทายของผู้สืบทอดธุรกิจที่จะเผชิญภายในระยะนี้เป็นความขัดแย้งด้านความคิดเห็นในการดำเนินธุรกิจระหว่างผู้ก่อตั้งธุรกิจหรือรุ่นอาวุโสที่จะมักใช้ความสัมพันธ์แบบสายบังคับบัญชาที่เป็นมาตั้งแต่เดิมกับผู้สืบทอดธุรกิจ  ยังไม่เห็นความจำเป็นในการถ่ายโอนอำนาจการควบคุมธุรกิจ  ให้มีการทดลองดำเนินธุรกิจแต่ก็ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด  ระยะนี้มีสิ่งที่สำคัญคือการที่ผู้สืบทอดธุรกิจได้เรียนรู้และซึมซับวัฒนธรรมของผู้ก่อตั้งได้ดีเพียงใด


















ระยะที่ 2  การชี้นำสู่การปฏิบัต (The Lead to Do Phase)
       ระยะนี้เริ่มขึ้นเมื่อผู้สืบทอดธุรกิจได้รับการเลื่อนระดับให้สูงขึ้นด้านความรับผิดชอบ  โดยอยู่ในระหว่างอายุ 35-50 ปี  สิ่งที่เป็นปัจจัยหลักคือ การสร้างครอบครัวใหม่จากการแต่งงาน  ลูกๆ เริ่มมีวุฒิภาวะที่จะเป็นผู้สืบทอดธุรกิจ  ทำให้ความสัมพันธ์แบบพ่อ-แม่ลูกเปลี่ยนไปเป็นความสัมพันธ์แบบผู้ใหญ่-ผู้ใหญ่  ผู้สืบทอดธุรกิจกำลังคิดว่าจะอยู่หรือจะไปจากธุรกิจครอบครัว  เพราะคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากพ่อ-แม่  หากมีลูกพี่ลูกน้องเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  ทั้งสองฝ่ายต่างก็ดิ้นรนที่จะเข้ามาควบคุมธุรกิจ  จึงกลายเป็นสงครามระหว่างผู้นำรุ่นเดิมกับผู้นำรุ่นใหม่  สิ่งสำคัญอยู่ที่การกำหนดวัฒนธรรมธุรกิจครอบครัวให้มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการจัดตั้งสภาครอบครัว (Family Council)
 ระยะที่ 3  การอนุญาตให้ปฏิบัติ (The Let Do Phase)
      ระยะนี้จะอยู่ระหว่างช่วงอายุ 50-65 ปีของผู้สืบทอดธุรกิจ  แม้ว่ารุ่นพ่อ-แม่จะยังมีชีวิตอยู่และมีอิทธิพลด้านจิตใจ ความท้าทายคือการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นในทางบวกต้องการบูรณาการเรียนรู้บทเรียนที่ผ่านมา  สำหรับความเป็นเจ้าของนั้น  ผู้สืบทอดธุรกิจควบคุมไว้ได้อย่างสมบูรณ์เหลือเพียงความท้าทายที่จะปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ การกำหนดนโยบายและริเริ่มแผนการสนับสนุนความต้องการในระยะยาวของครอบครัว

           ส่วนผู้ที่สนใจ ในตัวอย่างการวิเคราะห์ ด้วยแนวคิดของ Lansberg  ต้องอดใจรอหน่อยครับ เพราะรายงานวิจัยเล่มใหม่ กำลังเร่งอยู่ครับ จะเป็นอีกเล่มของเมืองไทย ที่ยังไม่เคยมีใครศึกษามาก่อนในแนวที่ผู้เขียนศึกษา ตาม โมเดล 4 D ธุรกิจครอบครัวไทย (FOBE  : Family , Owner, Business, Entrepreneur ) ทำให้เกิดความเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับธุรกิจครอบครัว ของ 4 ตระกูลใหญ่ในเมืองไทย ครับ  

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID : thailand081

ธุรกิจครอบครัวกับการบริหารอย่างโปร่งใส



         เรื่องราวของการบริหารธุรกิจครอบครัวอย่างโปร่งใส เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก เมื่อธุรกิจครอบครัวได้เติบโตมาระยะหนึ่ง และยิ่งเป็นครอบครัวที่มี กิ่งก้านสาขามากมาย (สมาชิก)   ความจำเป็นในเรื่องนี้ ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น เราะสามารถลดสิ่งที่เผชิญอยู่ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะข้อขัดแย้ง

         และความจำเป็นในการกำหนดให้มี  "Family Meeting" ก็ต้องทำขึ้นอย่างรีบด่วนด้วย หากธุรกิจครอบครัวใดยังไม่เป็นระบบมากนัก เพราะการจัดทำ "Family Meeting" ช่วยให้ครอบครัวดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างราบรื่น และส่งต่อธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่นได้



ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID : thailand081

Wednesday, January 8, 2014

4 ปัจจัยแห่งความสำเร็จของธุรกิจครอบครัว



       วันนี้ได้ค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตเพื่อ เตรียมจัดทำ วรรณกรรมเกี่ยวกับ "จากธุรกิจครอบครัวสู่ธุรกิจมืออาขีพ"   โดยเฉพาะเกี่ยวกับปัจจัยแห่งความสำเร็จของผู้ก่อตั้งธุรกิจครอบครัว
        เผอิญได้อ่านเจองานวิจัย ของไทยเรา แต่เป็นแค่บทความในวารสาร ที่เผยแพร่ทางออนไลน์
         "....ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของธุรกิจครอบครัว ในบ้านเรา มี  ภาวะผู้นำในธุรกิจครอบครัว  การจัดการเชิงกลยุทธ  วัฒนธรรมครอบครัว และความได้เปรียบในการแข่งขัน...."

         หลังจากอ่านแล้วทบทวนดู ผู้เขียนกลับคิดว่า เป็นปัจจัยทั่ว ๆ ไป ไม่ได้มีอะไรโดน ในทัศนะของผู้เขียน
         พอมาพบ บทความนี้ทางออนไลน์

      "4 Keys To Family-Business Success"  

(Originally published: 03.01.12 by Heather Onorati ., http://www.hvacrbusiness.com/798.html)
       .... There are keys to maintaining both healthy operationsand family relationships: succession planning, family meetings, strategic planning, and instituting a board of advisors.......

         4 ปัจจัย สู่ ความสำเร็จของธุรกิจครอบครัว  ประกอบด้วย  
           1) การวางแผนสืบทอดธุรกิจ
           2) การประชุมครอบครัว
           3) การวางแผนกลยุทธ
           4) การจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา

        ผู้เขียน เห็นว่า น่าจะ "Fit" กับธุรกิจครอบครัวมากกว่า และ น่าศึกษาว่า ธุรกิจครอบครัวไทย หาก มี 4 ปัจจัยนี้้จะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนถึง "100 ปี" ได้หรือไม่


             ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com

Monday, January 6, 2014

4 ทักษะของผู้นำเจนใหม่ในธุรกิจครอบครัวอาเซียน



จากการศึกษาของผู้เขียน เกี่ยวกับธุรกิจครอบครัว มีข้อมูลพบว่า ทักษะของเจนใหม่ สำหรับธุรกิจครอบครัวอาเซียนมี  4 อย่างดังต่อไปนี้

               -ทักษะความเป็นผู้ประกอบการ
               -ทักษะการเป็นผู้บริหาร
               -ทักษะทางกลยุทธ
              -ทักษะความเป็นผู้นำ 


 ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com