Monday, November 2, 2009

การจัดการที่ชนะด้วยเวลา(Cycle Time Management) โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ

“เวลา” เป็นสิ่งที่มีค่าและไม่เคยหวนย้อนคืนกลับได้ เป็นความจริงที่เป็น “นิรันดร์”
การเอาชนะในธุรกิจการแข่งขันให้ได้นั้น ผู้บริหารธุรกิจต่างแสวงหาเครื่องมือใหม่ๆ ทางการจัดการแล้วนำเข้ามาใช้อย่างต่อเนื่อง
โดยเครื่องมือใหม่ทางการจัดการ (New Management Tools) นั้นต้อง
-เป็นกลยุทธที่ทรงประสิทธิภาพในการนำพาธุรกิจไปสู่ชัยชนะ
-เป็นกลยุทธที่คู่แข่งไม่สามารถ “ตีโต้กลับ” ได้อย่างทันท่วงที หรือไม่รู้ว่าธุรกิจเรากำลังใช้กลยุทธอะไรอยู่
-เป็นกลยุทธที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตขององค์กร (Corporate Values) หรือวิธีการจัดการองค์กรแบบไทยๆ
-เป็นกลยุทธที่สามารถนำ “KPIs” มาใช้วัดความสำเร็จได้อย่างแม่นยำ
-สุดท้ายเป็นกลยุทธที่ได้รับการยอมรับและนำไปสู่การปฏิบัติได้ทุกองคาพยพของธุรกิจ

ดังนั้นเครื่องมือใหม่ทางการจัดการดังกล่าวจะต้องทำให้ธุรกิจกลายเป็น “ธุรกิจที่ว่องไวปราดเปรียว (Corporate Agility) หรือองค์กรที่ตอบสนองอย่างรวดเร็ว (Responsive Organization)”

การจัดการที่ชนะด้วยเวลา (Cycle Time Management: CTM)
สิ่งที่ทำให้คนต้องตัดสินใจได้รวดเร็วในเวลาเพียงไม่กี่วินาที คงจะหนีไม่พ้น “นักบินรบ” (Dog Fight)”
Boyd (1927-1997) ซึ่งเป็นนักบินรบของกองทัพอากาศสหรัฐอมริกาที่ผ่านการรบมาอย่างโชกโชนได้พัฒนาวงจรการปฏิบัติการที่ฉับไวที่มาจากการตัดสินใจอย่างรวดเร็วจากประสบการณ์ในการเผชิญหน้ากับเครื่องบินข้าศึก เพราะว่าตราบใดที่ช้าไปเพียงชั่วความรู้สึกก็หมายถึง การจบชีวิตหรือเกิดการสูญเสียอย่างใหญ่หลวงแก่กองทัพและประเทศชาติ “The OODA Loop” หรือวงจรอูดา เป็นวงจรการปฏิบัติการเพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาที
หลังจากนั้น Boyd ได้นำวงจรอูดา มาสอนให้กับนักบินรบและเผยแพร่สู่ธุรกิจ ซึ่งนำำไปสู่ “การจัดการที่ชนะด้วยเวลา (Cycle Time Management) ”

ครั้งแรกที่ผู้เขียนได้เรียนเรื่อง กลยุทธการจัดการที่ชนะด้วยเวลา ซึ่งพัฒนามาจากหนังสือ Competing Against Time (Stalk & Hout; 1990) แล้วนำมาพัฒนาใช้จนกระทั่งสร้างเป็นหลักสูตรสอนในธุรกิจโดยผ่านทาง TMA (Thailand Management Association) และยังเคยนำไปพัฒนาให้กับบริษัทยูคอม หรือ DTAC ในปัจจุบัน

ผู้เขียนนึกถึงสุภาษิตไทยที่พูดกันอยู่เสมอๆ ว่า “เวลาและวารีไม่เคยคอยใคร” หรือ “น้ำขึ้นให้รีบตัก”
ขณะที่ฝรั่งตะวันตกกลับสร้างหลักการที่ว่า
-เวลาทำให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพที่แตกต่าง
-เวลาทำให้ลูกค้าไม่ต้องรอคอยและเกิดความประทับใจ
-เวลาสร้างให้เกิดประดิษฐกรรมใหม่ๆ หรือนวัตกรรมทางธุรกิจ
-เวลาเป็นเงินเป็นทอง (พูดแบบไทยเรา)
-และเวลาเป็นอาวุธที่จะทำให้ธุรกิจชนะในการแข่งขัน
หัวใจสำคัญของ CTM (การจัดการที่ชนะด้วยเวลา) อยู่ที่ความเข้าใจใน วงจรอูดา (The OODA Loop) วงจรนี้จะเป็นปฏิบัติการที่ฉับไวใน 4 ขั้นตอนคือ
1.สังเกตเก็บข้อมูล(Observe)
2.การกำหนดแนวทางให้ได้(Orient)
3.การตัดสินใจว่าจะเคลื่อนไหวหรือดำเนินการอย่างไร(Decide)
4.การปฏิบัติหรือลงมือทำงานจนได้รับชัยชนะ(Act)
โดยสามารถสรุปเป็นวงจรอูดาได้ดังรูป


ดังนั้นองค์กรที่ต้องการจัดการที่ชนะด้วยเวลาควรจะทำเช่นเดียวกัน โดยพยายามใช้สารสนเทศที่มีให้ได้รวดเร็วเพื่อประกอบการตัดสินใจและการปฏิบัติการได้อย่างฉับไวไร้รอยตะเข็บ (Seamless Operation)

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
กรรมการผู้จัดการ

Thursday, October 8, 2009

แนวคิดและการบริหารสมัยใหม่ตามหลักธรรมาภิบาล : ดร.ดนัย เทียนพุฒ 8 ต.ค.52

สหัสวรรษใหม่ ได้เปรียบ เฉียบแข่งขัน
ปรับตัวกัน CHAOTIC TRICK ยากเข็ญ
ถ้าจะจัด SCENARIO SHOW ยากเย็น
UNCERTAIN จิตใจ ไม่มั่นคง
TECHNOLOGY ขั้นสูง มุ่งคุณค่า
CONCEPTS มา สำเร็จได้ ใจประสงค์
มีแบบอย่าง ให้ต่อเนื่อง เรื่องจำนง
ต่อยอดตรง K.M. เข้มหลักการ
DRUCKER บอก การจัดการ ด้านแนวคิด
ต้องทันใจ ผู้นำดี ที่ประสาน
NEW PRODUCT INNOVATION มาสร้างงาน
ชำนาญการ AGILITY ที่รวดเร็ว
เปลี่ยน C.P.W.(Conceptual framework) CEO ให้ SHOWกึ๋น
เพื่อสร้างขึ้น CULTURE ใหม่ ไม่ล้มเหลว
BUSINESS UNIT คิด DETAIL
AFTER SALE ถูกใจ ให้บริการ
หา TALENT PEOPLE เกินคาดหมาย
DNA ที่ได้ ให้พื้นฐาน
มีวินัย ใช้ CRM เต็มเชี่ยวชาญ
มีมาตรฐาน คุณภาพ ทราบทั่วกัน
ท่านอาจารย์ ดนัย ใช้ HIGH TECH
มี CONCEPT TOP TOOLS เพิ่มพูนสรรค์
CONCLUSION ครบชุด จุดประกาย

ผู้แต่ง คุณละม้าย ท่าทราย
ผบก. รุ่น 1 กรมการแพทย์

Thursday, September 24, 2009

การนำเสนองานของ นศ.หลักสูตรการบริหารสำหรับนักบริหารระดับกลาง ก.อุตสาหกรรม รุ่นที่17-18 สถาบันพระปกเกล้า

การนำเสนองานของ นศ. หลักสูตรการบริหารสำหรับนักบริหารระดับกลางของกระทรวงอุตสาหกรรม รุ่นที่ 17-18 สถาบันพระปกเกล้า ณ โรงแรมณุศา พลาญา โฮเทลแอนด์สปา พัทยา วันที่ 24-25 ก.ย.52

เรื่องที่นำเสนอ เช่น 1.การพัฒนาEco-Industrial Park ของญี่ปุ่นมาปรับใช้โดยศึกษาจาก นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ 2.การนำCSRมาปรับใช้ในอุตสาหกรรม











Sunday, September 13, 2009

เมื่อดร.ดนัย เทียนพุฒ ไปบรรยาย "นวัตกรรมโดดเด่น SMEs ก้าวไกล" ที่ จ.อุบลราชธานี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย


สูจิบัตรพิธีเปิดอาคาร ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 9 เืดือน 9 ปี 2009

กำหนดการบรรยายวิชาการเรื่อง "นวัตกรรมโดดเด่น SMEs ก้าวไกล" โดย วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิดร.ดนัย เทียนพุฒ รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทวิชาการและที่ปรึกษา

Highlight
สิ่งที่ผมบรรยายในงาน ได้ชี้ให้เห็นว่า
1.ผมไม่เห็นด้วยกับการที่บอกว่า นวัตกรรม นั้นมาจาก Creative อย่างเดียว
ทั้งนี้เพราะว่าเป็นความจริงไม่ทั้งหมด
2.ผมให้นิยามว่า นวัตกรรมนั้น ต้องเป็น "ไอเดีย + เชิงพาณิชย์"
พูดง่าย ๆ ว่า ไอเดียที่ขายได้ นั่นถึงจะเป็นนวัตกรรม คิดสร้างสรรค์อย่างเดียวขายไม่ได้ ผมเรียกฟุ้งซ่าน
3.นวัตกรรมสามารถเกิดได้จาก
-การเปลี่ยนวิธีการคิด ซึ่งผมได้ยกตัวอย่าง Sony เปลี่ยนวิธีคิดโดยจ้าง CEO เป็น คนฝรั่ง และล่าสุดได้ซื้อตัว คนที่ดีไซน์ผลิตภัณฑ์ของ iPod มาอยู่ที่โซนี่
-มนุษย์ต้องการความสะดวกสบาย จึงเกิดนวัตกรรม ได้ยกตัวอย่าง ของการใช้เครื่องอัตโนมัติในการขายของ/สินค้าอย่างมากมายที่เราคิดไม่ถึงของประเทศญี่ปุ่น
-การที่ต้องการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันหรือการทำงาน จึงเกิดนวัตกรรม อันนี้ไม่ต้องยกตัวอย่างเพราะมีให้เห็นดาษดื่น
-เทคโนโลยีทำให้เกิดนวัตกรรม
4.สุดท้าย นวัตกรรมตามที่เข้าใจกันมักจะบอกว่า เป็นไปได้ 3 ลักษณะที่จะเเกิดได้คือ Products Process Technology แต่ในความเป็นจริง ยังมีนวัตกรรมทางการตลาด และนวัตกรรมการจัดการ ซึ่งนักอุตสาหกรรม หรือ นักวิชาการในบ้านเรายังไม่เข้าใจไม่ครอบคลุม จึงมองแค่ 3 อย่าง จึงอยากให้มองกว้างมากขึ้น จะได้เห็นอะไรที่เป็นโอกาสมากขึ้น (เสียดายครับเวลาน้อยและ ไฟฟ้าไม่เพียงพอติด ๆ ดับ ๆ จึงบอกผู้ฟังให้มาตามที่ Blog กับที่ facebook : drdanai )

(ยังมีต่อ...)

หนังสือ นวัตกรรมอุตสาหกรรมของไทย (ติดต่อขอได้ที่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม)

ให้ดูบรรยากาศของเมืองอุบลฯ ก่อนครับ



สภาพหน้่าโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัด ที่มีร้านค้าเต็ม 2 ฝากถนน

วัดใกล้ ๆ โรงแรมลายทอง ที่ผมพักอยู่

ร้านอาหารต้อนรับแขกเมือง หรือ นักท่องเที่ยวที่นิยม

อาหารดัง "หลามปลานิล"



หอนาฬิกาประจำเมืองอุบลฯ

นิทรรศการที่จัดภายในตัวอาคารแสดงทั้งผลงานด้่าน นวัตกรรมสร้างสรรค์ และกิจกรรมที่กรมส่งเสริมอุตสาหรรมบริการให้กับผู้ประกอบการ











ความงดงามของการรำเปิดอาคารที่ ย้อนให้เห็นถึงการใช้ไม้ไผ่ แล้ว พัฒนามาเป็นกระบุง(ผู้บริหารบอกผม)













วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  
email: drdanait@gmail.com

Wednesday, September 9, 2009

Sunday, August 23, 2009

New Management Concept : แนวคิดการจัดการสมัยใหม่ By.Dr.Danai Thieanphut

ในวัน ศุกร์ที่ 21 ส.ค.52 ผมไปบรรยายให้กับสถาบันพระปกเกล้า ในหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลของผู้บริหารระดับกลาง และมีหลายท่านสนใจเอกสารการบรรยาย จึงนำมาฝากท่าน สาระสำคัญของการบรรยายประกอบด้วย
1.การเปลี่ยนแปลงในเรื่องการจัดการที่เคยตามแนวคิดของธุรกิจอเมริกา "ถึงจุดที่ต้องทบทวน" ว่ายังจะใช้ได้อยู่หรือไม่
2. ผลการสำรวจเครื่องมือการจัดการ 10 เครื่องมือ ที่นิยมล่าสุดใน ปี 2009
(อ่านได้ที่Top 10 Management Tools) ว่ามีอะไรเป็นที่นิยมของ CEO ระดับโลก
ที่น่าพูดถึงคือ กลยุทธทะเลสี ....ประเภท Ocean ทั้งหลายไม่ติดอันดับความนิยมของ CEO ระดับโลกซึ่งอาจเป็นเพราะมีข้อจำกัดในการนำไปใช้ และ มีกลุ่มคนที่จะพูดเรื่องนี้จำกัด เนื่องจากเจ้าของแนวคิดไม่ยอมให้ใครเข้าถึงเรื่องนี้อย่างกว้างขวางในทางวิชาการ

ขณะเดียวกัน ผมเองสอนวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ (Strategic Management) หรือวิชาอื่นที่ต้องวางกลยุทธ ก็ไม่แนะนำให้ บรรดา นศ.MBA ทั้งหลายใช้ กลยุทธทะเลสี ....จากข้อจำกัดและความไม่ใจกว้างทางวิชาการ หรือง่าย ๆ ยังมีทางเลือกในการใช้กลยุทธอื่นที่ดีกว่าอีกมาก

สรุปแล้วในปัจจุบันนี้เราพูดกันในเรื่อง อภิการแข่งขัน (Hyper-competition) จึงไม่ควรจำกัดอยู่ที่แนวคิดทางกลยุทธใดกลยุทธหนึ่งเพียงแนวคิดเดียว

3. เล่าถึงตัวอย่างการบริหารแนวใหม่ของ 3 ธุรกิจในระดับโลก คือ Sony Samsung และ LG
และข้อคิดสำคัยของการจัดองค์กรใหม่ อย่าง ธ.กสิกรไทย ที่จัดองค์กรตาม Customer Segmentation
กับ CP ALL ที่จัดโครงสร้างองค์กรแบบ Brand Portfolio

ข้างล่างเป็นเอกสารสไลด์ครับ!

วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  
email: drdanait@gmail.com

Tuesday, August 18, 2009

Top 10 Management Tools : 10 เครื่องมือการจัดการ By Dr.Danai Thieanphut


มีข่าวดีที่น่าจะบอกให้กับธุรกิจได้รู้ครับ

บริษัท Bain & Company ได้สรุปล่าสุดผลการสำรวจผู้บริหารในโลกธุรกิจของปี 2009
พบว่ามี 10 เครื่องมือทางการบริหารที่นิยมมากที่สุดในขณะนี้คือ

1. ฺBenchmarking หรือ การเปรียบเทียบวัด
2.Strategic Planning -การวางแผนกลยุทธ
3.Mission and Vision Statement -การทำเรื่องข้อความวิสัยทัศน์และภารกิจ
4.CRM -การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า
5.Outsourcing-การใช้บริการจากหน่วยงานภายนอก
6.Balanced Scorecard -การจัดการกลยุทธด้วย BSC& KPIs(เรียกกันในเมืองไทย)
7.Customer Segmentation-การกำหนดส่วนของลูกค้า
8.Business Process Reengineering-การทำรีเอ็นจิเนีย
9.Core Competencies-ความสามารถหลักของธุรกิจ
10. Mergers & Acquisition-การซื้อและควบรวมกิจการ

และโดยเฉพาะผู้บริหารของ ประเทศเกิดใหม่ในเอเซีย จัดทำในเรื่องกลยุทธการเติบโตและนวัตกรรมมากกว่าในอเมริกาเหนือ

ใน 10 เครื่องมือทางการบริหาร และการจัดทำกลยุทธดังกล่าว ดร.ดนัย เทียนพุฒ กรรมการผู้จัดการ บริษัทดี เอ็น ที คอนซัลแตนท์ จำกัด เราเป็นผู้นำและเชี่ยวชาญในเมืองไทย(เข้าใจธุรกิจในเมืองไทยมากกว่า บริษัทประเภทนี้อื่น ๆ จากนอกประเทศไทย) ใน ด้าน Strategic Planning , Mission and Vision Statement , Balanced Scorecard, Business Process Reengineering and Core Competencies ซึ่งเป็นเครื่องมือระดับโลกใน 5 เครื่องมือที่นิยมมากที่สุดใน ปี 2009


วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  
email: drdanait@gmail.com

Monday, August 17, 2009

Hyper-Competition Strategy: อภิมหากลยุทธ

ในหนังสือ "Hypercompetition: Managing the Dynamics of Strategic Maneuvering" (Free Press),โดย D'Aveni พูดไว้ว่า ความได้เปรียบในการแข่งขันไม่ได้มีอยู่ต่อไปอย่างยั่งยืนเพราะมันได้เกิดขึ้นเป็นวัฏจักรเหมือนชีวิตคือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ดังเช่น
" กลยุทธทะเลสี .... เดิมฮิต ทะเลสีแดงเลือดสาด เพราะ ภาพสุดท้ายเป็นการฆ่าธุรกิจอื่นให้ตาย ซึ่งทางนักคิดซีกโลกตะวันออกคิดไว้คือ "หมากล้อม" (GO) นั่นเอง
ต่อมาฮิต ทะเลสีดำ(Black Ocean Strategy) ผุ้เขียนได้ยินครั้งแรกตอนที่ไปบรรยายให้ นศ. MBA ที่ ม.ฟาร์อีสเทอร์น เชียงใหม่ โดย CEO ของ Black Canyon บอกในชีวิตผมมี "ทะเลสีเดียวคือ ทะเลสีดำ เพราะผมขายกาแฟ"
และอีกครั้ง เมื่อ เพื่อน ๆ ที่ทำธุรกิจส่งออก บอกว่า "ทะเลในธุรกิจผม ไม่มีสีอื่นถ้าผมจะส่งออกได้ดี ต้องไปประเทศเกิดใหม่ซึ่งเราเรียกกันว่า "เป็นทะเลสีเหลือง (Yellow Ocean)" ผู้เขียนถามว่าทำไมจึงสีเหลืองเขาบอกว่าผมผสมสีผิด
สำหรับ กระแสทะเลสีที่ดังที่สุดในโลกและเมืองไทยคงไม่เกิน... กลยุทธทะเลสีขาว (White Ocean Strategy) เพราะธุรกิจต้องเป็นองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคม หรือ มี Good Governance น่าสนใจที่เดียวและเป็นกระแสโลก ที่ต้องเฝ้าติดตาม (ฝากให้ศึกษาครับ) น่าจะเหมาะกับกระแสปัจจุบันมากกว่า กลยุทธทะเลสีอื่น ๆ
สุดท้ายแต่ไม่ใช่ท้ายที่สุด คงหนีไม่ต้น ต้องเป็น "อภิมหากลยุทธในการแข่งขัน (Hyper-competition) เพราะโลกเปลี่ยนแปลงเร็วและไม่เหมือนแต่่ก่อน ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภค ดังนั้นไม่มีกลยุทธใด ๆ หรือ กลยุทธ เดี่ยว ๆ ที่จะใช้ได้ผลอีกต่อไป แต่จะต้องเป้นการใช้มากกว่า 1 กลยุทธขึ้นไป หากมีใครแนะนำท่านให้ใช้แนวคิด หรือ หลักการเพียงกลยุทธเดียวในการวางแผนกลยุทธสำหรับธุรกิจในอนาคต ขอให้ท่านรู้ไว้เถิดว่า... ท่านกำลังหลงกับดักของนักกลยุทธบางค่าย บางทฤษฎี เท่านั้น
ยุคใหม่เป็นการบูรณาการแนวแนวคิด และทฤษฎี ทางกลยุทธเพื่อให้มีนวัตกรรมแห่งความได้เปรียบในการแข่งขัน
ซึ่งเราเรียกกันว่า Meta-Strategy หรือ Hyper-Competition Strategy


วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  
email: drdanait@gmail.com