Friday, December 24, 2010

ความท้าทายใหม่ของผู้ประกอบการธุรกิจ หรือ ธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่



ความท้าทายใหม่ของผู้ประกอบการธุรกิจ หรือ ธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่

ดร.ดนัย เทียนพุฒ นึกถึง ในช่วงปี พ.ศ. 2551 ได้ให้แนวคิดที่เป็นความท้าทายใหม่ของธุรกิจครอบครอบรุ่นใหม่
ผู้เขียนมองไกลไปปี 2012 เลยว่าจะมีแนวโน้มทิศทางอย่างไร ติดตามได้ แต่อยากให้อ่านของเดิมไว้ด้วยเพื่อการต่อ   
ยอดความคิด

 *แนวคิดของธุรกิจปี 2012


ดร.ดนัย เืทียนพุฒ มองทิศทางธุรกิจปี 2012


 *แนวคิดของ ธุรกิจในปี 2551 น่าจะมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงไปจากปี 2550 ในอัตราที่มากพอสมควร ผู้บริหารธุรกิจต่างก็รอคอยว่า ผู้รู้หรือโหรเศรษฐกิจจะให้คำทำนายอะไรที่จะเป็นประโยชน์กับการดำเนินธุรกิจในปี 2551 กันบ้าง
ว่าจะคิดอย่างไรกับธุรกิจก้าวใหม่
ผู้เขียนบอกได้เลยครับว่า
-ราคาน้ำมันยังคงแพงอย่างต่อเนื่อง และไม่มีท่าว่าจะลดลงได้เพราะ ชาติผู้ผลิตน้ำมันควบคุมราคา(ให้สูง)และการผลิต(ให้ไม่มาก) ถ้าเรายังไม่คิดเรื่องพลังงานทดแทนให้เร็วขึ้น ธุรกิจคงแย่ละครับ
-อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ อยู่ระหว่าง 4-5 % ดีไม่ดีขึ้นอยู่กับรัฐบาลใหม่ (รัฐบาลนี้เขาเข้าบ้านพักแล้ว สนใจแต่ออกกฎหมาย ลงโทษคนผิดเท่านั้น)
-รัฐบาลใหม่ต้องกล้าเร่งการลงทุน และ กล้ายกเลิกกฎหมาย "ทุนทางสังคมนิยม" โดยพิจารณาสิ่งที่ขัดขวางการพัฒนาประเทศซึ่งรัฐบาลขิงแก่ชราภาพออกมาอย่างมากมาย ในช่วง 1 ปี
-แนวโน้มการพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์มีมากขึ้น เพราะ หน่วยงานของรัฐ เช่น จุฬา ฯ กรมธนารักษ์ สำนักงานทรัพย์สินฯ เปิดที่ผืนใหม่เพื่อ การพัฒนามากขึ้น
-พฤติกรรมผู้บริโภค จะเปลี่ยนแปลงไปตามการเกิดของระบบขนส่งมวลชนที่กำลังจะเกิดขึ้น ใช้ชีวิต กับคอนโดขนาดเล็ก กลางเมือง หรือ แนวรถไฟฟ้า มีรายได้มากขึ้นเพราะแต่งงานช้า หรือไม่มีลูก ชอบการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ยังเน้นความสะดวกสบายในใช้ชีวิตด้านสันทนาการ ดู หนัง ฟัง เพลง ดื่มเหล้า ท่องเที่ยว เล่นเน๊ต เป็นเรื่องปกติ
อะไรคือความท้าทายใหม่ของผู้ประกอบการธุรกิจ
ผู้เขียนพอมีเวลาว่าง ทำให้นึกถึงตอนที่แว็บบินไปสิงคโปร์ จึงเกิดตัวอย่างของ “Business Case Study” หรือกรณีตัวอย่างทางธุรกิจมาเล่าให้ผู้บริหารธุรกิจหรือผุ้ประกอบการธุรกิจและ ผู้ที่สนใจจะได้ศึกษาหรือเปิดโลกความคิดทางธุรกิจ
ตัวอย่างของ Kid’s Ergonomics: Strategy Pro International Pte.,Ltdสิ่งที่น่าสนใจจากผู้ประกอบการของสิงคโปร์คือ อะไรเป็นหัวใจในการสร้างธุรกิจ
1) การใช้ดีไซน์สร้างธุรกิจให้โดดเด่น นี่คือความโดดเด่นอย่างยิ่งหมายความว่า สินค้าที่เป็นโต๊ะนักเรียนสำหรับลูกๆ ที่บ้าน เป็นโต๊ะที่ดีไซน์แบบสุดยอดไฮเทค
- โต๊ะนักเรียนที่สามารถปรับให้สูงขึ้นลงได้ตามความต้องการของผู้ใช้
2) การใช้ชื่อที่เป็นความฝันของเด็กนักเรียนตะวันตก เช่น รุ่น Cambridge และรุ่น Harvard

ทั้ง 2 ประเด็นดังกล่าวทำให้ผู้เขียนนึกถึงตอนที่ทางสถาบัน SMEs ให้ผู้เขียนบรรยายเรื่อง
การวางแผนธุรกิจให้กับผู้เข้าอบรมที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจ หรือ ธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่
ซึ่งตามเนื้อหาที่ออกแบบไว้ของสถาบัน SMEs น่าจะเพียงพอ ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อหาประกอบด้วย

ผู้เขียนพบจุดอ่อนทางธุรกิจเมื่อได้มีโอกาสฟังการบรรยายพิเศษจากอาจารย์ที่มาจากมหาวิทยาลัยในประเทศเยอรมัน
ซึ่งมาบรรยายหัวข้อการตลาดระหว่างประเทศ
อาจารย์ชาวเยอรมันที่สอนพยายามสอนด้วยแนวคิดของปรัชญาการตลาด ซึ่งเพื่อนหลายคนของผู้เขียนมีความรู้สึกว่าน่าเบื่อ และมีปัญหาข้ามวัฒนธรรมค่อนข้างมากในพฤติกรรมผู้บริโภคชาวเยอรมันกับพฤติกรรมคนไทยค่อนข้างต่างกัน

แต่ผู้เขียนกลับคิดว่าสิ่งนี้คือหัวใจสำคัญด้วยเหตุผลที่ว่า การเรียนถึงแก่นปรัชญาของวิชานั้นเป็นหัวใจที่จะเข้าใจในเนื้อหาและนำไปประยุกต์ใช้ได้ตลอดชีวิต
การเรียนเพียงหลักการและตัวอย่างแบบที่นิยมในสถาบันการศึกษาไทยและองค์กรธุรกิจไทย ไม่น่าจะเพียงพอที่จะทำให้เรามีขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ

ซึ่งจากตัวอย่างของผู้ประกอบการของธุรกิจสิงคโปร์ เราจะพบว่ามีปรัชญาของการตลาดที่น่าสนใจแล้วสร้างความท้าทายทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี ผู้เขียนได้สอบถามว่าเป็นสินค้านำเข้าหรือไม่ ผู้ขายได้บอกกับผู้เขียนว่าเป็น โลคอลแบรนด์ แต่ในทัศนะผู้เขียนเห็นว่าเป็นการคิดแบบโกลบอล 

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
     นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 0818338505  email: drdanait@gmail.com
Line ID : thailand081

No comments:

Post a Comment