คำว่า "นักบริหารมืออาชีพ (Professional Executive)" หาก พิจารณาในคำเดิม มักจะใช้กันว่า Professional Manager แต่ในปัจจุบัน คำที่ผู้เขียนใช้ดูจะเป็นที่นิยมกว่า
ในเรื่องราวของ นักธุรกิจ นักบริหาร หรือ ผู้ประกอบการ(Entrepreneur) ต่างก็ใขว่คว้า หรือ พัฒนาตนเองให้สามารถ ก้าวมาสู่ความเป็นมืออาชีพ ไม่มีใครต้องการถูกมองหรือ เห็นว่า
-เป็นนักบริหารแบบมวยวัด หรือ ลูกทุ่ง
- ไม่อยากบอกว่าเป็นธุรกิจครอบครัว ที่บริหารแบบลองผิดลองถูก
-ไม่มีหลักการหรือตำราเล่มใด ที่สามารถบ่งบอกถึงความสำเร็จที่ผ่านมาได้
แต่ทุกคนอยากให้ ..มีคนยกย่องและยอมรับว่า "เป็นมืออาชีพ" หรือ "นักบริหารมืออาชีพ"
ผู้เขียนไปสอนเรื่องนี้อยู่ระยะหนึ่ง แต่ ก็ต้องยอมรับว่า การศึกษาและค้นคว้าหาเอกสาร มีไม่มากนัก โดยเฉพาะในประเทศไทย ยิ่งการศึกษาเชิงลึกกลับไม่มี (มีแต่ไม่ตรงกับทางธุรกิจ)
ทำให้ผู้เขียนย้อนกลับไปนึกถึง สมัยแรก ๆ ที่เริ่มเขียนหนังสือ น่าจะเป็นเล่มแรกในปี 2530
....มีความคิดว่า น่าสนใจทีเดียวที่จะศึกษา รวบรวมข้อคิด ประสบการณ์และความสำเร็จของ ผู้บริหารและนักธุรกิจ มาสังเคราะห์ดูว่ามีอะไรเป็นสาระสำคัญ
...จะไปศึกษาได้ที่ไหน และจะศึกษาอย่างไร
... แล้วจะตรวจสอบยืนยันได้อย่างไรว่า การสังเคราะห์และสรุปมานั้นถูกต้อง
ผู้เขียน ได้ อ่านเอกสาร รวบรวมหนังสือที่รวมเล่ม ประวัติบุคคล (นิยมทำแจกกันในช่วงนั้น จาก บรรดา นสพ. ด้านเศรษฐกิจ)
พอทำอย่างนั้นได้ก็จัดวาง เป็นเรื่องราวของการศึกษา ดังนี้
ภาคแรก สู่ความเป็นนักบริหารมืออาชีพ
ตอนที่ 1 หลักการทำงาน การบริหาร และการดำเนินชีวิตของนักบริหารมืออาชีพ
ตอนที่ 2 ยุทธศาสตร์การจัดการของนักบริหารมืออาชีพ
ตอนที่ 3 หัวใจสู่ความสำเร็จ..คือ การพัฒนาคน
ตอนที่ 4 ประสบการณ์ของความเป็นมืออาชีพ
ภาคหลัง ศิลปะและเทคนิคของนักบริหารมืออาชีพ
โดยส่วนแรกเป็นการ วิเคราะห์และสังเคราะห์ มาจากนักบริหารมืออาชีพ 6 ท่าน
ส่วนภาคหลัง เป็นข้อเขียนจากการศึกษาและประสบการเชิงวิชาการของผู้เขียน
นักบริหารมืออาชีพทั้ง 6 ท่าน ที่เลือกมานั้นประกอบด้วย เกษม จาติกวนิช ดุษฎี สวัสดิ์-ชูโต บัญชา ล่ำซำ บุญชู โรจนเสถียร มีชัย วีระไวทยะ และ ดร.อำนวย วีรวรรณ
ผลได้เป็นดังนี้ (ตามรูป ซึ่ง สรุปและนำเสนอใหม่ปี 2556 )
1. นักบริหารมืออาชีพ ต้องมี
-หลักการและจุดยืนทางวิชาชีพ
-ความเป็นผู้นำแห่งวิสัยทัศน์
-การแสดงทัศนะที่มีผลกระทบทางสังคม
-ดำรงตนในการเป็นแบบอย่าง
-มาตรฐานการทำงาน
มีระบุตามรูป ครับ
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
ผู้อำนวยการโครงการ Human Capital
ผู้อำนวยการโครงการ Human Capital
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า