Friday, December 24, 2010

ความท้าทายใหม่ของผู้ประกอบการธุรกิจ หรือ ธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่



ความท้าทายใหม่ของผู้ประกอบการธุรกิจ หรือ ธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่

ดร.ดนัย เทียนพุฒ นึกถึง ในช่วงปี พ.ศ. 2551 ได้ให้แนวคิดที่เป็นความท้าทายใหม่ของธุรกิจครอบครอบรุ่นใหม่
ผู้เขียนมองไกลไปปี 2012 เลยว่าจะมีแนวโน้มทิศทางอย่างไร ติดตามได้ แต่อยากให้อ่านของเดิมไว้ด้วยเพื่อการต่อ   
ยอดความคิด

 *แนวคิดของธุรกิจปี 2012


ดร.ดนัย เืทียนพุฒ มองทิศทางธุรกิจปี 2012


 *แนวคิดของ ธุรกิจในปี 2551 น่าจะมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงไปจากปี 2550 ในอัตราที่มากพอสมควร ผู้บริหารธุรกิจต่างก็รอคอยว่า ผู้รู้หรือโหรเศรษฐกิจจะให้คำทำนายอะไรที่จะเป็นประโยชน์กับการดำเนินธุรกิจในปี 2551 กันบ้าง
ว่าจะคิดอย่างไรกับธุรกิจก้าวใหม่
ผู้เขียนบอกได้เลยครับว่า
-ราคาน้ำมันยังคงแพงอย่างต่อเนื่อง และไม่มีท่าว่าจะลดลงได้เพราะ ชาติผู้ผลิตน้ำมันควบคุมราคา(ให้สูง)และการผลิต(ให้ไม่มาก) ถ้าเรายังไม่คิดเรื่องพลังงานทดแทนให้เร็วขึ้น ธุรกิจคงแย่ละครับ
-อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ อยู่ระหว่าง 4-5 % ดีไม่ดีขึ้นอยู่กับรัฐบาลใหม่ (รัฐบาลนี้เขาเข้าบ้านพักแล้ว สนใจแต่ออกกฎหมาย ลงโทษคนผิดเท่านั้น)
-รัฐบาลใหม่ต้องกล้าเร่งการลงทุน และ กล้ายกเลิกกฎหมาย "ทุนทางสังคมนิยม" โดยพิจารณาสิ่งที่ขัดขวางการพัฒนาประเทศซึ่งรัฐบาลขิงแก่ชราภาพออกมาอย่างมากมาย ในช่วง 1 ปี
-แนวโน้มการพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์มีมากขึ้น เพราะ หน่วยงานของรัฐ เช่น จุฬา ฯ กรมธนารักษ์ สำนักงานทรัพย์สินฯ เปิดที่ผืนใหม่เพื่อ การพัฒนามากขึ้น
-พฤติกรรมผู้บริโภค จะเปลี่ยนแปลงไปตามการเกิดของระบบขนส่งมวลชนที่กำลังจะเกิดขึ้น ใช้ชีวิต กับคอนโดขนาดเล็ก กลางเมือง หรือ แนวรถไฟฟ้า มีรายได้มากขึ้นเพราะแต่งงานช้า หรือไม่มีลูก ชอบการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ยังเน้นความสะดวกสบายในใช้ชีวิตด้านสันทนาการ ดู หนัง ฟัง เพลง ดื่มเหล้า ท่องเที่ยว เล่นเน๊ต เป็นเรื่องปกติ
อะไรคือความท้าทายใหม่ของผู้ประกอบการธุรกิจ
ผู้เขียนพอมีเวลาว่าง ทำให้นึกถึงตอนที่แว็บบินไปสิงคโปร์ จึงเกิดตัวอย่างของ “Business Case Study” หรือกรณีตัวอย่างทางธุรกิจมาเล่าให้ผู้บริหารธุรกิจหรือผุ้ประกอบการธุรกิจและ ผู้ที่สนใจจะได้ศึกษาหรือเปิดโลกความคิดทางธุรกิจ
ตัวอย่างของ Kid’s Ergonomics: Strategy Pro International Pte.,Ltdสิ่งที่น่าสนใจจากผู้ประกอบการของสิงคโปร์คือ อะไรเป็นหัวใจในการสร้างธุรกิจ
1) การใช้ดีไซน์สร้างธุรกิจให้โดดเด่น นี่คือความโดดเด่นอย่างยิ่งหมายความว่า สินค้าที่เป็นโต๊ะนักเรียนสำหรับลูกๆ ที่บ้าน เป็นโต๊ะที่ดีไซน์แบบสุดยอดไฮเทค
- โต๊ะนักเรียนที่สามารถปรับให้สูงขึ้นลงได้ตามความต้องการของผู้ใช้
2) การใช้ชื่อที่เป็นความฝันของเด็กนักเรียนตะวันตก เช่น รุ่น Cambridge และรุ่น Harvard

ทั้ง 2 ประเด็นดังกล่าวทำให้ผู้เขียนนึกถึงตอนที่ทางสถาบัน SMEs ให้ผู้เขียนบรรยายเรื่อง
การวางแผนธุรกิจให้กับผู้เข้าอบรมที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจ หรือ ธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่
ซึ่งตามเนื้อหาที่ออกแบบไว้ของสถาบัน SMEs น่าจะเพียงพอ ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อหาประกอบด้วย

ผู้เขียนพบจุดอ่อนทางธุรกิจเมื่อได้มีโอกาสฟังการบรรยายพิเศษจากอาจารย์ที่มาจากมหาวิทยาลัยในประเทศเยอรมัน
ซึ่งมาบรรยายหัวข้อการตลาดระหว่างประเทศ
อาจารย์ชาวเยอรมันที่สอนพยายามสอนด้วยแนวคิดของปรัชญาการตลาด ซึ่งเพื่อนหลายคนของผู้เขียนมีความรู้สึกว่าน่าเบื่อ และมีปัญหาข้ามวัฒนธรรมค่อนข้างมากในพฤติกรรมผู้บริโภคชาวเยอรมันกับพฤติกรรมคนไทยค่อนข้างต่างกัน

แต่ผู้เขียนกลับคิดว่าสิ่งนี้คือหัวใจสำคัญด้วยเหตุผลที่ว่า การเรียนถึงแก่นปรัชญาของวิชานั้นเป็นหัวใจที่จะเข้าใจในเนื้อหาและนำไปประยุกต์ใช้ได้ตลอดชีวิต
การเรียนเพียงหลักการและตัวอย่างแบบที่นิยมในสถาบันการศึกษาไทยและองค์กรธุรกิจไทย ไม่น่าจะเพียงพอที่จะทำให้เรามีขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ

ซึ่งจากตัวอย่างของผู้ประกอบการของธุรกิจสิงคโปร์ เราจะพบว่ามีปรัชญาของการตลาดที่น่าสนใจแล้วสร้างความท้าทายทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี ผู้เขียนได้สอบถามว่าเป็นสินค้านำเข้าหรือไม่ ผู้ขายได้บอกกับผู้เขียนว่าเป็น โลคอลแบรนด์ แต่ในทัศนะผู้เขียนเห็นว่าเป็นการคิดแบบโกลบอล 

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID : thailand081

โมเดลของการสืบทอดธุรกิจครอบครัว : Thai Family Business Succession


น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งที่ปัจจุบันมีความสนใจในธุรกิจครอบครัว (Family Business) กันค่อนข้างมาก เนื่องด้วยผู้เขียนได้รับการสอบถามอยู่เสมอ
- มีนักศึกษาปริญญาเอกหลายๆ ท่านสนใจสอบถามพูดคุยถึงแนวทางการทำ Dissertation เกี่ยวกับธุรกิจครอบครัว
- เรื่องราวของธุรกิจครอบครัวที่ผู้เขียนโพสต์ไว้ใน blog โดยเฉพาะกรณีตัวอย่างธุรกิจครอบครัวจิราธิวัฒน์ มีผู้เข้าชมเกือบ 500 ท่าน
- การแข่งขันของธุรกิจธนาคารมีสูงมากจนต้องโดดเข้ามาสร้างความแตกต่างใหม่เพื่อจับกลุ่มลูกค้า SMEs และผู้ประกอบการโดยเข้ามาพัฒนาธุรกิจครอบครัว เริ่มเห็นเป็นรูปเป็นร่างและจริงจังมากกว่าในอดีต
- อีกทั้งยังมีหลายๆ สถาบันการศึกษาเปิด MBA ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ธุรกิจ SMEs และธุรกิจครอบครัว (Family Business)

สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้น การศึกษาของ Longenecker และคณะ (2006) พบว่า การเริ่มต้นธุรกิจ (Business Startup) นั้นมาจากแหล่งของไอเดียที่ช่วยสร้างธุรกิจ เช่น ประสบการณ์ในงานที่เคยทำมาก่อน (45%) ความสนใจส่วนตัวหรืองานอดิเรก (16%) โอกาสที่บังเกิดขึ้น (11%) คำแนะนำ (7%) ส่วนธุรกิจครอบครัวและการศึกษาหรือเข้าหลักสูตรอบรม (เพียง 6%)
(รูปสไลด์ที่ 1 ด้านล่าง)

โมเดลของการสืบทอดธุรกิจครอบครัว
สิ่งที่สนใจกันมากอีกอย่างหนึ่งของธุรกิจครอบครัวคือ การสืบทอดธุรกิจ (Suc-cession in Family Business) เพราะมีทฤษฎีหรือการพัฒนาในธุรกิจเมืองไทยให้เห็นน้อยมากหรืออาจจะพูดได้ว่า “ธุรกิจครอบครัวในเมืองไทยขาดการค้นคว้าและศึกษามายาวนานนับหลายทศวรรษ”
จะมาสนใจศึกษากันว่า ธุรกิจครอบครัวเป็นมาอย่างไรคงประมาณไม่เกิน 10 ปีมานี้เอง
จุดเริ่มต้น การพัฒนาการจัดการจุดเริ่มต้นของการวางแผนสืบทอดธุรกิจ (Suc-cession Planning)
หัวใจอย่างหนึ่งของธุรกิจที่ถ่ายทอดกันมาคือ เรื่องของการสืบทอดธุรกิจ (Succession Planning) ซึ่งเกิดมาจากความต้องการของธุรกิจในการที่จะขยายกิจการแล้วต้องการผู้บริหารเข้ามารับผิดชอบงานดังกล่าวในอนาคต กับการเตรียมผู้บริหารไว้ทดแทนผู้บริหารระดับสูงที่ลาออกหรือเกษียณออกไป หรือถูกซื้อตัวจะได้มีตัวตายตัวแทน (Successor)
(รูปสไลด์ที่ 2 ด้านล่าง)

Woodall และ Winstanly (1998) ได้อธิบายเรื่องนี้ไว้ในการพัฒนาการจัดการ (Management Development) เกี่ยวกับแนวคิดในการวางแผนสืบทอดธุรกิจที่เกิดมาจากความจำเป็นใน 3 ส่วนด้วยกันคือ 1) ความจำเป็นของธุรกิจ (Business Needs) ในด้านกลยุทธธุรกิจ (Business Strategy) 2) ความจำเป็นขององค์กร (Organization Needs) ในด้านการพัฒนาองค์กร (Organization Development) และการพัฒนาการจัดการ (Management Development) และ 3) ความจำเป็นส่วนบุคคล (Individual Needs) ในเรื่องการพัฒนาตนเองและการวางแผนอาชีพของตนให้เติบโตไปพร้อมกับองค์กร

การสืบทอดธุรกิจครอบครัว โมเดลการจัดการสืบทอดธุรกิจครอบครัว

แม้ว่า Ward (2005) จะได้เสนอ เมทริกซ์ระยะของตัวตายตัวแทน (Successor’s Phases Matrix) ผู้เขียนยังอยากจะเสนอโมเดลของการสืบทอดธุรกิจครอบครัวที่ Longenecker & et al (2006) ได้พัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ปี 1978 และเป็นโมเดลที่ได้รับการพูดถึงอยู่พอสมควร ซึ่งในโมเดลนี้มี 7 ระยะด้วยกันดังรูปที่ 3 (สไลด์ด้านล่าง)
ทั้งหมดใน 7 ระยะนี้คือ การเข้าสืบทอดธุรกิจของตัวตายตัวแทนอย่างเต็มตัวของธุรกิจครอบครัว ไม่รู้ว่าธุรกิจครอบครัวไทยจะมีลักษณะแบบนี้หรือไม่ น่าสนใจศึกษาและคราวต่อไปจะเสนอสุดยอดพาราไดม์ของทฤษฎีหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้
กันครับ!




ดร.ดนัย เทียนพุฒ
กรรมการผู้จัดการ
บจก. ดี เอ็น ที คอนซัลแตนท์
โทร 029301133

แก่นแท้ของความเป็นธุรกิจครอบครัว



ในประเทศใดก็ตามผู้เขียนเห็นว่า หากศึกษาในลึกซึ้งเราจะพบว่าความจำเป็นและความสำคัญของธุรกิจครอบครัวนั้นถือได้ว่าเป็นแก่นแท้ของรากฐานการพัฒนาธุรกิจเศรษฐกิจ สังคมและประเทศชาติแต่ในเมืองไทยกลับพบว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจครอบครัวน้อยมาก (ได้ลองสืบค้นทางอินเตอร์เน็ตปรากฏว่าไม่มีข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ต่อการทำการวิจัยได้เลย)
ขณะที่ในทางกลับกัน ข้อมูลจากต่างประเทศกลับมีมากกว่าจนถึงขนาดเป็นหลักสูตรในสถาบันการศึกษาและสถาบันด้านธุรกิจครอบครัวที่มีเครือข่ายใหญ่โต
"ครอบครัว" ในมิติของธุรกิจครอบครัวไทย
ผู้เขียนร่วมมือกับเพื่อนท่านหนึ่งกำลังทำวิจัยเรื่อง "พาราไดม์สู่ความสำเร็จของธุรกิจครอบครัวไทยจากรุ่นสู่รุ่น" (A Successful Paradigm of Thai Family Business from Generation to Generation) ซึ่งมีโครงการย่อย 2 โครงการด้วยกันคือ โครงการย่อยแรกเป็นการวิจัยเกี่ยวกับโมเดลความสามารถของธุรกิจครอบครัวไทย และโครงการย่อยที่สองเป็นการวิจัยการพัฒนากระบวนทัศน์การสืบทอดธุรกิจครอบครัวไทย
ในระหว่างที่ผู้เขียนพิจารณาเกี่ยวกับ องค์ประกอบในโมเดลของธุรกิจครอบครัวคือ ครอบครัว (F: Family) ธุรกิจ (B: Business) ความเป็นปัจเจกบุคคล(I: Individual) และความเป็นเจ้าของ (O: Ownership)
โดยเฉพาะคำว่า "ครอบครัว" (F) จะนิยามอย่างไรให้ตรงกับธุรกิจครอบครัวไทยให้ได้มากที่สุด

เผอิญเมื่อวันที่ 19 ก.พ.50 ผู้เขียนได้รับเชิญให้ไปบรรยายเรื่อง "AQ: การพิชิตอุปสรรคอย่างอัจฉริยะ" (AQ: Adversity Quotient) เน้นสไตล์ไทยเพื่อให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุขให้กับกลุ่มผู้บริหารและพนักงานบริษัทในเครือชัยสุวรรณ ที่โรงแรม Royal Ping อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ได้มีโอกาสสนทนาและกลายเป็นสัมภาษณ์คุณยู เจียรยืนยงพงศ์ ประธานกลุ่มบริษัทเครือชัยสุวรรณ

ประการแรก 30 ปีของกลุ่มชัยสุวรรณ (Chai Su Wan Group: CSW Group) กลุ่มชัยสุวรรณได้เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2520 โดยคุณยู เจียรยืนยงพงศ์จากการค้าขายอะไหล่สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถกระบะซึ่งได้เล็งเห็นโอกาสในการดำเนินธุรกิจอื่นๆ จึงขยายออกไปดังนี้

(1) กลุ่มธุรกิจอะไหล่รถยนต์ ดำเนินธุรกิจค้าปลีกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ โดยเน้นที่การขายอะไหล่รถยนต์ของประเทศญี่ปุ่น เช่นโตโยต้า ฮอนด้า มาสด้า นิสสัน อีซูซุ มิตซูบิชิ ฯลฯ และในปี 2529 ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายอะไหล่แท้ยี่ห้อโตโยต้าอย่างเป็นทางการ (Authorized Part Dealer) ที่มีอยู่ในประเทศเพียง 6 รายเท่านั้น

ในปี 2537 จัดตั้งบริษัทนำเข้าอะไหล่รถยนต์นำเข้าจากประเทศจีนเป็นอะไหล่ที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบหลัก เช่น กะทะล้อ รถบรรทุกสำหรับยางชนิดใช้ยางในและไม่ใช้ยางใน ยางรถบรรทุก ฯลฯ

ในปี 2547 จัดตั้งบริษัทใหม่อีกหนึ่งบริษัทดำเนินธุรกิจค้าปลีกอะไหล่รถยนต์ (เน้นรถแท๊กซี่)

(2) กลุ่มธุรกิจค้าส่ง-ปลีกอะไหล่รถยนต์ ก่อตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาในปี 2533 เพื่อดำเนินธุรกิจค้าส่ง-ปลีกอะไหล่รถยนต์สินค้าประเภทบอร์ดี้พาร์ท

(3) กลุ่มธุรกิจการขนส่งปูนซีเมนต์ผงและเถ้าลอย โดยเริ่มแรกปี 2527 ขนส่งให้กับ บมจ.ปูนซีเมนต์นครหลวง ในปี 2542 ขยายสายการบริการขนส่งเถ้าลอยให้กับ กฟผ. ปี 2547 เพิ่มสายการขนส่งสารเคมี โดยได้ผ่านการรับรอง ISO9000:2001 และคาดว่าในปี 2550 จะได้รับรอง QHSAS 18001

ประการที่สอง แก่นแท้ของคำว่า "ครอบครัว"
โดยทั่วไปแล้วคำว่า "ครอบครัว" (F: Family) ในองค์ประกอบของโมเดลธุรกิจครอบครัว จะเป็นการพัฒนาโครงสร้างและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว ได้แก่ การสมรส การเป็นพ่อแม่ผู้ปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างทายาท ลูกเขย ลูกสะใภ้ แบบแผนการสื่อสารและบทบาทของครอบครัว ซึ่งทำให้สามารถกำหนดรูปแบบครอบครัวตามช่วงอายุได้ 4 ระดับคือ 1.ครอบครัวหนุ่มสาว 2.ครอบครัวเข้าสู่ธุรกิจ 3.ครอบครัวทำงานร่วมกัน และ 4.ส่งมอบธุรกิจให้กับรุ่นต่อไป

จากการสัมภาษณ์คุณยู เจียรยืนยงพงศ์ ประธานกลุ่มชัยสุวรรณใน 2-3 ประเด็นหลักๆ คือ
(1) ความสำเร็จของกลุ่มชัยสุวรรณนั้นอยู่ที่ปัจจัยอะไร
"การวางแผนธุรกิจ เป็นสิ่งที่ผมคิดว่าสำคัญเพราะ จะทำธุรกิจอะไรจำเป็นต้องคิดให้รอบคอบ อาทิ เมื่อผมจะเข้ามาทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สร้างโรงแรม Royal Ping Garden & Resort ที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
ผมให้น้องชายได้เข้ามาช่วยด้านธุรกิจค้าปลีกอะไหล่รถยนต์ มีลูกๆ เข้ามาช่วยทำงานในบริษัท ผมจะได้ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้เต็มที่โรงแรม Royal Pingฯ นี้อยู่ในทำเลที่ดีมาก เพราะจากตัวเมืองเชียงใหม่ไป อ.เชียงดาวเพียง 70 กม. ผ่าน อ.ชัยปราการ อ.ฝาง สามารถเข้า จ.เชียงราย ซึ่งระหว่างทางไม่มีโรงแรมระดับนี้เลยทำให้ทั้งไป-กลับต้องพักทานอาหารกลางวันที่นี่ และที่นี่ยังสามารถจัดสัมมนา มีแคมป์ไฟ ล่องแพ ชมน้ำตกเจ็ดสี"
สิ่งสำคัญต่อมา ผมทำธุรกิจอะไรผมจะต้องรู้จริงได้ลงมือทำตั้งแต่ต้น ดังนั้นการศึกษาอย่างเข้าใจ การลงมือทำทุกขั้นตอนจะทำให้ผมเข้าใจวิธีการดำเนินธุรกิจและสามารถพัฒนาธุรกิจให้ขยายเติบโตได้
"ความสำเร็จที่ชัดเจนคือ เราเป็นเพียง 1 ใน 6 รายที่ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายอะไหล่แท้ยี่ห้อโตโยต้าอย่างเป็นทางการ (Authorized Part Dealer) ของบริษัทโตโยต้า (ประเทศไทย) จำกัด (ไม่นับรวม Part Dealer ที่เป็น Car Dealer)
(2) ความเป็นครอบครัว สิ่งนี้ผู้เขียนได้ข้อมูลเชิงประจักษ์โดยตรงในงานครบรอบ 30 ปี กลุ่มชัยสุวรรณและพิธีมอบรางวัลสำหรับพนักงานที่ทำงานมานาน
- พนักงานทุกคนที่อยู่มาตั้งแต่เริ่มตั้งบริษัท มีความรักคุณยูเปรียบดัง "พ่อ" หรือผู้ที่มีพระคุณโดยมิอาจลืมเลือนไปได้
-พนักงานบางคนร้องไห้หรือก้มลงกราบแทบเท้าของบุคคลอันเป็นที่รักยิ่งด้วยสำนึกในการมีชีวิต ประกอบอาชีพและอยู่เป็นตัวตนได้ก็เพราะบริษัทฯ
ด้วยการดูแลและวิธีการบริหารคนอย่างยอดเยี่ยม ทำให้พนักงานรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวชัยสุวรรณ บริษัทเปรียบดังบ้านหลังที่สองที่เขาเหล่านี้จะไม่จากลาไปไหน และสิ่งนี้ทำให้พนักงานรุ่นใหม่ๆ "มีความรู้สึกว่าเขาได้เข้ามาลงทุนชีวิตให้กับบริษัทฯ นี้และเป็นการลงทุนที่ถูกต้องที่สุด"
ประการสุดท้าย ครอบครัวนั้นมีได้อย่างน้อย 3 มิติ
ผู้เขียนสังเคราะห์ได้ว่า ความเป็นครอบครัวนั้นจริงๆ ถ้าพิจารณาตามทฤษฎีจะเป็นมิติตามที่อธิบายไว้คือ บุคคลในครอบครัวและที่เกี่ยวข้อง (พี่น้อง เขย สะใภ้ ลูก หลาน ฯลฯ) แต่ในมิติที่ 2 นี้คือ พนักงานได้ร่วมลงทุนชีวิตจนมีความเป็นครอบครัวเกิดขึ้นกับธุรกิจครอบครัว ส่วนมิติที่ 3 คือ ผู้ร่วมค้า รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวในธุรกิจครอบครัว (ซึ่งผู้เขียนจะได้อธิบายในโอกาสต่อไป)
สิ่งนี้คือ แก่นแท้ที่พบของความเป็นธุรกิจครอบครัวครับ!


วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  
email: drdanait@gmail.com

โมเดลธุรกิจครอบครัวไทย โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ


ครั้งแรกที่ผู้เขียนศึกษาถึงความสำเร็จของธุรกิจครอบครัวในประเทศสิงคโปร์ซึ่งประเทศเขาให้ความสนใจและศึกษากันอย่างเป็นจำนวนมาก  สิงคโปร์เรียกธุรกิจเหล่านี้ว่า "Cottage Industry" หรืออุตสาหกรรมในครัวเรือนว่าเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจครอบครัวที่จะก้าวไปสู่บรรษัทระดับโลก



สิ่งที่ธุรกิจพยายามกันอย่างมากคือ การสร้างคุณค่าให้ลูกค้าเพื่อที่จะได้ทำให้ลูกค้าซื้อสินค้า  แต่การที่จะทำให้เกิดสิ่งนี้ได้จะมีปัจจัยสำคัญอย่างน้อย 2 อย่างคือ
อย่างแรก  การสร้างให้ลูกค้าฝังจำบริษัทหรือสินค้าไว้ให้อยู่ในใจและหาวิธีดึงเงินมาจากกระเป๋าลูกค้าเมื่อสินค้าหรือบริษัทถูกจดจำอยู่ในใจแล้ว
อย่างที่สอง  การลงทุนในด้านคนขององค์กรเพื่อสร้างคุณค่าให้เกิดกับองค์กร  จนกระทั่งส่งผลต่อการสร้างคุณค่าให้ลูกค้า
ในขณะที่ประเทศไทยมีการส่งเสริมให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในการก่อตั้งกิจการ  หรือสร้างธุรกิจให้เกิดขึ้นราวกับดอกเห็ด  ซึ่งธุรกิจเหล่านี้เริ่มมาจากกิจการเจ้าของคนเดียวไปสู่กิจการที่ใหญ่โต
แต่สิ่งที่น่าทึ่งจนกลายเป็นความอัศจรรย์ใจกับผู้เขียนคือ
: ธุรกิจที่เริ่มต้นมาจากความเป็นครอบครัว  พอถึงปัจจุบันต่างพยายามหรือปฏิเสธความเป็นครอบครัว  เพราะมีการให้สัมภาษณ์ซึ่งปรากฏให้เห็นอยู่ตลอดเวลาว่าปัจจุบันไม่ใช่ธุรกิจครอบครัวแล้วเราบริหารธุรกิจด้วยมืออาชีพมาหลายปีทีเดียว
: ผู้เขียนลองสืบค้นทาง Google เพื่อหาเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า "ธุรกิจครอบครัว" (Family Business) ปรากฏว่า ไม่มีข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ (ความรู้สึกหลังๆ ในการค้นข้อมูลจาก Google จะรู้สึกว่าพบขยะออนไลน์ของหน่วยงานต่างๆ ใน Search Engine ค่อนข้างมาก)
โมเดลธุรกิจครอบครัว
การที่ธุรกิจครอบครัวจะประสบความสำเร็จได้  ควรจะมีโมเดลธุรกิจครอบครัว (Family Business Model) เป็นจุดเริ่มต้นในการทำธุรกิจ
ผู้เขียนได้ลองจำลองแก่นของโมเดลการเติบโตสำหรับธุรกิจครอบครัวขึ้นมาดังนี้
1  ขั้นก่อนการเริ่มธุรกิจ เจ้าของธุรกิจวางแผนเสี่ยงและเตรียมงานล่วงหน้าเกี่ยวกับทรัพยากรและจัดลำดับสิ่งที่จะเริ่มต้น อาทิ
- นิยามแนวคิดธุรกิจ
- ศึกษาผลิตภัณฑ์ตลาด
- วางแผนการเงิน
- วางแผนก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจ

2  ขั้นเริ่มธุรกิจ
  เป็นขั้นตอนเริ่มธุรกิจเมื่อเจ้าของธุรกิจต้องเสี่ยงในตลาดและจัดทำสิ่งที่จำเป็นหรือปรับเปลี่ยนให้สามารถอยู่รอดได้

3    ขั้นก่อนการเติบโต
  เป็นช่วงที่พัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็ว  เมื่อความเสี่ยงได้ผ่านไปจะมีการเปลี่ยนแปลงในด้านการตลาด การเงินและการใช้ประโยชน์ทรัพยากร 

4  ขั้นภายหลังการเติบโต
 เป็นขั้นวิวัฒนาการของความเสี่ยงที่จะเข้าไปสู่ธุรกิจใหญ่กับคู่แข่งที่มีกำลังในอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้น
 ความจำเป็นที่จะจัดการแบบมืออาชีพ  อาจมีความสำคัญมากกว่าการบริหารแบบเจ้าของกิจการ
ส่วนในกรณีธุรกิจครอบครัวไทยที่มาจากกลุ่มคนจีนโพ้นทะเล  ตั้งแต่ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  มีการพัฒนาและปรับตัวเป็นอย่างมากเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจครอบครัว  และสิ่งที่บ่งบอกถึงการปรับตัวได้อย่างชัดเจนที่สุดคือ การอาศัยบารมีของนักการเมือง  ปกป้องคุ้มครองธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
ธุรกิจครอบครัวไทยที่ทรงอิทธิพลอยู่ในเศรษฐกิจสังคมของประเทศในยุคก่อนปี 2540 ที่จะมีวิกฤตการณ์ทางการเงินและเศรษฐกิจจนประเทศล้มละลาย  แม้ในปัจจุบันก็ยังอยู่ในอาการแย่งชิงอำนาจของกลุ่มทุนนิยมผูกขาดที่ถูกรัฐประหารไปได้ไม่นานนักจะมีอยู่ในลักษณะธุรกิจผูกขาดหรือธุรกิจกึ่งผูกขาดที่มีผู้ผลิตน้อยราย  และที่ก้าวไปเป็นบรรษัทระดับโลก เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์   การพัฒนาของธุรกิจครอบครัวไทย  จะมีอยู่ 2 ลักษณะสำคัญคือ เป็นการผลิตสินค้าด้านอุปโภคบริโภคที่ไม่มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีกับการร่วมทุนกับธุรกิจต่างชาติ
ผู้เขียนเคยนำนักศึกษา MBA ที่เรียนด้านจัดการกลยุทธเข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคในกลุ่มเครือสหพัฒน์ ได้พบว่า
:  โรงงานที่ผลิตสินค้านั้นในปัจจุบันนี้ไม่ได้เป็นการนำเข้าเครื่องจักรมาผลิตสินค้าเหมือนดังที่เราเคยได้เข้าใจกัน  แต่เป็นลักษณะซื้อทั้งโรงงานที่สามารถมาดำเนินการผลิตได้เลยและพนักงาน หรือหัวหน้างานจะได้รับการถ่ายทอดความรู้ให้ดูแลเครื่องจักรหรือเครื่องควบคุมอัตโนมัติ  เปิด-ปิดเครื่อง  ถ้าเสียก็ให้ฝ่ายซ่อมบำรุงรักษาเข้ามาดู  หากซ่อมไม่ได้ก็ซื้ออะไหล่มาเปลี่ยน
- กลุ่มทุนอุตสาหกรรมไทยที่พัฒนามาจากกลุ่มคนจีนโพ้นทะเลหรือเป็นนาย-หน้าของโรงงานผู้ผลิตสินค้าจากต่างประเทศนั้นไม่ได้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค  หรือวิศวกรรมด้านอุตสาหกรรมเหมือนญี่ปุ่น ยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา
-  ต้องยอมรับว่าก่อนปี 2540 กลุ่มทุนอุตสาหกรรมไทยเกือบทั้งประเทศจะถูกครอบงำหรืออยู่ภายใต้การควบคุมของเหล่าบรรดากลุ่มธุรกิจธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่เป็นหลักเกือบทั้งหมด  ซึ่งกลุ่มธุรกิจธนาคารพาณิชย์เหล่านี้โดยเฉพาะในยุคก่อนปี 2540 ไม่ได้สนใจการพัฒนาทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรม
ซึ่งหากทุกท่านจำได้เมื่อ Tom Peter และ Robert Waterman ได้เขียนหนังสือ In Search of Excellence ออกมาในช่วงปี 1982 มีธุรกิจธนาคารบางแห่งโดดเข้ามาปล่อยสินเชื่อในธุรกิจโรงสีข้าว  เพราะอีกธนาคารหนึ่ง (มุ่งในสิ่งที่ตนเชี่ยวชาญตามหนังสือ) ขายธุรกิจโรงสีข้าวออกทั้งหมด  ปรากฏว่าเป็นยุคเปลี่ยนผ่านธุรกิจโรงสีข้าวไม่ใช่ดาวเด่นอีกต่อไป  ธนาคารที่ให้สินเชื่อเกิดหนี้เป็นจำนวนมากมาย
สรุปแล้วพัฒนาการในสภาพจริงๆ ของธุรกิจครอบครัวไทยในเกือบทุกอุตสาห-กรรมจะเป็นลักษณะ
: กลุ่มธุรกิจครอบครับที่เติบโตหรือมีพัฒนาการโดยเป็นลักษณะธุรกิจกึ่งผูกขาดที่มีผู้ผลิตน้อยรายหรือเป็นธุรกิจผูกขาด เช่น ธุรกิจสุราและธุรกิจโทรคมนาคม
: กลุ่มธุรกิจครอบครัวจะพัฒนาขึ้นในลักษณะของนายหน้าโรงงานผู้ผลิตสินค้าจากต่างประเทศ  หรืออาศัยการร่วมทุนจากกลุ่มธุรกิจต่างชาติเป็นหลัก
: กลุ่มธุรกิจครอบครัวที่สามารถพัฒนาเป็นบรรษัทระดับโลกได้ (Conglome-rates) จะเป็นกลุ่มที่ได้ "สิทธิพิเศษ" จากภาครัฐหรือมีอิทธิพลเหนือรัฐ
การศึกษาของ ผาสุก พงษ์ไพจิตร (2549) เกี่ยวกับระบบทุนนิยมที่มีธุรกิจครอบครัวเป็นแกนหลักภายหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 จะถดถอยอ่อนแแอลงอย่างเห็นได้ชัด
แต่อย่างไรก็ตามธุรกิจครอบครัวไทยจะเป็นลักษณะของธุรกิจส่วนใหญ่ของประเทศไทยที่จะอยู่รอดได้ด้วยการเข้าถึงอำนาจรัฐโดยตรง หรืออิงแอบกับการเมือง หรือร่วมทุนกับธุรกิจระดับบรรษัทข้ามชาติ  โดยมิอาจปฏิเสธได้ไปอีกตราบนานเท่านาน