Thursday, October 18, 2012

ธุรกิจครอบครัวไทย...หนังสือที่คนสนใจกันมาก


          ธุรกิจครอบครัวไทย (Family Business) เป็นเรื่องที่สนใจกันมากในปัจจุบัน และตามปกนี้เป็นหนังสือเล่มล่าสุด ชื่อ คัมภีร์สร้างและรักษาธุรกิจครอบครัว เพิ่งพิมพ์ในปีนี้  ปรากฎว่ามีผู้สนใจติดต่อขอสั่งซี้อกันอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ผู้เขียนได้เปิดตัวหนังสือเล่มนี้ในงานสัมมนา  "DNA การพันฒนาธุรกิจครอบครัว สู่ธุรกิจมืออาชีพ"  
             อ่านรายละเอียด ว่ามีอะไรบ้างได้ครับ.....คลิก ที่นี่..คัมภีร์สร้าง และรักษาธุรกิจครอบครัว


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com

Thursday, October 11, 2012

10 คุณลักษณะแห่งความสำเร็จของธุรกิจครอบครัวไทย


การศึกษาธุรกิจครอบครัว โดยเฉพาะ "ธุรกิจครอบครัวไทย"  ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีของผู้เขียน ที่มีโอกาสได้ศึกษามาอย่างต่อเนื่อง และได้เคยบอกท่านผู้อ่านที่สนใจไปแล้ว

ขณะนี้ โครงการวิจัย เรื่อง "จากธุรกิจครอบครัวสู่ธุรกิจมืออาชีพ (From Family business to Professional business)"  ซึ่งผู้เขียน ดร.ดนัย เทียนพุฒ และ  ดร.จิรัสย์ ศิรศิริรัศม์ ได้ใช้เวลาศึกษา  ธุรกิจครอบครัวไทยจาก 4 ตระกลูใหญ่ของประเทศไทย แล้ว ถอดรหัสสิ่งที่เป็น DNA ของธุรกิจครอบครัวไทย ที่จะ "สร้าง  เติบโต และยั่งยืน แบบธุรกิจมืออาชีพ"  มี "คุณลักษณะแห่งความสำเร็จคืออะไร  และ ใช้โมเดลอะไรจึงก้าวจากธุรกิจครอบครัวไปเป็นธุรกิจมืออาชีพได้จากรุ่นสู่รุ่น

ตอนนี้  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้เสร็จแล้ว กำลังอยู่ระหว่างการเขียนผลการศึกษาออกมา

ในชั้นแรก คงเป็นหนังสือแบบกึ่งวิชาการมากกว่ารายงานการวิจัยแบบบนหิ้ง  โดยเล่มนี้ให้ชื่อว่า  ...."จากธุรกิจครอบครัว สู่ธุรกิจมืออาชีพ  ภาคที่ 1  10 คุณลักษณะแห่งความสำเร็จ" ...

โดย "10 คุณลักษณะแห่งความสำเร็จของธุรกิจครอบครัวไทย ที่   ใช้สร้าง  เติบโต และยั่งยืนแบบธุรกิจมืออาชีพ"  เป็นดังรูป .... แล้วผู้เขียนจะได้ รายงานความคืบหน้าของงานวิจัยชิ้นนี้ ต่อไป ครับ


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com


Tuesday, July 17, 2012

การพัฒนาธุรกิจครอบครัวไทยให้เป็นธุรกิจมืออาชีพ


ควันหลงจาก การจัดอบรม DNA การพันาธุรกิจครอบครัวไทย..สู่ธุรกิจมืออาชีพ เื่อ  1 มิ.ย 55 
 ผู้เขียนได้สรุปเรื่องราวที่บรรยาย มาลงใน นสพ.InMarketing   ในเดือนถัดมา จึงนามาเผยแพร่ต่อครับ...


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com


Thursday, May 3, 2012

มุมมองของ รุ่นที่ 2 ในธุรกิจครอบครัว

              (ปกหนังสือ คัมภีร์สร้างและรักษาธุรกิจครอบครัว -Family Business Handbook)

                  ธุรกิจครอบครัวมีควาแตกต่างไปจากธุรกิจทั่ว ๆ ไป สิ่งที่ชัดเจนที่สุด คือ ธุรกิจต้องทำเงิน ทำกำไร ขณะที่ ธุรกิจครอบครัว อาจมีุมุมมองที่แตกต่างออกไป  เช่นการรักษาครอบครัว  และการสืบทอดธุรกิจ
                  Beddor(2009)  บอกไว้ว่า มุมองของรุ่นที่ 2 จะีความแตกต่างไปจากรุ่นก่อตั้งธุรกิจครอบครัวในเรื่อง
                  -ความรู้ มีการศึกษาและเรียนรู้สูงกว่า ตรงกับธุรกิจมากกว่า
                  -ความมั่นคงปลอดภัย ในด้านการลงทุนและความเสี่ยงในการลงทุน
                  -เอกลักษณ์ รุ่นที่ 2 ต้องการสร้างแบรนด์ หรือ ความโดดเด่นให้กับธุรกิจครอบครัว
                   -ความคาดหวัง ในการเข้ามาดำเนินธุรกิจครอบครัวหรือการสวนแทนตำแหน่ง
                   -การควบคุมความเป็นเจ้า ซึ่งคิดอยู่แต่ไ่รู้ว่าจะีโอกาสเื่มื่อไหร่
                   -ได้มีโอกาส ในการทดลองตัดสินใจทางธุรกิจ
                  และสุดท้าย เมื่อไหร่ พ่อ-แม่ จะปล่อยให้ลงมือทำจริง ๆ เสียที

                 เป็นความน่าสนใจที่ได้ มองเข้าไปในส่วนลึกจิตใจของทายาท รุ่นที่  2
                 หากมีโซลูชั่นที่ดี จัดการได้อย่างลงตัว และ แบ่งปันในระหว่างครอบครัวได้  คงต้องรับฟังและพร้อมให้ รุ่นที่ 2 เข้ามาดำเนินการเสียที่ ดีกว่า อยู่ไปแบบ  ลอย ๆ ไ่ม่รู้เื่มื่อไหรจะได้เป็น CEO   สักที



ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com

Monday, April 30, 2012

คัมภีร์สร้างและรักษาธุรกิจครอบครัว


        กำหนดการสำหรับหนังสือ "คัมภีร์สร้างและรักษาธุรกิจครอบครัว" หรืิอ Family
 Business Handbook  จะเริ่มจำหน่าย  วันที่ 1 มิถุนายน 2555 ราคา250 บาท 
(ฟรีค่าส่งในประเทศไทย))  ที่ โครงการ Human Capital  สนใจโทร 029301133 หรือ email: DrDanaiT@gmil.com
       ถ้าสั่งจอง ล่วงหน้า  ตอนนี้ ราคา 220 บาท (ฟรีค่าส่งในประเทศ)     

       อย่างที่บอกไว่กับทุกท่าน ธุรกิจครอบครัวมีความแตกต่างจากธุรกิจที่ไม่ใช่ครอบครัว
       
       ผู้ที่สนใจ เจ้าของธุรกิจ  ทายาทธุรกิจ ท่านต้องเข้าใจว่า
       -การที่ ธุรกิจครอบครัวจะประสบความสำเร็จได้ สามารถ เรียนรู้ได้ทั้งทาง ทฤษฎีและภาคปฏิบัติ 
       -การฟังหรือ ศึกษาความสำเร็จของธุรกิจอื่่น   ต้องรู้ว่า ไม่สามารถ ก๊อปปี้ หรือ ลอกเลียนแบบได้ หากไม่มีการศึกษา หรือ ทำวิจัย "สร้างองค์ความรู้" ขึ้นมา สิ่งเหล่านั้น เป็นรอยทางของประสบการณ์ของบางธุรกิจ
       -ลักษณะธุรกิจครอบครัวไทย มีความแตกต่างและลักษณะที่ไม่อาจใช้ ทฤษฎีของตะวันตกได้อย่างลงตัวมากนัก  
      -การสืบทอดธุรกิจ ต้องทำการเรียนรู้และเข้าใจหลักการ มากกว่าการที่จะบอกแต่ว่า ปัจจุบันเป็นรุ่นไหน รุ่นที่เท่าไหร่  และความสำเร็จในอดีต อาจไม่ประกันความสำเร็จในอนาคต
       -ข้อมูลในต่างประเทศ บอกว่า ธุรกิจครอบครัว ล้มเหลวในการสืบทอดธุรกิจ ถึง67%  ในขณะที่ของไทยเรา รอด ประมาณ 16.5 % ไม่เกินช่วง 14 ปี แรกของการก่อร่างสร้างตัวในรุ่นก่อตั้ง

        หนังสือ เล่มนี้มาจากการศึกษาและวิจัย ผนวกกับประสบการณ์ในการคลุกคลีกับธุรกิจครอบครัวของผู้เขียน  จึงมีคำตอบและอะไรที่แตกต่างไปจาก เวทีสัมมนา และตำราธุรกิจครอบครัวที่แปล ๆ มา หรือ จากหอคอยงาช้าง

--------------
 ฝากโปรแกรมสัมมนา ที่ท่านไม่เคยเรียนรู้จากที่ไหนมาก่อน
        

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com



       

Wednesday, April 18, 2012

LG ธุรกิจครอบครัวใหญ่ระดับโลก



อย่าลืมนะครับ  พบกับผู้เขียนได้ในวันที่ 1 มิ.ย.55 "DNA การพัฒนาธุรกิจครอบครัว..สู่ธุรกิจมืออาชีพ"

 ผู้เขียนได้พูดถึงธุรกิจ ครอบครัวในประเทศมาพอสมควร คราวนี้อยากหยิบยก ตัวอย่าง LG ซึ่งเป็นธุรกิจครอบครัวใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก มาเล่าสู่กันฟัง ตามที่ผู้เขียน เขียนลงใน นสพ.inMarketing ไปแล้ว (อ่านได้ครับ) ส่วนตอนจบต้องไปฟังที่เวทีสัมมนาหลักสูตรดังกล่าว แต่ได้ลงรูป เด่น ๆ ให้เป็นทิศทางใหม่ของ LG และวัฏจ้กรธุรกิจครอบครัว Koo ใน LG group ไว้ให้เป็นแนวทางครับ


 รูปแรกเป็นบทความเกี่ยวกับประวัติและการเริ่มธุรกิจของ LG

 รูปต่อมาเป็น ยอดขาย Handset & Smartphone  โดยเฉพาะ Smartphone ที่ LG ไม่ติด 1ใน5 ของโลกปีที่ผ่านมา ทำให้มีการปรับองค์กรใหม่เปลี่ยน CEO

 
 วิสัยทัศน์ใหม่  และกลยุทธใหม่ของ LG


 โครงสร้างองค์กรใหม่ของ LG


รูปล่างคือประวัติความเป็นมาของ LG


 รูปสุดท้ายเป็นวัฏจักรธุรกิจครอบครัว Koo ใน LG group



ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com

Tuesday, April 10, 2012

สัมมนา DNA การพัฒนาธุรกิจครอบครัว..สู่ธุรกิจมืออาชีพ


        พบกับ ดร.ดนัย เทียนพุฒ หนึ่งในวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในด้านธุรกิจครอบครัวระดับประเทศ ในหลักสูตรนี้ 1.มิ.ย.55 

        เมื่อธุรกิจครอบครัวถูกกล่าวขวัญถึงอย่างมาก และครั้งนี้ผู้เข้าสัมมนา ทั้งเจ้าของธุรกิจ ธุรกิจครอบครัว ทายาทธุรกิจ ท่านจะได้รับข้อมูลเจาะลึกเกี่ยวกับ "ธุรกิจครอบครัวไืทย " ที่เป็นรายงานวิจัยขายดีาอย่างต่อเนื่อง และถูกถามถึงมากที่สุด  พร้อมนี้จะเปิดโมเดลธุรกิจครอบครัวชั้นนำของไทย ที่ยังไม่เคยมีใครได้นำเสนอมาก่อน  แต่ท่านจะได้เรียนรู้อย่างสมบูรณ์แบบในครั้งนี้ 
     
       พร้อมนี้ ทุกท่านสามารถซื้อหนังสือธุรกิจครอบครัวใหม่ล่าสุด " คัมภีร์ สร้างและรักษาธุรกิจครอบครัว" โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ ผู้เขียน ได้ในราคาพิเศษ เฉพาะวันสัมมนา เท่านั้น   (ตอนนี้ยังไม่มีจำหน่าย)

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com


Sunday, March 25, 2012

แวดวงธุรกิจครอบครัวเขาคุยเรื่องอะไรกัน

            มีกระแสการสนทนาและพูดคุยกันเรื่องธุรกิจครอบครัว  กระเพื่อมอยู่อย่างสม่ำเสมอในปัจจุบัน โดยเฉพาะในยามที่ผู้นำตระกูลหรือ
ผู้ก่อตั้งธุรกิจได้เสียชีวิตและจากไป  เช่น กลุ่มธุรกิจกระทิงแดง หรือ ในต่างประเทศ โดยหุ้นส่วนชาวออสเตรีย ภายใต้ชื่อ Red Bull
          -บางธุรกิจครอบครัวก็ได้มีการเตรียมการทั้งด้านธุรกิจและครอบครัวไว้ จึงไม่เกิดปัญหาอะไรในภายหลัง
           -บางธุรกิจครอบครัวก็เป็นแบบฉับพลัน  ทำให้ตั้งตัวกันอย่างไม่ทันท่วงที
           -บางธุรกิจครอบครัว อาจคิดเตรียมการ แต่ ทายาท หรือผู้สืบทอด ยังไม่พร้อมในการเข้ามาดูแลกิจการแทน
          เหล่านี้คือประเด็นที่ธุรกิจครอบครัว มักพูดคุยกัน  และถือเป็นเรื่องสำคัญมาก
          ขณะเดียวกันในทาง"ตำรา" หรือ "ทฤษฎี"  ของธุรกิจครอบครัว เค้าคุยเรื่องอะไรกัน
          อย่างแรก  "อะไรที่ทำให้ธุรกิจครอบครัวมีความโดดเด่นและแตกต่าง"
           เราจะพบว่าในปัจจุบัรมีการเชิญบรรยาย หรือ สัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจที่เป็น "ธุรกิจครอบครัว"  ว่า
         ....ทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จมาได้อย่างไร  และทำไมถึงรอดจนมาถึงปัจจุบัน จนกระทั่งร่ำรวย
             โดยส่วนใหญ่ฟังหรืออ่านไปแล้ว จะไม่ค่อยแตกต่างกัน  โดยเฉพาะในรุ่นก่อตั้ง หรือ รุ่นบุกเบิก
              มักเป็นคนจีนโพ้นทะเล ข้ามน้ำข้ามทะเล มาเมืองไทย  ทำมาหากินแบบหนักเบาเอาสู้  จนค่อย ๆ เริ่มมีฐานะและแยกตัวออกมาตั้งกิจการเป็นของตนเอง.......
           สิ่งเหล่านี้ ต้องทำในเชิงวิชาการจึงจะเป็นองค์ความรู้ที่มีประโยชน์สำหรับ ธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่
           ความจริงแล้วในทางวิชาการเราจะพูดคุยกันในเรื่องต่อไปนี้
         1)  ธรรมชาติ ความสำคัญและความโดดเด่นที่เป็นลักษณะเฉพาะของธุรกิจครอบครัวว่า เป็นอย่างไร
          2) ครอบครัวที่ยิ่งใหญ่ในธุรกิจ  สร้างขึ้นจากอะไร  (โดยหลักการมาจากความไว้เนื้อเชื่อใจและความมุ่งมั่นผูกพัน)
         3)ความเป็นเจ้าของแห่ง  "ธุรกิจอมตะ (Built to Last) "
     สำหรับ เรื่องต่อไป ขอทิ้งไว้ก่อนให้ท่านผู้อ่านคิดต่อครับว่า ในทางวิชาการ เขาคุยอะไรต่อในเรื่องของธุรกิจครอบครัว  ที่เป็นแก่นสาระสำคัญ  ต่อธุรกิจครอบครัวทั้งของตนเองและธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่

วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com
       

Sunday, March 11, 2012

ล่าสุด ! อัตรารอดของธุรกิจครอบครัวไทย



 ถ้าพุดถึงธุรกิจครอบครัวไทย  เรามักจะบอกว่า มีอัตรารอดประมาณ 30% (บางคนก็บอกว่าเยอะแล้ว มองในแง่บวก) แต่ในทัศนะผม หากมีการเตรียมและพัฒนาเพื่อดำเนินการธุรกิจครอบครัวอย่างจริงจัง อัตรารอดน่าจะมากกว่านี้  มิฉะนั้นจะเตรียม ผู้ประกอบการใหม่และ ทายาทธุรกิจครอบครัวไปทำไม

ธุรกิจครอบครอบครัว ที่ใหญ่ที่สุดระดับโลก ในปัจจุบันคือ อันดับ 1  Wal-Mart อันดับ 2  Ford  อันดับ 3 Samsung และอันดับ 4 LG
น่าสนใจนะครับ ที่เอเซีย อยู่ในอันดับที่ 3-4

กลับมาที่เมืองไทยครับ ตัวเลขล่าสุดที่ผมได้วิเคราะห์จากข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
-ในช่วง ปี 2455 -ปี2540  มีธุรกิจจดทะเบียน 483,707 กิจการ มีอัตรารอด 81.6 %
-ในช่วง ปี 2541-ปี 2550 (10ปี) มีธุรกิจจดทะเบียน 372,237 กิจการ มีอัตรารอด 40.9 %(ในปี 2543 มีอัตราการตายเกิน 100 %)
-ล่าสุด  ปี 2541-ปี 2554 (14ปี) มีธุรกิจจดทะเบียน 562,845 กิจการ  มีอัตรารอด 16.5 % (มีอัตราการตายเกิน 100% ในปี 2543 ปี2552 และปี 2554)

ถ้าพิจารณาตัวเลข ในปีแรก ปี 2541 มีอัตรารอด 38.8 %
                               3 ปีแรก (ปี2541-2544) มีอัตรารอด 43.3 %
                               5ปีแรก (ปี 2541-2546) มีอัตรารอด 35.3%
                               8ปีแรก (ปี 2541-2549) มีอัตรารอด 42.4%
ที่น่าแปลกใจคือ อัตรารอด ใน 10ปีของธุรกิจไทยอยู่ที่ 40.9% แต่ พอผ่านไป 14 ปี อัตรารอดกลับลดลงเหลือเพียง 16.5 %  และมีอัตราการตายเกิน 100% ใน 3 ช่วงคือ ปี 2543  ปี  2552 และ ปี 2554

แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจไทย หรือ ธุรกิจที่พัฒนาเป็นธุรกิจครอบครัว มีความยากมากขึ้นในการบริหารกิจการให้ประสบความสำเร็จ
ข้อคิดสำคัญ ประเทศไม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อม  กับการมีปัญหาทางด้านการเมือง  จะส่งผลให้กิจการไม่สามารถรอดไปได้ จากตัวเลขในปี 2552 และ ปี 2554

ผู้ประกอบการและ ธุรกิจควรอบครัว ต้องพัฒนาตัวเองมากยิ่งขึ้น  ไม่มี เทวดาหรือ อัศวินที่ไหนมาช่วยได้หรอกครับ หากไม่ปรับและพัฒนาตัวเองให้แกร่งและแข็งแรง ยังมี คลื่นลูกใหม่ที่รอโถมเข้าหาธุรกิจอยู่คือ AEC 2015 ใครปรับตัวช้า เหนื่อยครับ และอาจไม่มีพื้นที่ให้เล่น ก็ได้


วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  
email: drdanait@gmail.com


Sunday, March 4, 2012

คัมภีร์สร้างและดูแลครอบครัว

-

          ปัจจุบันธุรกิจครอบครัว ต่างสนใจให้ความสำคัญในการบริหารจัดการที่เป็นมืออาชีพมากขึ้น พร้อมกับต่างแสวงหาเรียนรู้เคล็ดวิชา ที่จะใช้นำพาให้ธุรกิจครอบครัวของตนก้าวเดินไปอย่างประสบความสำเร็จ และไม่ต้องผิดพลาดแบบธุรกิจครอบครัวในยุคก่อน ๆ
         การเรียนรู้จาก ธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จถือเป็นการเรียนลัดได้ในอีกแนวทางหนึ่ง แต่ธุรกิจครอบครัวต้องมีความเข้าใจเป็นเบื้องต้น ก่อนว่า
         -ความสำเร็จดังกล่าวเป็นประสบการณ์ตรงของผู้ก่อตั้ง รุ่นพ่อ-แม่หรือ รุ่นลูกหลานแต่ละคน ซึ่งอาจเป็นความสามารถเฉพาะบุคคล ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้
         -สภาพแวดล้อมของธุรกิจแต่ละยุคสมัยมีความแตกต่าง การแข่งขันของธุรกิจและบริบททางธุรกิจไม่เหมือนกัน การนำความรู้ที่ได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟังมาไปใช้จำเป็นต้องเรียนรู้และศึกษาสภาพข้อจำกัดดังกล่าว
         -ไม่มีความสำเร็จใดที่เป็นแบบ One Size Fits All ถ้าไม่ได้ทำการวิจัยศึกษาอย่างเป็นระบบ จนกระทั่งกลั่นเป็นองค์ความรู้แบบที่ทำกันในธุรกิจครอบครัวต่างประเทศหรือ ประเทศตะวันตก
         ผู้เขียนขอนำความสำเร็จของกลุ่มธุรกิจครอบครัวจิราธิวัฒน์จากประสบการณ์ของคุณสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ ได้ใช้สร้างธุรกิจจนประสบความสำเร็จและถือเป็น"ต้นแบบธุรกิจครอบครัวไทย"  ซึ่งยอมรับและกล่าวถึงกันมาก โดยเฉพาะเรื่อง"หลักในการสร้างและดูแลครอบครัว" ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
        (1) การอยู่ร่วมกัน ลักษณะการอยู่ร่วมกันของครอบครัวจิราธิวัฒน์คือ อยู่บ้านเดียวกัน กินข้าวหม้อเดียวกัน เล่นด้วยกัน ทำงานด้วยกันและนอนบ้านเดียวกัน อันเป็นการปูพื้นฐานในด้านความรู้สึกนึกคิดว่าทุกคนมาจากครอบครัวเดียวกัน ไม่เกิดการแบ่งแยกว่าเป็นพี่น้องต่างมารดากัน
        (2) การจัดลำดับอาวุโส ให้ทุกคนเคารพนับถือตามความอาวุโสของอายุ แทนที่จะถือตามศักดิ์ความเป็นอา-หลาน เพื่อเป็นการง่ายแก่การปกครอง ทุกคนในครอบคตรัวจิราธิวัฒน์เหมือนกันหมดไม่มีการแบ่งแยกว่าเป็นน้องเป็นลูก
        (3) การอบรมสั่งสอนในครอบครัว ให้ความสำคัญกับการเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่มาก เรื่องครอบครัวต้องรักน้องมากกว่าภรรยา ต้องมีความกตัญญู ต้องเคารพผู้ใหญ่ ต้องอ่านหนังสือ ต้องประหยัด  อย่าเอาเปรียบคนอื่น อย่าเล่นการพนัน อย่าสูบบุหรี่ ทำอะไรทำจริง สำหรับผู้หญิงจะสอนวิธีการเลือกคู่ครองไม่จำเป็นต้องเป็นคนรวยของให้เป็นคนทำงานจริงจัง
         (4) ใช้หลักประชาธิปไตยกับสมาชิกในครอบครัวทุกคน มีสิทธิมีเสียงที่จะแสดงความคิดเห็น
         (5) การให้การศึกษาแก่สมาชิก ทุกคนจะได้มีการศึกษาที่ดี เด็กผู้ชายเรียนที่อัสสัมชัญ เด็กผู้หญิงเรียนที่มาร์แตร์ เป็นหลักและส่งเรียนต่อต่างประเทศทุกคน
         (6) การแบ่งงานให้สมาชิก โดยการวางแผนธุรกิจล่วงหน้า แบ่งงานให้แต่ละคนโดยคำนึงถึงความอาวุโส ประกอบกับความสามารถและความเหมาะสม
        (7) การทำโทษสมัยแรก ๆ ใช้ไม้เรียว และสมัยหลังใช้การเวียนจดหมายให้ได้อาย ประจานไม่ให้คนอื่นเอาเยี่ยงอย่าง ซึ่งวิธีนี้เป็นที่หวาดกลัวของคนในครอบครัวจึงระวังไม่ให้ทำอะไรผิดกัน
        (8) การชมเชย  คือการมอบความไว้วางใจให้ดูแลธุรกิจโดยให้งานเพิ่มขึ้นอีกเพื่อพัฒนาความสามารถให้มากยิ่งขึ้น จะได้รับผิดชอบที่สูงขึ้นไปอีก

        น่าสนใจใน"ประสบการณ์ของครอบครัวจิราธิวัฒน์" ในการที่จะเรียนรู้แล้วลองปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจครอบครัวในยุคปัจจุบันครับ


วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com

Monday, January 30, 2012

ธุรกิจครอบครัวการสืบทอดสู่รุ่นต่อไป



ในปัจจุบัน มีความพยายามที่น่าสนใจ หรือ การเกิดกระแสของ "การปั้นธุรกิจครอบครัว"  ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน  แบบชนิด "บูมสนั่น"  เป็นคลื่นกระแทกสู่ฝั่งซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ซึ่งอาจเป็นเพราะ ในอดีตเราละเลยเรื่องนี้กันมานาน ปล่อยให้ ธุรกิจทั้งหลาย ล้มลุกคลุกคลาน แสวงหาแนวทางของตนเอง  แต่ก็ยังมีนักวิชาการและผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องธุรกิจครอบครัวอยู่ไม่น้อยเช่นกัน เพียงแต่เป้าหมายอาจจะแตกต่างกันออกไป ตามธรรมชาติของผู้ที่ศึกษา

                 ในปี 2554 ที่ผ่านมา หนังสือ "เจาะ DNA ธุรกิจครอบครัวไป " ได้ส่งผ่านไปยังมือ ของธุรกิจครอบครัว  นักศึกษาทางธุรกิจ และผู้ที่สนใจในธุรกิจครอบครัว จำนวนไม่น้อย

                   ประด็นหนึ่งซึ่งเป็นที่สนใจกันมากว่า  "ทายาทธุรกิจครอบครัว รุ่นใหม่ " สนใจอยากดำเนินธุรกิจครอบครัวต่อจากรุ่นก่อนหรือไม่
.                  ..ในบางธุรกิจก้ไม่มีความสนใจเลย เพราะเห็นความยากลำบาก  การทำงานแบหามรุ่งหามค่ำ ทายาทฯรุ่นลูกก็ไม่อยากทิ้งความสุขสบายลงมามือเปื้อน
                   . ..ในบางธุรกิจ ผู้ก่อตั้ง อยากให้ทายาทฯ เข้ามาช่วยทำในธุรกิจครอบครัว แต่ยังขาดประสบการณ์ต้องเรียนรู้ กันอยู่
                   ...มีบางองค์กร อาสาตนเองเข้ามาเตรียมความพร้อมให้ธุรกิจครอบครัว ทั้งอบทั้งรม  แต่พอลงสนามจริง กลับไปเป้นอย่างที่ได้ไปอบรมมา  แต่อาจได้สายสัมพันธ์ การร่วมธุรกิจใหม่ ๆ ที่ต่างไปจากธุรกิจเดิม
                     ...บางคนก็ไม่ได้สนใจไปร่ำเรียนที่ไหน อาศัย อ่าน นสพ. ต่าง ๆ ที่ สื่อพยายามปรับมาเล่นหัวข้อนี้เพราะเป็นกระแส   แต่ก็เป็น "กรณี" ที่บอกไม่หมด มีแต่สิ่งดี ๆ หากลองไปทำบ้างมีทั้งได้ผลและเจ๊ง
                    คำถามคือ ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น
                   ผู้เขียนคิดว่า เราคงต้องกลับมาที่พื้นฐาน
                 ..เมื่อไม่นานนักได้มีโอกาสเป็นวิทยากรที่ปรึกษาในการไปจัดทำ วิสัยทัศน์ และภารกิจ ให้กับธุรกิจครอบครัวที่ตั้งมาตั้งแต่รุ่นพ่อ  จนกระทั่งปัจจุบันอยู่ในมือรุ่นลูก แต่สิ่งที่แตกต่างไปจากเดิมคือมีความตั้งใจอยากทำธุรกิจต่อ แต่เป็นลักษณะ คิดกันเองในครอบครัว เรียนรู้จากความสำเร็จในอดีต และรุ่นลูกในปัจจุบันที่จบการศึกษามาดีพอสมควร
 แต่ธุรกิจ "ไม่แรงอย่างที่คิด" ซึ่งอาจจะมีหลายปัจจัย ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า มีปัจจัยหนึ่งคือ "การเตรียมความพร้อม"  ใน 2 ลักษณะ
                    อย่างแรก ความพร้อมด้านพื้นฐานการศึกษา 
                    ผู้เขียนมีข้อมูลจากการศึกษา ในปี 2010 ของ KPMG ที่ได้ทำการศึกษาผู้ประกอบการในออสเตรเลีย  พบว่า
  การเตรียมทายาทรุ่นใหม่ ด้านการศึกษามีดังนี้
                    -ความรู้ในด้านการศึกษามีคุณสมบัติ
                                หรือปริญญา ระดับ Undergrad   40.38%
                     -ความรู้ในด้านการศึกษามีคุณสมบัติ
                                หรือปริญญา ระดับ Post grad    19.23%
                    -อนุปริญญา                                      17.32%
                    -เกรด 12                                       15.38%
                    -เกรด 10                                       5.77%
                    -คุณสมบัติทางการค้า                           1.92%
                  อย่างที่สอง ความรอบรู้ในธุรกิจ (Business  Acumen)
                   เป้นสิ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าวุฒิความรู้   ยิ่งเรียนมากเท่าไหร่ แต่ขาดความรู่ในธุรกิจ และประสบการณืในทำธุรกิจจริง ๆ มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน  เพื่อนของผู้เขียนที่เป็นผู้ประกอบการแบบธุรกิจครอบครัว จะพบว่ารุ่นทายาท ยังอ่อนประสบการณ์ หรือ คิดแบบในตำราเรียนมากกว่าที่จะนำไปใช้จริงได้  ซึ่งคงต้องให้เวลาในการเรียนรู้และพัฒนา อต่ก็อาจไม่ทันใช้งานเพราะปัจจุบันธุรกิจแข่งขันกันสูง และภูมิทัศน์ทางธุรกิจก็ไม่เหมือนสมัยรุ่นก่อตั้ง หรือ รุ่นก่อน

                  การเตรียมพร้อมสร้างทายาทธุรกิจครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญแต่คงไม่ได้ทำด้วยการไปฟัง บรรยาย -อบรมสัมมนา - แต่ต้องมีโมเดลการเรียนรู้  และเรียนรู้จากโมเดลของธุรกิจครอบครัวที่ ประสบความสำเร็จจากหลาย ๆ รุ่นจนถึงปัจจุบัน  ถอดรหัสความสำเร็จได้  จนกล้าเกร่งไปพัฒนาโมเดลความสำเร็จใหม่ของธุรกิจครอบครัวขึ้นมาได้


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com

        



Thursday, January 26, 2012

ธุรกิจครอบครัวอยู่ได้กี่ชั่วอายุคน



เมื่อสองสามวันก่อนมีอาจารย์ท่านหนึ่งถามผมว่า ธุรกิจครอบครัว อยู่ได้ไม่เกิน 3 ชั่วอายุคน จะมีวิธีการอย่างไร ผู้เขียนพอจะไขข้อข้องใจนี้ได้ไหม

ผู้เขียนเลยตอบไปว่า ที่บอกได้ 3 ชั่วอายุคน นั้นไม่ใช่ฝรั่งแต่เป็นในเอเซีย หรือ ประเทศไทย

จะไม่ให้พูดอย่างงั้นได้ไงในเมื่อ ผ่านไปปีแรก ธุรกิจเริ่มใหญ่  ส่วนใหญ่ ครึ่งหนึ่งก็ตายแล้ว

อย่างแรก ฝั่งเขามีโมเดลในการสืบทอดธุรกิจครอบครัวเพื่อให้ สามารถทำธุรกิจอยู่รอดได้เกิน 3 ขั่วอายุคน

ขณะที่ของไทยเราเพิ่งมาตื่นตัวและให้ความสำคัญกับ การพัฒนาธุรกิจครอบครัว

ฝรั่งเองยังมีการตั้งสมาคม ชมรม และสถาบัน ด้านธุรกิจครอบครัว เพื่อพัฒนาให้ธุรกิจครอบครัวของเขาพัฒนาได้มากยิ่งขึ้น
ของเราเป็นลักษณะรวมตัวเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจและต่อรอง กับภาครัฐ ในเรื่องการลงทุน ความช่วยเหลือ เงินกู้ และ การลดอัตราพิกัดภาษี ในการนำเข้าสินค้า เครื่องจักร และการผลิต

อย่างที่สองทัศนคติของคนในแต่ละรุ่นแตกต่างกัน

ผู้เขียนวิเคราะห์ให้เห็นว่า
-ในยุค แรก ของธุรกิจครอบครัว ซึ่งในประเทศไทยมีแนวโน้มเป็นธุรกิจเชื้้้อสายจีน มากกว่า เชื้อสายไทย เพราะคนไทยคิดว่า
 "สิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยง" จึงทำให้คนมุ่งรับราชการ  ปัจจุบันยิ่งหนักใหญ่ เพราะราชการจ่ายวุฒิป.ตรี ที่ 15,000 บาทยิ่งทำให้คนรับราชการ

ซึ่งในยุคนี้ อยู่ในช่วง ศตวรรษที่ 19-20 (ต้นศตวรรษ)  ผู้เขียนเรียกว่า "Hardship"
ผู้ประกอบการธุรกิจครอบครัว จะหนักเบาเอาสู้  ทำงานหามรุ่งหามค่ำ ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย  ทุ่มเท เพื่อการก่อร่างสร้างตัว  เข้าใจความยากลำบาก อดออม มัธยัสถ์

ยุคต่อมาเป็น ศตวรรษที่ 20  (ปลายศตวรรษที่ 20)  ผู้เขียนเรียก  การหาต้นแบบ Role Model 

คือเป็นยุคที่ ธุรกิจครอบครัว มีลูกหลาน ได้ร่ำเรียนขึ้น ข้ามน้ำข้ามทะเล ไปเรียนต่างประเทศ การทำธุรกิจครอบครัว จึง สร้างต้นแบบของความสำเร็จ โดยเรียนรู้ จาก คนอื่นที่ประสบความสำเร็จ เพื่อไม่ให้ธุรกิจผืดพลาดหรือ ล้มหายตายจากไป  แต่ใครที่ปรับตัวไม่ได้ ตายไปก็ไม่น้อย

ยุคศตวรรษที่ 21 เป้นยุคที่คนรุ่นใหม่เข้ามาในธุรกิจครอบครัวมากขึ้น แต่ไม่อยากเสียเวลาเรียนรู้ ต้องการ "แบบด่วนทันใจ Shortcut  -Instant "  ซึ่งทำให้ รุ่นก่อน ปวดหัว กับการที่ต้องมาเป็นพี่เลี้ยงกับ ครอบครัวที่ไม่มีความเข้าใจสภาพธุรกิจจริง เป็นการทำตามตำราอย่างเดียว

ถ้าเป็นอย่างนี้ คงไม่ถึง 3 ชั่วอายุคน แค่ 2 รุ่นก็ตายหมดครับ
อนาคตเป็นธุรกิจครอบครัวที่จะอยู่ในมือของคนรุ่นใหม่ ๆ ที่น่าจับตามองและศึกษาว่าจะนำพาครอบครัวให้ โลดแล่นข้ามไป มากกว่า 3 ชั่วอายุคนได้ไหม

Ward บอกว่าธุรกิจครอบครัว มีความพิเศษไม่เหมือนธุรกิจทั่วไป หากไม่เรียนรู้และศึกษา ก็ยากที่จะนำพาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com