Friday, February 25, 2011

ใครบ้าง ...ที่ว่าแน่ เรื่องธุรกิจครอบครัวระดับโลก


มักเห็นข่าวในบ้านเรา ชอบบอกว่า "แน่ ๆ ในเรื่องธุรกิจครอบครัว"  เรื่องพวกนี้เราไม่พูดกันแบบเปรี้ยงป้างหรอกครับ...เดี๋ยวได้ม้านหน้าแตก หมอไม่รับเย็บ
หากอยากรู้ว่า สถาบันการศึกษาใดในโลก หรือ องค์กรในโลกใดบ้างที่เก่งและเชี่ยวชาญระดับ "Guru"  หรือ เป็น "กูรูด้านธุรกิจครอบครัว" เชิญติดตามอ่านได้เลยครับ

ชื่อกูรูระดับโลกและสถาบันด้านธุรกิจครอบครัว

 คนแรกมีนามว่า John L. Ward

ถือเป็นบุคคลที่คร่ำหวอดมานาน แต่งหนังสือด้านธุรกิจครอบครัวหลายเล่ม
ปัจจุบัน Ward  เป็น The Wild Group Professor of Family Business at IMD
และ เป็น Clinical Professor of Family Enterprise
Director of the Center for Family Enterprises , Kellogg School of Management

ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านหนังสือ ของ Ward เล่มแรก เป็นเรื่อง "Unconventional WISDOM" เปิดดูครั้งแรก รู้สึกว่าน่าสนใจมากเพราะพูดเกี่ยวกับเรื่องธุรกิจครอบครัวอย่างครบถ้วน จึงซื้อให้เพื่อนที่เรียนปริญญาเอกด้วยกันซึ่งทำวิจัยเกี่ยวกับธุรกิจครอบครัวในธุรกิจร้านค้าทอง และบังเอิญได้มีโอกาสอ่านจนจบเล่ม พอผู้เขียนทำวิจัย "เจาะ ดี เอ็น เอ ธุรกิจครอบครัวไทย" เลยต้องกลับไปหาซื้อมาอ่านอีก

มีอะไรน่าสนใจในแนวคิดของ Ward
-ความหมายของธุรกิจครอบครัวที่ผู้เขียนใช้จากนิยามของ Ward ตั้งแต่เริ่มทำวิจัยจนถึงปี 2553
-ความแตกต่างระหว่างธุรกิจกับธุรกิจครอบครัว
-กรอบแนวคิดของโมเดลธุรกิจครอบครัว  ที่ว่าด่้วย 4 วง (ไม่ใช่ 3 วงซึ่่งเป็นโมเดลเดิมของธุรกิจครอบครัว) อันนำไปสู่การพัฒนา "โมเดลธุรกิจครอบครัวไทยที่เป็น 4-D : Family , Business, Ownership and Entrepreneur ของผู้เขียน
-การสืบทอดธุรกิจครอบครัวใน 3 ระยะ คือ Do , Lead to Do and Let Do
ฯลฯ ในเรื่อง สภาครอบครัว  ธรรมนูญครอบครัว  สำนักงานธุรกิจครอบครัว

Ward ให้คำตอบได้ดีมาก และ เป็นหนึ่งในกูรูระดับโลกด้านธุรกิจครอบครัว

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ

บจก.ดี เอ็น ที คอนซัลแตนทฺ์


โทร 029301133

Sunday, February 20, 2011

แก่นแท้ของความเป็นธุรกิจครอบครัว

ในประเทศใดก็ตามผู้เขียนเห็นว่า หากศึกษาในลึกซึ้งเราจะพบว่าความจำเป็นและความสำคัญของธุรกิจครอบครัวนั้น ถือได้ว่าเป็นแก่นแท้ของรากฐานการพัฒนาธุรกิจเศรษฐกิจ สังคมและประเทศชาติแต่ในเมืองไทยกลับพบว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจครอบ ครัวน้อยมาก (ได้ลองสืบค้นทางอินเตอร์เน็ตปรากฏว่าไม่มีข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ต่อการทำ การวิจัยได้เลย)

ขณะที่ในทางกลับกัน ข้อมูลจากต่างประเทศกลับมีมากกว่าจนถึงขนาดเป็นหลักสูตรในสถาบันการศึกษาและ สถาบันด้านธุรกิจครอบครัวที่มีเครือข่ายใหญ่โต
"ครอบครัว" ในมิติของธุรกิจครอบครัวไทย
ผู้ เขียนร่วมมือกับเพื่อนท่านหนึ่งกำลังทำวิจัยเรื่อง "พาราไดม์สู่ความสำเร็จของธุรกิจครอบครัวไทยจากรุ่นสู่รุ่น" (A Successful Paradigm of Thai Family Business from Generation to Generation) ซึ่งมีโครงการย่อย 2 โครงการด้วยกันคือ โครงการย่อยแรกเป็นการวิจัยเกี่ยวกับโมเดลความสามารถของธุรกิจครอบครัวไทย และโครงการย่อยที่สองเป็นการวิจัยการพัฒนากระบวนทัศน์การสืบทอดธุรกิจครอบ ครัวไทย
ในระหว่างที่ผู้เขียนพิจารณาเกี่ยวกับ องค์ประกอบในโมเดลของธุรกิจครอบครัวคือ ครอบครัว (F: Family)  ธุรกิจ (B: Business) ความเป็นปัจเจกบุคคล(I: Individual) และความเป็นเจ้าของ (O: Ownership)
โดยเฉพาะคำว่า "ครอบครัว" (F) จะนิยามอย่างไรให้ตรงกับธุรกิจครอบครัวไทยให้ได้มากที่สุด
 
เผอิญ เมื่อวันที่ 19 ก.พ.50 ผู้เขียนได้รับเชิญให้ไปบรรยายเรื่อง "AQ: การพิชิตอุปสรรคอย่างอัจฉริยะ" (AQ: Adversity Quotient) เน้นสไตล์ไทยเพื่อให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุขให้กับกลุ่มผู้บริหารและ พนักงานบริษัทในเครือชัยสุวรรณ ที่โรงแรม Royal Ping อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ได้มีโอกาสสนทนาและกลายเป็นสัมภาษณ์คุณยู เจียรยืนยงพงศ์ ประธานกลุ่มบริษัทเครือชัยสุวรรณ
 
ประการแรก  30 ปีของกลุ่มชัยสุวรรณ (Chai Su Wan Group: CSW Group) กลุ่มชัยสุวรรณได้เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2520 โดยคุณยู เจียรยืนยงพงศ์จากการค้าขายอะไหล่สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถกระบะซึ่งได้ เล็งเห็นโอกาสในการดำเนินธุรกิจอื่นๆ จึงขยายออกไปดังนี้
 
(1) กลุ่มธุรกิจอะไหล่รถยนต์ ดำเนินธุรกิจค้าปลีกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์  โดยเน้นที่การขายอะไหล่รถยนต์ของประเทศญี่ปุ่น เช่นโตโยต้า ฮอนด้า มาสด้า นิสสัน อีซูซุ มิตซูบิชิ ฯลฯ และในปี 2529 ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายอะไหล่แท้ยี่ห้อโตโยต้าอย่างเป็นทางการ (Authorized Part Dealer) ที่มีอยู่ในประเทศเพียง 6 รายเท่านั้น
 
ในปี 2537 จัดตั้งบริษัทนำเข้าอะไหล่รถยนต์นำเข้าจากประเทศจีนเป็นอะไหล่ที่มีเหล็ก เป็นส่วนประกอบหลัก เช่น กะทะล้อ รถบรรทุกสำหรับยางชนิดใช้ยางในและไม่ใช้ยางใน  ยางรถบรรทุก ฯลฯ
 
ในปี 2547 จัดตั้งบริษัทใหม่อีกหนึ่งบริษัทดำเนินธุรกิจค้าปลีกอะไหล่รถยนต์ (เน้นรถแท๊กซี่)
 
(2) กลุ่มธุรกิจค้าส่ง-ปลีกอะไหล่รถยนต์  ก่อตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาในปี 2533 เพื่อดำเนินธุรกิจค้าส่ง-ปลีกอะไหล่รถยนต์สินค้าประเภทบอร์ดี้พาร์ท
 
(3) กลุ่มธุรกิจการขนส่งปูนซีเมนต์ผงและเถ้าลอย  โดยเริ่มแรกปี 2527 ขนส่งให้กับ บมจ.ปูนซีเมนต์นครหลวง ในปี 2542 ขยายสายการบริการขนส่งเถ้าลอยให้กับ กฟผ.  ปี 2547 เพิ่มสายการขนส่งสารเคมี โดยได้ผ่านการรับรอง ISO9000:2001 และคาดว่าในปี 2550 จะได้รับรอง QHSAS 18001
 
ประการที่สอง  แก่นแท้ของคำว่า "ครอบครัว"
 
โดยทั่ว ไปแล้วคำว่า "ครอบครัว" (F: Family) ในองค์ประกอบของโมเดลธุรกิจครอบครัว  จะเป็นการพัฒนาโครงสร้างและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว ได้แก่ การสมรส การเป็นพ่อแม่ผู้ปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างทายาท ลูกเขย ลูกสะใภ้ แบบแผนการสื่อสารและบทบาทของครอบครัว  ซึ่งทำให้สามารถกำหนดรูปแบบครอบครัวตามช่วงอายุได้ 4 ระดับคือ 1.ครอบครัวหนุ่มสาว  2.ครอบครัวเข้าสู่ธุรกิจ  3.ครอบครัวทำงานร่วมกัน และ 4.ส่งมอบธุรกิจให้กับรุ่นต่อไป
 
จากการสัมภาษณ์คุณยู เจียรยืนยงพงศ์ ประธานกลุ่มชัยสุวรรณใน 2-3 ประเด็นหลักๆ คือ
(1) ความสำเร็จของกลุ่มชัยสุวรรณนั้นอยู่ที่ปัจจัยอะไร
"การ วางแผนธุรกิจ เป็นสิ่งที่ผมคิดว่าสำคัญเพราะ จะทำธุรกิจอะไรจำเป็นต้องคิดให้รอบคอบ  อาทิ เมื่อผมจะเข้ามาทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สร้างโรงแรม Royal Ping Garden & Resort ที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
ผมให้น้องชายได้เข้ามาช่วย ด้านธุรกิจค้าปลีกอะไหล่รถยนต์  มีลูกๆ เข้ามาช่วยทำงานในบริษัท  ผมจะได้ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้เต็มที่โรงแรม Royal Pingฯ นี้อยู่ในทำเลที่ดีมาก เพราะจากตัวเมืองเชียงใหม่ไป อ.เชียงดาวเพียง 70 กม. ผ่าน อ.ชัยปราการ อ.ฝาง สามารถเข้า จ.เชียงราย  ซึ่งระหว่างทางไม่มีโรงแรมระดับนี้เลยทำให้ทั้งไป-กลับต้องพักทานอาหารกลาง วันที่นี่ และที่นี่ยังสามารถจัดสัมมนา มีแคมป์ไฟ ล่องแพ ชมน้ำตกเจ็ดสี"
สิ่ง สำคัญต่อมา  ผมทำธุรกิจอะไรผมจะต้องรู้จริงได้ลงมือทำตั้งแต่ต้น ดังนั้นการศึกษาอย่างเข้าใจ การลงมือทำทุกขั้นตอนจะทำให้ผมเข้าใจวิธีการดำเนินธุรกิจและสามารถพัฒนา ธุรกิจให้ขยายเติบโตได้
"ความสำเร็จที่ชัดเจนคือ เราเป็นเพียง 1 ใน 6 รายที่ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายอะไหล่แท้ยี่ห้อโตโยต้าอย่างเป็นทางการ (Authorized Part Dealer) ของบริษัทโตโยต้า (ประเทศไทย) จำกัด (ไม่นับรวม Part Dealer ที่เป็น Car Dealer)
(2) ความเป็นครอบครัว  สิ่งนี้ผู้เขียนได้ข้อมูลเชิงประจักษ์โดยตรงในงานครบรอบ  30 ปี กลุ่มชัยสุวรรณและพิธีมอบรางวัลสำหรับพนักงานที่ทำงานมานาน
- พนักงานทุกคนที่อยู่มาตั้งแต่เริ่มตั้งบริษัท มีความรักคุณยูเปรียบดัง "พ่อ" หรือผู้ที่มีพระคุณโดยมิอาจลืมเลือนไปได้
-พนักงาน บางคนร้องไห้หรือก้มลงกราบแทบเท้าของบุคคลอันเป็นที่รักยิ่งด้วยสำนึกในการ มีชีวิต ประกอบอาชีพและอยู่เป็นตัวตนได้ก็เพราะบริษัทฯ
ด้วยการดูแล และวิธีการบริหารคนอย่างยอดเยี่ยม  ทำให้พนักงานรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวชัยสุวรรณ  บริษัทเปรียบดังบ้านหลังที่สองที่เขาเหล่านี้จะไม่จากลาไปไหน และสิ่งนี้ทำให้พนักงานรุ่นใหม่ๆ "มีความรู้สึกว่าเขาได้เข้ามาลงทุนชีวิตให้กับบริษัทฯ นี้และเป็นการลงทุนที่ถูกต้องที่สุด"
ประการสุดท้าย  ครอบครัวนั้นมีได้อย่างน้อย 3 มิติ
ผู้ เขียนสังเคราะห์ได้ว่า ความเป็นครอบครัวนั้นจริงๆ ถ้าพิจารณาตามทฤษฎีจะเป็นมิติตามที่อธิบายไว้คือ  บุคคลในครอบครัวและที่เกี่ยวข้อง (พี่น้อง เขย สะใภ้ ลูก หลาน ฯลฯ) แต่ในมิติที่ 2 นี้คือ  พนักงานได้ร่วมลงทุนชีวิตจนมีความเป็นครอบครัวเกิดขึ้นกับธุรกิจครอบครัว  ส่วนมิติที่ 3 คือ ผู้ร่วมค้า รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวในธุรกิจครอบครัว (ซึ่งผู้เขียนจะได้อธิบายในโอกาสต่อไป)
สิ่งนี้คือ แก่นแท้ที่พบของความเป็นธุรกิจครอบครัวครับ!


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ

บจก.ดี เอ็น ที คอนซัลแตนทฺ์


โทร 029301133

Friday, February 18, 2011

ผู้สืบทอดธุรกิจครอบครัวหญิง

มีคำถามของ นศ. คณะพาณิชย์ฯ มธ.  ทางอีเมล์สอบถามเกี่ยวกับ "การสืบทอดธุรกิจครอบครัวโดยผู้หญิง" ดังนี้............ 

เรียน ดร.ดนัย เทียนพุฒ

เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ปรึกษาเกี่ยวกับงานวิจัย

       ดิฉันเป็ํนนักศึกษาชั้นปีที่สาม คณะำพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดิฉันและเพื่อนกำลังหาหัวข้อเพื
่อทำงานวิจัย และมีความสนใจเกี่ยวกับธุรกิจครอบครัว ประเด็น
ของผู้สืบทอดธุรกิจหญิง และจากการศึกษาวรรณกรรมปริทั
ศอย่างคร่าวๆพบว่าในหัวข้อนี้มีประเด็น
ที่น่าสนใจเรื่องปัญหาจากการที่
ผู้หญิงมักจะออกจากงานที่ทำเพื่อมารับผิดชอบในบทบาทครอบครัว
เช่น เมื่อมีลูก
      ดิฉันจึงขอความอนุเคราะห์
อาจารย์ช่วยแนะนำเกี่ยวกับแง่มุมและแนวทางในการวิจัยที่เกี่ยวข้อง
กับหัวข้อที่ดิฉันและเพื่
อนสนใจด้วยค่ะ
ด้วยความเคารพอย่างสูง
น.ส.พุทธชาด  วีระอาชากุล
                                                              

คำตอบ 

ความเห็นผม ในเรื่องนี้ คิดว่าเป็นประเด็นน่าสนใจเพราะในเมืองไทยเกี่ยวกับธุรกิจครอบครัวมีการศึกษายังไม่มากยิ่งเป็นเรื่อง "การสืบทอดธุรกิจครอบครัว (Succeeding Generations)" ด้วยแล้ว และโดยเฉพาะที่ นศ.พุทธชาดกับเพื่อน ๆ สนใจ "ผู้สืบทอดธุรกิจครอบครัวหญิง"

ในการวิจัย ผมเห็นว่าประเด็นหลักในเรื่องนี้ มีหลายปัจจัยที่น่าศึกษา
1. การที่ผู้หญิงจะขึ้นมาเป็นผู้นำตระกูล ได้หรือไม่ เป็นเพราะอาจจะมีปัญหาในเรื่อง  "Glass ceiling" (เพดานกระจก-ใส ๆ มองไม่เห็น แต่กีดกันไม่ให้ผู้หญิงก้าวสู่ตำแหน่งบริหารในองค์กร) ในการที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารสูงสุดของครอบครัว และในสภาพแวดล้อมแบบเอเซีย ซึ่งน่าศึกษา
   แต่ก็มีตัวอย่าง ที่เด่นๆ ของไทยซึ่งไม่ใช่ เช่น 
   กรณีคุณหญิง ชนัตถ์ ปิยะอุย ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการกลุ่มโรงแรมดุสิตธานี
2. ผมเห็นว่า " ผู้หญิงมักจะออกจากงานที่ทำเพื่อมารับผิดชอบในบทบาทครอบครัว
เช่น เมื่อมีลูก..." อาจไม่ใช่เหตุผล 100 % เพราะ
    1) วัฒนธรรมแบบเอเซีย ที่ให้ "ผู้หญิงต้องอยู่กับเย้าเฝ้าเรือน" ดังนั้น การเริ่มธุรกิจครอบครัว หากผู้ชายเริ่มก่อตั้งและดำเนินธุรกิจมา ผู้หญิงจึงไม่ได้เป็นผู้สืบทอด
    2) หากเริ่มธุรกิจครอบครัวมาด้วยกัน และผู้หญิงมีลูกก็คงต้องพักไปดูแลลูก พอระยะหนึ่งก็กลับมาทำงานอีก
   เช่น  อย่างกรณีของ ต้นตระกูลจิราธิวัฒน์ คือ คุณเตียง-หวาน เริ่มเปิดร้านขายของชื่อ"เข่งเส่งหลี" (ไหหลำ สัมฤทธิ์ผล) โดยชั้นล่างขายสินค้าเบ็ดเตล็ด กาแฟและอาหารตามสั่งเล็ก ๆน้อยๆ  ชั้นบนคุณหวานรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า แต่คุณหวานมาเสียชีวิตก่อนในช่วงสงครามโลก (จึงไม่ได้ดูแลธุรกิจ)  คุณสัมฤทธิ์ จึงช่วยพ่อ(คุณเตียง) ค้าขายต่อมา  และหลังจากนั้น ต่อมาได้เปิดร้านขายหนังสือชื่อ "ห้างเซ็นทรัลเทรดดิ้ง"  
  
3. ยังมีประเด็นที่น่าสนใจ ของการสืบทอดธุรกิจ ระหว่าง รุ่นที่ 1   (ผู้ก่อตั้ง) ไปยัง รุ่นที่ 2  มีโอกาสไหมหาก พี่-น้อง รุ่นเดียวกับผู้ก่อตั้งเป็นหญิง และได้สืบทอดธุรกิจ ซึ่งทางทฤษฎีเรียกว่า  "Sibling Partnership" มีลักษณะการสืบทอดแบบ Evolutionary succession น่าจะเป็นโอกาสที่ผู้หญิงสามารถมาเป็นผู้นำธุรกิจครอบครัวได้
แต่หาก สืบสอดระหว่าง รุ่นที่ 1 ไปยังรุ่นที่ 2 ซึ่งเรียกว่า "Controlling owner" ในลักษณะ  Recycle succession  โอกาสที่เป็นผู้หญิงจะยาก เพราะส่วนใหญ่จะให้ลูกคนโต หรือ ลุกผู้ชาย 

ลองอ่านงานศึกษาจากต่างประเทศน่าจะได้ข้อคิดในการวิจัยเพิ่มขึ้นครับ

Tuesday, February 15, 2011

ประวัติต้นตระกูลล่ำซำ-ดร.ดนัย เทียนพุฒ


 เรื่องราวของตระกูลที่น่าสนใจศึกษาอีกตระกูลหนึ่ง ที่ในยุคปัจจุบันเราคงได้ยินชื่อ บัณฑูร ล่ำซำ  แม่ทัพใหญ่ของ ธนาคารกสิกรไทย แต่ถ้าหากมองย้อนกลับไป คุณบัญชา ล่ำซำ เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญคนหนึ่งของตระกูลล่ำซำ และการกำหนดวิถีทางและอนาคตของครอบครัวและธุรกิจธนาคารไว้อย่างน่าคิดถึงอัจฉริยภาพของท่าน

 ผมได้หยิบหนังสือ "บัญชา ล่ำซำ ประวัติและผลงาน" ที่ระลึกเนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพของคุณบัญชา วันที่ 22 สิงหาคม 2535  มาอ่าน และพอดีกับธุรกิจในบ้านเราสนใจเกี่ยวกับธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จ เลยถือโอกาสนำประวัติ "ต้นตระกูลล่ำซำ" ที่เป็นบันทึกของคุณบัญชา มาเผยแพร่ให้ปรากฎเป็นเกียรติและได้ศึกษากันอย่างกว้างขวาง




ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID : thailand081





Monday, February 14, 2011

เซ็นทรัลลาดพร้าว ปิดปรับปรุง 14 ก.พ.54-ภาพโดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ



                     
ภาพเหล่านี้บอกเตือนความจำถึงการที่ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว กำลังจะปิดปรับปรุงในวันที่ 14 ก.พ.54 เวลา .21.00 น(บางข่าวบอก 5 ทุ่ม /เทียงคืน ) ถือเป็นงานกระหน่ำลดราคาอีกงานที่คนมาก รถติดมากตลอดช่วงเวลาดังกล่าว
คนแน่นมาก ๆ ทุกชั้นทุกมุม หาทางเดินแทบไม่ได้ ...แต่ผมก็ไม่ได้ซื้ออะไร เพราะเห็นทุกวัน ลดบ้างมากน้อยแต่่ละโอกาส งานปิดปรับปรุงคราวนี้ ก็เช่นกันไม่ได้จูงใจให้(เฉพาะผม)ได้ซื้อมากนัก เพราะมา แทบทุกวันและนับ 10 ปี ได้เพราะอยู่แถวนี้เอง
ที่ลดสะใจและเห็นหิ้วกันจริง ๆ เป็นบรรดาเครื่องเสียง ทีวี อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ ครับ






เป็นงานที่ให้ความทรงจำได้ดี ว่า "ทุกสิ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลง"  เพราะ "มีคุณถึงมีเรา"

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ

บจก.ดี เอ็น ที คอนซัลแตนทฺ์


โทร 029301133

Sunday, February 13, 2011

A Model of Thai Entrepreneurs DNA : โมเดลคุณลักษณะความสามารถของผู้ประกอบการไทย

คำถามที่น่าสนใจคือ อะไรเป็น ดีเอ็นเอ(DNA) ของผู้ประกอบการไทย ธุรกิจครอบครัวไทย และ ธุรกิจSMEs สิ่งเหล่านี้เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบเป็นอย่างยิ่ง 



เพราะเมื่อผู้ประกอบการ ธุรกิจครอบครัว  ธุรกิจ SMEs  ในประเทศไทยคิดจะทำธุรกิจส่วนตัวหรือ ก่อตั้งธุรกิจขึ้นมาให้ประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนยาวนานนั้น ควรจะมีคุณลักษณะความสามารถแบบใด
หรืออะไรที่เรียกว่า "ดีเอ็นเอแห่งความสำเร็จ" (ในทางกลยุทธอาจเรียกว่า Core Competency-ความสามารถหลัก)

ผู้เขียนสนใจในเรื่องดังกล่าวเพราะคลุกคลี สอนและเป็นที่ปรึกษา  ให้กับธุรกิจเหล่านี้เป็นจำนวนมาก    จนกระทั่งคิดว่าควรจะทำการศึกษาให้เป็นเรื่องเป็นราวสักที จึงได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะและความสามารถของผู้ประกอบการไทย ตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปี 2550 กับ
 1.กลุ่มผู้ประกอบการที่เข้าอบรมด้านการพัฒนากลยุทธธุรกิจ SMEs ของ สสว.
 2. กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจสปา ที่เข้าอบรมของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
 3.กลุ่ม นศ. MBA ที่เรียนวิชาการบริหารกลยุทธ และความเป็นผู้ประกอบการ
 4.กลุ่มอื่น ๆ ทางชุมชนออนไลน์ www.oknation.net
 รวมทั้งสิ้น 294 คน

โดยพัฒนากรอบคุณลักษณะความสามารถของผู้ประกอบการไทย จาก
- คู่มือผู้ประกอบการ(2529) โครงการปริญญาโท คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มธ.
- แบบสำรวจความเป็นผู้ประกอบการของ  Ross,L.E &   Unwalla,D.(1986)
-คุณลักษณะขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ Collins & Porras ( 1994)
-ความสามารถของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ (McClelland et al,1961)
 และปรัชญาการบริหารของสัมฤทธฺ์ จิราธิวัฒน์ (ดนัย เทียนพุฒ , 2537 45ปี ธุรกิจเซ็นทรัลกรุ๊ป ใน แฟ้มนักบริหาร)
สรุปเบื้องต้นว่า มีความสามารถหลัก (Core Competencies) 6 คุณลักษณะความสามารถของผู้ประกอบการไทย คือ 1)วิสัยทัศน์ธุรกิจ (Corporate Vision) 2) ไฮเปอร์ฟอร์แมนซ์ (High performance) 3) พัฒนาทีม
ธุรกิจ (Team Building) 4)ทักษะการบริหาร(Managerial Skills) 5) นวัตกรรม(Innovation) 6) คุณลักษณะแห่ง ตน (Personal Attributes) แล้วนำไปสร้างแบบสำรวจฯ ซึ่งมีค่าความเชื่อถือได้ เท่ากับ 0.923 (รายละเอียดศึกษาได้จาก หนังสือ เจาะ DNA ธุรกิจครอบครัวไทย, 2552)

ผลการศึกษา ได้ "โมเดลคุณลักษณะความสามารถของผู้ประกอบการไทย  ดังรูปข้างต้นมีความสามารถหลัก 6 ด้านคือ
1.วิสัยทัศน์ธุรกิจ  รายการควาสามารถมี ภาวะผู้นำ คิดการณ์ไกล และกล้าเสี่่ยง
 2.ไฮเปอร์ฟอร์แมนซ์ รายการความสามารถคือ สนองตอบในทันที มุ่งผลสำเร็จ และกระหายต่อการดำเนินธุรกิจ
3.พัฒนาทีมธุรกิจ รายการความสามารถคือ การเรียนรู้ด้วยตนเองในมิติที่กว้าง สร้างทีมงาน และแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
4.ทักษะการบริหาร รายการความสามารถมี ทักษะในการจัดการคน ความเก่งด้านจัดองค์กร และมีวิธีการทางการเงินและการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ
5.นวัตกรรม รายการความสามารถมี ความคิดริเริ่ม ความยืดหยุ่น และการปรับปรุงวิธีการทำงานใหม่
6.คุณลักษณะแห่งตน รายการความสามารถมี มองโลกในแง่ดี และเชื่อมั่นในตนเอง

ทั้งหมดนี้บอกได้ว่า เป็นจุดเริ่มต้นคืบคลานเข้าสู่การพัฒนา "โมเดลดีเอ็นเอ(DNA)ของธุรกิจครอบครัวไทยที่ยั่งยืน"



ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID : thailand081
                                                               

ทำไมประเทศไทยจึงพัฒนาธุรกิจครอบครัวช้า


เรามักได้ยินกันว่า ทีนั่นที่นี่ เป็นสุดยอดหรือเชี่ยวชาญเกี่ยวกับธุรกิจครอบครัว โดยเฉพาะในประเทศไทยยิ่งไม่ต้องแปลกใจเพราะเพิ่งจะมีการศึกษากันอย่างจริงจังประมาณ 5 ปี (บวก-ลบ) แม้ว่าก่อนหน้านั้นมีการพูดมาเป็น ทศวรรษแต่ไม่ค่อยได้รับความสนใจ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะ

ประการแรก  ธุรกิจและนักวิชาการมักจะพูดเปรียบเทียบระหว่าง "ความเป็นมืออาชีพ" กับ"ความเป็นครอบครัว" และเราจะพบว่า ธุรกิจไทยแต่เดิมพยายามที่จะบอกว่าตนเองเป็นมืออาชีพมากกว่าเป็น "ธุรกิจครอบครัว" หรือไม่ก็จะบอกว่า "ถึงเป็นธุรกิจครอบครัวแต่บริหารแบบมืออาชีพ" อาจจะเป็นเพราะกลัวจะหาว่ามีการบริหารแบบไม่มีระบบ เป็นประสบการณ์ของรุ่นก่อตั้ง ไม่อยากบอกใครว่าเป็นธุรกิจครอบครัว(ผิดกับในปัจจุบันที่บอกได้เต็มปากกว่า) ทำให้การศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจครอบครัวมีน้อยหรือแทบไม่สนใจกัน เลยไม่มีข้อมูลและไม่รู้ว่าจะไปศึกษาตัวอย่างจากที่ไหน


ประการต่อมา  เราจะพบว่า ธุรกิจครอบครัวไทย ในแต่ละตระกูลที่รู้จักกันนั้น ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเปิดเผยหรือให้ข้อมูลต่อสาธารณะมากนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการแสดงความร่ำรวยอาจมีผลตามมาหลายอย่าง  ตั้งแต่การขอความอนุเคราะห์  การบริจาค หรือ การเป็นที่เขม่นของภาครัฐ หรืออาจถูกตรวจสอบจากทางการ ฯลฯ
   รวมถึงการเปิดเผยเคล็ดลับความสำเร็จหรือ วิธีการทำธุรกิจ อาจเป็นผลเสียต่อกิจการในแง่ที่ว่าทำให้คู่แข่งรู้และเข้าใจธุรกิจได้้ และยิ่งไปกว่านั้น ธุรกิจครอบครัวใหญ่ ๆ ในอดีตต้องแอบอิงทางการเมืองเพื่อการเข้าถึง "ได้สิทธิ" และ "สัมปทานของภาครัฐ"  การดำเนินธุรกิจแบบเงียบ ๆ จึงปลอดภัยและไม่ตกเป็นเป้าสายตายของกลุ่มที่จะมาแย่งชิงผลประโยชน์ในทุกมิติ

 ประการที่สาม หากพิจารณาสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะหลักสูตร MBA ที่เปิดสอนด้านนี้ มักเป็น วิชา"ความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)" มากกว่าที่เป็นวิชาว่าด้วย "ธุรกิจครอบครัว (Family Business)" ในระยะหลังหรือปัจจุบันได้มีความพยายามเปิดเป็นหลักสูตรธุรกิจครอบครัวโดยเฉพาะ ซึ่งถือว่าเป็นความท้าทายที่เดินมาช้าอย่างยิ่งแต่ดีกว่าไม่มา ผู้เขียนเอง ศึกษาด้านนี้มานาน คิดว่ามีความจำเป็นจึงได้ใส่องค์ความรู้เรื่องธุรกิจครอบครัวในวิชา ความเป็นผู้ประกอบการมา 4-5 ปีแล้วในหลักสูตร MBA ที่สอน ก่อนหน้านั้นได้พูดในโอกาสที่บรรยายเกี่ยวกับธุรกิจ SMEs

 ประการสุดท้าย ในปี' 39 เกิดภาวะการล่มสลายทางเศรฐษกิจของประเทศไทย  และส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจตระกูลใหญ่ หรือ อาจเรียกว่า ธุรกิจครอบครัวไทย ได้สูญเสียกิจการ และฐานที่มั่นทางธุรกิจให้ตกไปอยู่ในมือต่างชาติ หรือ ล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้พบความจริงว่า
    1) ธุรกิจครอบครัวเหล่านี้ จำเป็นต้องปรับการบริหารกิจการและใช้โนว์-อาว์ สมัยใหม่มากขึ้นจึงจะแข่งขันและสามารถกลับมาหงาดอย่างยิ่งใหญ่ได้อีก
    2) การไม่เตรียมการในเรื่องการสืบทอดธุรกิจ หลังผู้นำตระกูล หรือ หัวเรือใหญ่ของครอบครัวต้องตาย หรือวางมือไปกิจการครอบครัวหลังจากนั้นไม่สามารถยืนหยัดอยู่ได้
    ความจำเป็นที่ต้องการสืบสานธุรกิจครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่น (Generation to Generation) จึงมีความสำคัญและเป็นสิ่งที่ธุรกิจครอบครัวไทยต้องดำเนินการและไม่สามารถรอได้อีกต่อไป
ทำให้ ยุคปัจจุบันจึงมีผู้สนใจเกี่ยวกับธุรกิจครอบครัว ทั้งธุรกิจครอบครัวเอง นักวิขาการ ที่ปรึกษาธุรกิจ รวมถึงองค์กรภาครัฐ ต่างให้ความสนใจ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับธุรกิจครอบครัว และประเทศชาติ


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
กรรมการผู้จัดการ

บจก.ดี เอ็น ที คอนซัลแตนทฺ์


โทร 029301133

Friday, February 11, 2011

ธุรกิจครอบครัว : Family Business


หลังจากที่ ดร.ดนัย เทียนพุฒ ได้ นำข้อเขียน VDO Blog ในเรื่อง ธุรกิจครอบครัว (Family Business) ตัวอย่างเกี่ยวกับธุรกิจครอบครัวไทย ( Thai Family Business) และ โมเดลต่าง ๆ ของ Family Business หรือ แม้กระทั่ง Succession Model ทำให้มีผู้สนใจจำนวนมาก
ดังนั้นจึงได้จัดทำ สารบัญรวม ของ Family Businesses แต่ละส่วนขึ้นมาเพื่อให้ง่ายแก่การค้นหามากยิ่งขึ้น
เรื่องแรก : จุดกำเนิดธุรกิจครอบครัวไทย
เรื่องที่ 2 : Thai Family Business
เรื่องที่ 3 : ธุรกิจครอบครัวฮีโร่ตัวจริงของประเทศ
เรื่องที่ 4 : แก่นแท้ของความเป็นธุรกิจครอบครัว


วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  
email: drdanait@gmail.com

Tuesday, February 8, 2011

นักการตลาดของ CPN- เซ็นทรัลพัฒนา

กบฎ เลือดบ้า Passion มีรสนิยม สร้างสรรค์ เก่งในการปรับตัวและวิธีคิด มีสามัญสำนึก เก่งแถมหล่อด้วยสวยด้วยก็เลิศ เป็นนักเล่าเรื่อง

และนี่คือสเปคที่นักการตลาดขั้นเทพอย่าง ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ได้กำหนดไว้หรือ storytellerg  ฯลฯคือคุณสมบัติของนักการตลาดในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงเร็วเหนือแสง
แม้จะยิ่งใหญ่แต่หากทำตัวเชื่องช้า งุ่มง่ามก็อาจลงเอยเหมือนกับ 'ไดโนเสาร์' สัตว์ดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธุ์ไปนานแล้ว ในวันนี้นักการตลาดที่เยี่ยมยุทธ์ จำเป็นต้องกลายร่างเป็น 'แมลงสาบ' สัตว์ยุคเดียวกันแต่สามารถอยู่ทน อยู่นาน ขยายพันธ์จากรุ่นสู่รุ่น
 " นักการตลาดต้องพร้อมที่จะเปลี่ยน ไม่ยึดติดกรอบความคิดหรือโมเดลความสำเร็จแบบเดิมๆ อยู่ตลอดเวลา เพราะมันมีหลายองค์ประกอบที่ส่งกระทบต่อวิธีทำการตลาด ไม่ว่าปัญหาการเมือง ค่าเงิน เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม มันเดาไม่ได้เลยว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าแฟนที่คบกันมาอีก 5 ปีข้างหน้าเขายังจะรักเราอยู่"
 จึงไม่ใช่เป็นเพียงคำขู่ แต่เป็นเรื่องจริงที่ว่าถ้าใครไม่พร้อมจะเปลี่ยนก็ต้องตายในที่สุด และอาจอกหักรักคุดขนาดตุ๊ดก็ยังเมิน
ที่สำคัญคุณสมบัติดังว่าข้างต้น ดร.ณัฐกิตติ์นั้นมีอยู่ 'เพียบ' เหตุผลก็คือ ในฐานะ 'ผู้นำ' หน้าที่ของเขาคือ แมวมอง และสร้างนักการตลาดดาวเด่นมือดีให้กับองค์กร
"ผมจะเข้าไปคัดเลือกและพิจารณาเป็นพิเศษในตำแหน่งผู้จัดการขึ้นไป มีผิดมีถูกนะ แต่ทำงานมาถึงขั้นนี้คิดว่า 70 เปอร์เซ็นต์ที่มองถูก ก็ดูจากหลายๆ อย่างว่าตรงกับความต้องการของเราหรือเปล่า เช่น จากประวัติการศึกษา การพรีเซนต์งานของเขา บางทีมันก็พิสูจน์ได้ง่ายเช่น ถ้าคนที่ไม่ชอบไอโฟน เล่นไอแพด หรือบีบีหาใคร ชอบทำตัวเรียบง่ายไม่ใคร่ชอบสอดรู้สอดอย่างนี้เห็นจะไม่เหมาะแน่ ๆ"
 เขาบอกว่า เหมือนการคุยโวโตเกินจริงหากจะพูดว่า มีเซนส์เรื่องคน 'สูง' มาก ทั้งนี้เป็นเพราะชีวิตที่ผ่านมานั้นเขาได้รับการโปรโมทสู่ตำแหน่งผู้บริหารที่มีขั้นสูงขึ้นๆ อย่างต่อเนื่อง
 บทเรียนที่ได้เรียนรู้ และประสบการณ์ที่ผ่านมา จวบจนวันนี้ทุกอย่างก็ 'ตกผลึก' ในมุมคิดของ ดร.ณัฐกิตติ์ นั้นความสำเร็จเกิดจาก
การเปิดกว้างของผู้นำ
ที่หมายถึงผู้นำเปิดช่องให้ลูกน้องได้แสดงความคิดเห็น สามารถวิพากษ์วิจารณ์หัวหน้าด้วยเหตุด้วยผล แน่นอนที่ตัวเขานั้นเปิดถ่างกว้างรอบทิศ ( 360 องศา)
"คุณกอบชัย (จิราธิวัฒน์) ก็ปล่อยนะ คือเปิดโอกาสในระดับหนึ่ง ไม่ Top-Down เพราะการจะเป็นองค์กรอินโนเวทีฟ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเปิดอิสระทางความคิดและการทำงานให้กับลูกน้อง และหลายปีที่ผ่านมา CPN ก็ได้รางวัลอินโนเวชั่นเยอะมาก"
และเรื่องของการเปิดโอกาส ให้ลูกน้องแสดงได้แสดงฝีมิอ อีกนัยหนึ่งก็เป็นเหมือนการ 'เสี่ยงดวง'
 " เราต้องดูแววลูกน้อง หากเขามั่นใจว่าทำได้ และเราก็เชื่อมั่นว่าเขาทำได้ เราก็ต้องปล่อย เรื่องนี้มันว่ากันด้วย กึ๋น เซ่งจี๊ แน่นอนว่ามันเสี่ยงซึ่งไม่ใช่เสี๊ยงเสี่ยง (เสียงสูง) ก็ต้องเสี่ยงไม่เช่นนั้นบริษัทก็โตไม่ได้เพราะคนจะไม่กล้าคิดหรือกล้าทำอะไร"
การสร้างให้เกิดความเชื่อ ในเรื่องการทำงานเป็นทีม
"ต้องยอมรับว่าคนไทยนั้นชอบเล่นบทคนเดียว วิ่งเปรี้ยวเป็นทีมไม่เป็น เราต้องพยายามสร้าง Framework นำไปสู่การทำงานร่วมกันเป็นทีมว่าต้องทำอย่างไร และภายในทีมก็ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่สุดยอดทั้งหมด คนเก่งอยู่ร่วมกันไม่ดี ต้องวาไรตี้ คนที่หลากหลายเท่านั้นถึงจะเป็นทีมเวิร์คที่ดีได้"
เขาบอกว่าปัจจุบันทีมการตลาดควรมีสัดส่วนระหว่างคนเก่าและคนใหม่เท่าๆ กัน คือ 50: 50 จากเดิมที่เป็น 70:30
 " เพราะเรา need อะไรที่แปลกใหม่มากขึ้น เวลาเปิดศูนย์การค้าสาขาใหม่ๆ เราต้องการวิธีการทำตลาดที่ไม่เหมือนเดิม เพราะโจทย์ของแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน ต้องอาศัยการแชร์ข้อมูลของคนเก่ากับคนใหม่ ขณะที่คนเก่าก็ได้เรียนรู้แนวคิดที่แปลกไปของคนใหม่ ส่วนคนใหม่ก็จะได้ความรู้จากคนเก่าอะไรที่ควรทำไม่ควรทำ"
 การสร้างไกด์ไลน์ในการทำงาน
"เราต้องมีบุ๊คไบเบิล เป็นกระบวนขั้นตอนการทำงาน เช่น งานอีเวนท์ จะต้องทำเรื่องอะไรบ้าง จัดเพื่อตอบวัตถุประสงค์อะไร ต้องคิดแผนงานอย่างไร ดูลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอย่างไร นับเนื่องไปจนถึงการวัดผลว่าจะวัดอย่างไร"
รวมถึงจะมีการบ่งชี้ถึง Competency ของนักการตลาดของ CPN ที่พึงมีด้วย ซึ่งเบสิคนั้นมีอยู่ 5 ข้อ
คือ 1. สร้างสรรค์ (Innoration) 2. เชื่อมั่น ( integrity and trustworthy) 3.เป็นเลิศ (passion for Excellence) 4. ร่วมกัน (Team Synergy) และ 5.ใส่ใจมุ่งเน้นลูกค้า (Customer Focus)
และ การเป็นองค์กรแห่งความสุข หรือ Happy Workplace
 "คนไทยยังติดเรื่องความเป็นครอบครัว ในฐานะหัวหน้าเราก็ต้องพยายามตัวใกล้ชิดกับลูกน้อง ถามไถ่เรื่องส่วนตัวบ้าง ทำเรื่องเครียดให้เป็นเรื่องตลก สนุก "
 ทำไมต้องสนุก?
ดร.ณัฐกิตติ์ บอกว่าเพราะเซ็นทรัลหวังจะเป็นศูนย์การค้าที่สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับลูกค้า หากพนักงานไม่เอ็นจอยกับงาน ก็คงแค่จัด อีเวนท์ให้โป๊งๆ ชึ่งผ่านๆ ไปเท่านั้น
"ขณะที่เราคาดหวังอีเวนท์ที่เลอเลิศ บ้า ประหลาด เป็นที่โจษจัน "
เช่นนี้เอง บูมเมอแรงพอขว้างไปมันก็ย้อนกลับมาที่ตัวผู้นำเหมือนเดิม
" วัฒนธรรมมันขึ้นอยู่กับตัวผู้บริหารที่จะต้องทำ และแสดงให้ลูกน้องเห็นเป็นตัวอย่าง ว่าเจ้านาย บ้าจริง เราต้องบ้าให้เขาเห็นก่อน "
สำหรับดร.ณัฐกิตติ์แล้วกระทั่งยังเคยแสดงถึงมิติอินโนเวทีฟของตัวเอง ด้วยบทบาทของนักแสดงก็ทำมาแล้ว เขาบอกว่าเป็นเจ้านายที่ดีต้องทำได้หลายบท เป็นพระเอกคอยปลอบใจ จะเป็นผู้ร้ายเอาแต่ดุ ..เขาทำมาหมดแล้ว
 เลยยอมรับโดยดีว่าคุณสมบัติเยอะขนาดนี้เลยยังหา Suceessor ไม่ได้
เพราะถ้าจะแทนที่ได้ดาวเด่นคนนั้นต้องครบเครื่องเรื่องโหมด Leadership Competency ซึ่งมีอยู่ 6 ข้อ
 คือ 1. Nuturing talent 2. Entrepreneurial Spirit 3. Relationship Management 4.Strategic Orientation 5.Impacting performance และ 6. Leadership Role Model
ดร.ณัฐกิตติ์ย้ำอีกทีว่า คนจะไต่ขึ้นเป็นผู้นำได้ต้องมีลูกบ้าเยอะ แต่จะบ้าอย่างไรก็ตามต้องพิสูจน์ได้ชัดเรื่อง คุณภาพของงาน ด้วย ซึ่งเขาบอกว่าได้ตั้งมาตรฐานของผลงานไว้ 3 ข้อ ได้แก้ 1 . สำรวจความคิดเห็นว่าลูกค้าชอบแคมเปญการตลาดนี้หรือไม่ 2. ร้านค้าภายในศูนย์ฯ ชอบหรือไม่ และ 3. ประเมินกันเองภายในว่างานนี้ทำได้ดีมีรสนิยม สร้างความตื่นเต้น โชว์ถึงนวัตกรรมหรือไม่
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2554