Friday, September 23, 2011

ความหมายของคำว่า ธุรกิจครอบครัว

                                                                  White House 101


     ผู้เขียนเห็นว่าในปัจจุบันมีการศึกษาและผู้ให้ความสนใจเกี่ยวกับธุรกิจครอบครัวมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 1-3 ปีนี้  อีกทั้งหนังสือการวิจัย "เจาะ ดี เอ็น เอ ธุรกิจครอบครัวไทย" มีผู้สอบถามและขอซื้อติดต่อมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึง นักศึกษา MBA (คนไทย) ในต่างประเทศมีติดต่อขอซื้อมาเช่นกันทำให้ประเมินว่า "โดน ๆๆ " 

     คำว่า "ครอบครัว (Family)"  เป็นคำหนึ่งที่อาจต้องนิยามให้ชัดเจนเพราะมิฉะนั้นอาจทำให้คลาดเคลื่อนต่อผลการศึกษา
     แต่ก็นั่นแหละครับ  มักหาข้อตกลงร่วมไม่ได้ว่า ธุรกิจครอบครัวจะมีความหมายที่ชัดเจนอย่างไร เพราะว่าขอบเขตของธุรกิจครอบครัวนั้นกว้างมากตั้งแต่ ร้านขายของเล็ก ๆ ไปจนถึงระดับองค์กรที่ควบคุมโดยครอบครัว
      เท่าที่ผู้เขียนทบทวนวรรณกรรมมา เช่น
      Harder (1989 อ้างจาก ดร.ดนัย เทียนพุฒ (2552) เจาะ DNA ธุรกิจครอบครัวไทย:56) บอกว่า ธุรกิจครอบครัวประกอบด้วย 4 มิติที่ผสมกันระหว่าง 
       มิติแรก สัดส่วนความเป็นเจ้าของ และการจัดการธุรกิจของสมาชิกครอบครัว 
       มิติที่สอง ระบบย่อยความสัมพันธ์ต่อกันอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ 
       มิติที่สาม การส่งผ่านการสืบทอดธุรกิจครอบครัว
       มิติที่สี่ ปัจจัยเงื่อนไขต่าง ๆ 
      ธุรกิจครอบครัว สามารถให้ความหมายง่าย ๆ ซึ่ง Leach (2007) สรุปไว้ว่า "เป็นการมีอิทธิพลโดยครอบครัวหรือโดยความสัมพันธ์ของครอบครัว และแต่ละคนรับรู้ว่าเราเป็นธุรกิจครอบครัว"
       กูรูด้านธุรกิจครอบครัว คือ Ward (2005)ให้ความหมายไว้ว่า "ธุรกิจครอบครัวเป็นกิจการที่มีการส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่นอย่างมีการจัดการและการควบคุม มีวิวัฒนาการของครอบครัวเป็นสิ่งกำหนดความซับซ้อนและการเติบโตของธุรกิจครอบครัว"
       และนิยามของ Ward เป็นนิยามที่มีการกล่าวถึงมากที่สุด 
       การวิจัย ในปี 2552 ของผู้เขียนจึงนิยามว่า ธุรกิจครอบครัว คือ กิจการที่มีการส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่นอย่างมีการจัดการและการควบคุม มีวิวัฒนาการของครอบครัวเป็นสิ่งกำหนดความซับซ้อนและการเติบโตของธุรกิจครอบครัว

      ในปี 2554 ได้พัฒนานิยาม ธุรกิจครอบครัวใหม่จากของ Ward และ Stockholm School of Economics สำหรับการวิจัยล่าสุด (กำลังดำเนินการ) ว่า 
      ...ธุรกิจครอบครัว คือ ธุรกิจที่ควบคุมโดยครอบครัวและต้องมีคุณลักษณะ อย่างน้อย 1 ใน 3 ดังนี้
         1) จำนวน 3 หรือ มากกว่าของสมาชิกครอบครัวอยู่ในกิจการ
         2) รุ่นที่ 2 หรือมากกว่าของครอบครัวควบคุมกิจการ
         3) รุ่นปัจจุบันมีความตั้งใจที่จะส่งต่อกิจการไปอีกรุ่น


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID : thailand081

1 comment:

  1. เรียนท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ผมขอรวบกวนฝากบล็อกหน่อยครับ Chaloit.blogspot.com พูดคุยเสวนาเรื่องธุรกิจแลกเปลี่ยนความคิด มุมมอง ท่านสามารถแวะเข้ามาดู และสามารถติชมบล็อกของเราได้น่ะครับ

    ReplyDelete