Saturday, March 13, 2010

งานวิจัยเรื่อง เจาะ ดี เอ็น เอ ธุรกิจครอบครัวไทย

ย้อนความถึง "ที่ไปและที่มาของจุดเริ่มต้นในการศึกษาธุรกิจครอบครัวไทย" ในตอนที่กำลังศึกษาระดับปริญญาเอกอยู่นั้น เพื่อผู้เขียนท่านหนึ่ง(คุณสันติ สุวรรณาคาร-ประมาณปี 47-48 : ปัจุบันสำเร็จการศึกษาแล้ว) ได้เล่าให้ฟังว่ากำลังเขียนดุษฎีนิพนธ์เรื่อง ธุรกิจครอบครัวไทยในธุรกิจร้านทองว่าจะมีแนวทางหรือโมเดลที่จะส่งต่อธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร
ผู้เขียนนึกอยู่ในขณะนั้นว่าไม่เห็นจะน่าสนใจมากนักแต่ก็ไม่ได้ว่าอะไร ซึ่งหลังจากนั้นได้ลองกลับไปดูบทความเก่า ๆ ที่เคยเขียนไว้ ปรากฎว่าได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับเถ้าแก่ และธุรกิจ SMEs ไว้พอสมควร ซึ่งมีความใกล้เคียงกัน และก็บรรยายเกี่ยวกับธุรกิจ SMEs และคลุกคลีกับผู้ประกอบการอยู่เป็นจำนวนมากในระหว่างเป็นที่ปรึกษาด้านการจัดทำกลยุทธและการบริหารHR ให้กับกลุ่มบริษัท ดัชมิลล์ ซึ่งเป็น มีผู้จัดจำหน่ายเป็นธุรกิจครอบครัวเช่นกัน
หลังจากนั้นได้มีโอกาสสนทนาเป็นระยะกับเพื่อนที่ทำเรื่องนี้จนถึงขั้นขอยืมเอกสาร และหนังสือไปอ่านซึ่งน่าสนใจมากว่าในต่างประเทศนั้น
-มีสถาบัน ที่ค้นคว้าแ ละศึกษาจำนวนมากเกี่ยวกับธุรกิจครอบครัว
-มีการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาด้านธุรกิจครอบครัว
-มีเ ครือข่ายด้านนี้ทั่วโลกและให้ความสนใจกันมากในหลาย ๆ ประเทศในเอเซีย
ขณะที่ในประเทศไทยไม่มีองค์กรเหล่านี้เลย และเพื่อน-คุณสันติในขณะที่เรียนด้วยกัน บอกว่า พี่ศึกษาเถอะน่าสนใจมาก ทั้งหมดนั้นทำให้ผู้เขียน ปัดปุ่นโครงการวิจัยที่ทำไว้แต่ยังไม่ได้สรุปผลการวิเคราะห์อย่างลงตัวเพราะ ผลัดมาอยู่ตลอดเวลา
จึงจุดประกายการวิจัยเรื่องนี้ขึ้นมาอย่างไม่ได้ตั้งใจนัก


ชื่อเรื่อง การวิจัยเรื่อง เจาะ ดี เอ็น เอ ธุรกิจครอบครัวไทย

ผู้วิจัย : ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
email:DrDanaiT@gmail.com
ปีที่ทำเสร็จ : ปีพ.ศ.2551 (พิมพ์เผยแพร่ปีพ.ศ.2552)

ประเด็นปัญหาการวิจัย
RESEARCH ISSUES

“คุณลักษณะความสามารถของผู้ประกอบการคือ รากฐานของธุรกิจครอบครัว”
ธุรกิจส่วนใหญ่ในโลกนี้ถือกำเนิดมาจากธุรกิจครอบครัว (Family Business: FB) ไม่ว่าจะเรียกชื่อไปอย่างไร อาทิ วิสาหกิจชุมชนธุรกิจ SMEs ธุรกิจขนาดใหญ่หรือขยายกิจการให้เติบโตเพียงใดธุรกิจดังกล่าวยังคงจะมีความเป็นครอบครัวไว้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งโดยที่มิอาจ
หลีกเลี่ยงได้
Ward & Others (2005) ได้ศึกษาว่าธุรกิจครอบครัวมีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นตามวัฎชีวิตธุรกิจ โดยเริ่มต้นขยายตัวเติบโตและถดถอย
และความสำเร็จในการจัดการธุรกิจครอบครัวไทย (Thai Family Business) ที่สืบทอดกันมาจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ล้วนมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องในด้านการลงทุน การจัดการและทุกขอบเขตของธุรกิจ แต่การศึกษาถึงแก่นแท้ (DNA) หรือประเด็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factors) โมเดลธุรกิจครอบครัว (Family Business Model) และการสืบทอดธุรกิจ (Business Succession) ขาดการ ศึกษาและค้นคว้าอย่างลึกซึ้งในบริบทของธุรกิจไทย
ธุรกิจครอบครัวไทยจึงควรที่จะมีการศึกษา กำหนดหรือพัฒนารูปแบบให้ธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคง รวมถึงการที่จะสามารถออกไปแข่งขันในเวทีโลกโดยสร้างมูลค่า-เพิ่มให้กับธุรกิจ สังคมและประเทศชาติอย่างยั่งยืน
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาอยู่ 3 วัตถุประสงค์คือ
1) การศึกษาเพื่อค้นหาองค์ประกอบหรือคุณลักษณะความสามารถของผู้ประกอบการ
2) การสังเคราะห์ดี เอ็น เอ โมเดลสู่ความสำเร็จของธุรกิจครอบครัวไทยจากรุ่นสู่รุ่น
3) นำเสนอต้นแบบของธุรกิจครอบครัวไทยในอนาคตที่เป็นองค์ความรู้ในบริบทของสังคมและเศรษฐกิจไทย

กรอบแนวคิดในการวิจัย ผู้วิจัยได้มีการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยว-ข้อง สามารถกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยเจาะดี เอ็น เอ ธุรกิจครอบครัวไทยได้ดังภาพที่ 1-1

ภาพที่ 1-1 : กรอบแนวคิดในการวิจัยเจาะดี เอ็น เอ ธุรกิจครอบครัวไทย






สิ่งที่เป็นประเด็นคำถามในการวิจัย ผู้วิจัยเกิดคำถามในการวิจัยภายหลังจากที่ได้มีการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวกับธุรกิจครอบครัวทั้งในประเทศและต่างประเทศ
คำถามที่ 1 ธุรกิจครอบครัวโดยเฉพาะผู้ก่อตั้งธุรกิจจะต้องมีคุณลักษณะความ-สามารถของผู้ประกอบการอะไรเป็นพื้นฐานสำคัญ
ดังนั้นธุรกิจครอบครัวไทยจะมีองค์ประกอบหรือคุณลักษณะความสามารถของผู้ประกอบการที่สำคัญอะไรบ้าง และจะมีองค์ประกอบย่อยหรือรายการความสามารถอะไรที่อธิบายองค์ประกอบของผู้ประกอบการ
คำถามที่ 2 ธุรกิจครอบครัวไทยจะมีการพัฒนาโมเดลของธุรกิจครอบครัวสู่ความสำเร็จในรูปแบบใด และมีสิ่งใดที่เป็นดี เอ็น เอ (DNA) หรือองค์ประกอบสำคัญ ซึ่งกำหนดความเป็นไปได้ในการพัฒนาโมเดลของธุรกิจครอบครัวไทย
คำถามที่ 3 ถ้าธุรกิจครอบครัวไทยจะขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จในอนาคต จะต้องกำหนดรูปแบบหรือโมเดลในการสืบทอดธุรกิจรูปแบบใดที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้
สมมติฐานในการวิจัย ผู้วิจัยได้กำหนดสมมติฐานในการวิจัยครั้งนี้คือ
1) สมมติฐานแรกของการวิจัย กรอบคุณลักษณะความสามารถของผู้-ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ จะมีอยู่ 6 คุณลักษณะความสามารถของผู้ประกอบการคือ (1) ความสามารถด้านวิสัยทัศน์ธุรกิจ (2) ความสามารถด้านไฮเปอร์ (3) ความสามารถด้านการพัฒนาทีมธุรกิจ (4) ความสามารถด้านทักษะการบริหาร (5) ความสามารถด้านนวัตกรรมและ (6) ความสามารถด้านคุณลักษณะแห่งตน
2) สมมติฐานการวิจัยที่ 2.1 โมเดลสู่ความสำเร็จธุรกิจครอบครัวไทย ควรจะมีโมเดลการพัฒนาธุรกิจครอบครัวอย่างน้อย 3 แกน ซึ่งประกอบด้วยแกนความเป็นเจ้าของ (Ownership Axis) แกนครอบครัว (Family Axis) และแกนธุรกิจ (Busines Axis)
3) สมมติฐานการวิจัยที่ 2.2 ธุรกิจครอบครัวไทยจะขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จในอนาคตจะสามารถกำหนดรูปแบบหรือโมเดลในการสืบทอดธุรกิจด้วยรูปแบบเมทริกซ์ระยะของผู้สืบทอดธุรกิจที่ประกอบด้วยระยะที่ 1 การปฏิบัติ (The Do Phase) ระยะที่ 2 การชี้นำสู่การ-ปฏิบัติ (The Lead to Do Phase) และระยะที่ 3 การอนุญาตให้ปฏิบัติ (The Let Do Phase)
รูปแบบการวิจัย เป็นรูปแบบของวิจัยผสม (Mixed Model) ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) รวมทั้งยังทำการศึกษาในลักษณะของภาพตัดขวาง (Cross-Section Study) โดยการศึกษาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2545 ถึงพฤศจิกายน 2550 ประชากรในการวิจัย มีลักษณะเป็นผู้ประกอบการ ทั้งที่คิดจะเป็นผู้ประกอบการ ที่เป็นผู้ประกอบการอยู่และธุรกิจที่มีลักษณะความเป็นธุรกิจครอบครัว โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เครือข่าย (Social NetworkAnalysis : SNA) มากำหนดกรอบของกลุ่มตัวอย่างให้มีลักษณะความเป็นเอกพันธ์ (Homogeneous) กลุ่มตัวอย่างในช่วงที่ 1 ปี 2545-2546 เป็นผู้ประกอบการจำนวน 129 คน ช่วงที่ 2 ปี 2550 จำนวนทั้งสิ้น 165 คน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจสปา จำนวน 52 คน กลุ่มนักศึกษา MBA ที่เรียนวิชาบริหารกลยุทธและความเป็นผู้ประกอบการ จำนวน 56 คน และกลุ่มสมาชิกชุมชนออนไลน์www.okanation.net ที่เข้ามาโหวตคุณลักษณะความสามารถของผู้ประกอบการ จำนวน 53 คนและกลุ่มอื่น จำนวน 4 คน รวมทั้งสิ้น 294 คน
วิธีดำเนินการศึกษา ผู้วิจัยได้แบ่งลักษณะการวิจัยออกเป็น 3 ส่วน เพื่อสามารถดำเนินการได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ในส่วนแรก การศึกษาเพื่อค้นหาองค์ประกอบหรือคุณลักษณะความสามารถของผู้ประกอบการ ได้สร้างแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณ-ลักษณะความสามารถของผู้ประกอบการ ซึ่งประกอบด้วย การสอบถามข้อมูลเบื้องต้นในเรื่อง ประเภทกิจการ จำนวนพนักงาน สินค้าที่ขาย/ให้บริการและยอดขายทั้งปี และรายการประเมินความสามารถของผู้ประกอบการใน 6 ด้านคือ ความสามารถด้านวิสัยทัศน์ธุรกิจความสามารถด้านไฮเปอร์ (High-Performance) ความสามารถด้านการพัฒนาทีมธุรกิจ ความสามารถด้านทักษะการบริหาร ความสามารถ ด้านนวัตกรรม และความสามารถด้านคุณลักษณะแห่งตน (Personal Attributes) มีคำถามทั้งหมด 19 รายการประเมิน เป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ตัวเลือก ได้มีการทดลองใช้ (Try-Out) กับผู้ประกอบการ ที่เข้าอบรมในหลักสูตรด้านการพัฒนากลยุทธธุรกิจ SMEs จัดโดยสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวน 20 คน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีค่าความเชื่อถือได้ ( ) ของแบบสอบถามเท่ากับ 0.923
ในส่วนที่สอง การสังเคราะห์ดีเอ็นเอ โมเดลสู่ความสำเร็จของธุรกิจครอบครัวไทยจากรุ่นสู่รุ่น ใช้วิธีการวิเคราะห์เมต้าเนื้อหา (Meta-Content Analysis) ซึ่งประกอบด้วยการพิจารณาความสอดคล้องสัมพันธ์ (Relevancy) ในกลุ่มเอกสารแต่ละกลุ่ม และการพิจารณา
ความเป็นเอกฉันท์ (Concurrence) ของการวิเคราะห์เนื้อหาทั้งหมดของเอกสาร หนังสือ บทความ งานวิจัย รวมถึงข้อมูลออนไลน์จากการสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต ฯลฯ เกี่ยวกับธุรกิจครอบครัวที่อยู่ในช่วงปี 1990-ปี2008
ส่วนที่สาม การสังเคราะห์เพื่อนำเสนอต้นแบบธุรกิจครอบครัวไทยในอนาคตที่เป็นองค์ความรู้ในบริบทของสังคมและเศรษฐกิจไทย ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการสังเคราะห์เมต้าเนื้อหาในส่วนที่ 2
ประโยชน์ที่จะได้รับ การวิจัยครั้งเป็นถือเป็นการบุกเบิกในองค์ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจครอบครัวไทย ซึ่งยังไม่มีการศึกษาในลักษณะเช่นนี้มาก่อนซึ่งจะก่อให้เกิด
(1) เข้าใจเกี่ยวกับบริบทและองค์ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของธุรกิจครอบครัวไทยที่จะสามารถนำไปศึกษาต่อยอดพัฒนาองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับบริบทและสังคมไทยมากยิ่งขึ้น
(2) การพัฒนาธุรกิจครอบครัวไทย ด้วยคุณลักษณะความสามารถของผู้ประกอบการ การพัฒนาโมเดลของธุรกิจครอบครัวไทยจากรุ่นสู่รุ่นจะช่วยให้มีรูปแบบที่ชัดเจนสำหรับผู้ที่ประสงค์จะก่อตั้งธุรกิจครอบครัวและการพัฒนาธุรกิจครอบครัวให้เป็นรากฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไปในระยะยาว
(3) การพัฒนาการเรียนการสอนสำหรับวิชาผู้ประกอบการ วิชาการวางแผนกลยุทธสำหรับธุรกิจครอบครัว และวิชานวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบการที่จะสามารถใช้ผลจากการวิจัยไปเป็นตัวตั้งต่อการปรับเนื้อหาหลักสูตรและการสอนให้สอดคล้องกับธุรกิจครอบครัวไทยหรือพัฒนาการเรียนการสอนให้นำไปสู่การปฏิบัติได้
ข้อจำกัดในการวิจัย การพัฒนาโมเดลของธุรกิจครอบครัวไทยจากรุ่นสู่รุ่นเป็นพาราไดม์ที่สังเคราะห์ขึ้น ดังนั้นการนำไปใช้ควรมีการพิจารณาให้สอดคล้องกับบริบท รูปแบบ ขนาดและวัฒนธรรมของธุรกิจครอบครัวนั้นๆ


บทความสรุปผลการวิจัย .... เจาะ DNA ธุรกิจครอบครัวไทย

No comments:

Post a Comment