บางครั้งการอ่านตำรา หรือ สร้างกระแสชักนำ บอกว่า "ธุรกิจครอบครัว" ควรจะทำนั่น ทำนี่ บางทีก็บอกแต่ข้อดี แต่อาจไม่บอกว่าจำเป็นหรือไม่ หรือควรจะทำตอนไหน เรียกว่า "เอามันส์" หรือต้องพูด ต้องเขียน เอามาเป็นประเด็นก็ว่ากันไป แต่ ผู้เขียนอยากให้ "ธุรกิจครอบครัว (Family business) โดยเฉพาะ รุ่นหลัง ๆ ( GEN 2, # 3 ,#4 ) ได้ คิดและศึกษาให้กระจ่างชัดและเข้าใจอย่างถ่องแท้เสียกรอนครับ
ขอกลับมาที่เรื่องของ บริษัทครอบครัว
หลาย ๆ ท่าน ที่ทำงานหรือ ประกอบธุรกิจของตนเอง เรียกว่า ก่อร่างสร้างธุรกิจขึ้นมา กลุ่มนี้ว่าแบบตำรา ก็คือ "ผู้ก่อตั้งธุรกิจ (Founder)" อาจจะบอกว่าผมก็จดทะเบียนบริษัท กับทางการเรียบร้อย เป็นนิติบุคคล มีอำนาจลงนาม และถือหุ้นใหญ่เบ็ดเสร็จ ยังไม่เป็นบริษัทครอบครัวอีกหรือ อันนี้ก็คงจริง ไม่งั้นคงไม่เรียก ธุรกิจครอบครัว
แต่ในทัศนะ นี้ เป็นอีกลักษณะหนึ่งครับ
คำว่า บริษัทครอบครัว ในสิ่งที่กำลังจะพูดถึง
ความหมายแรก หมายถึง การเป็นบริษัท ที่ก่อตั้งโดย พ่อ-แม่ และลูก ๆ เป็นบริษัท จดทะเบียนของครอบครัวจริง ๆ ไม่มีการประกอบกิจการแต่เป็นการไปลงทุนในหุ้น กับบริษัท ที่ครอบครัวตั้งขึ้นมา เป็นบริษัทแกน หรือ Flagship ของธุรกิจ และอื่นๆ
ข้างล่างการจดทะเบียนเป็นบริษัทโฮลดิ้ง ตาม ตลท.
การจัดโครงสร้างในรูปของการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) เป็นวิธีที่นิยมกันมากวิธีหนึ่งเนื่องจาก
- กิจการต้องมีการเติบโตตลอดเวลา และมีแนวโน้มที่จะขยายการเติบโตไปในสายธุรกิจทั้งที่เกี่ยวข้อง และไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม ทั้งในประเทศและ/หรือต่างประเทศ ในรูปแบบของบริษัทย่อยมากขึ้น
- ปัจจุบันมีการเพิ่มจำนวนของบริษัทในเครือที่มีโครงสร้างในลักษณะต่าง ๆ กัน มากขึ้นซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่ประสงค์จะยื่นคำขอเข้าจดทะเบียน
- การรวมกลุ่มของบริษัทที่มีสายธุรกิจที่แตกต่างกัน ในบางครั้งอาจมีปัญหาในการที่จะเลือกบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นบริษัทผู้ยื่นคำขอ
และเมื่อต้องการเอาบริษัท โฮลดิ้งไปจดทะเบียนใน SET
(อ้างจาก http://www.set.or.th/th/products/listing/criteria_p3.html)
Holding Company หมายถึง บริษัทที่มีการประกอบธุรกิจโดยมีรายได้จากการถือหุ้นในบริษัทอื่นเป็นหลัก ซึ่งอาจเป็นการลงทุนในประเทศหรือต่างประเทศ และไม่มีการประกอบธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญเป็นของตนเอง โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ
- คุณสมบัติครบถ้วนตามกรณีทั่วไป ยกเว้นคุณสมบัติในเรื่องการมีผลการดำเนินงาน จะพิจารณาเฉพาะการมีกำไรสุทธิหรือมีมูลค่าหุ้นสามัญตามราคาตลาด (Market Capitalization) ตามหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับบริษัทแกน
- ถือหุ้นในบริษัทแกนอย่างน้อย 1 บริษัท โดยสัดส่วนการถือหุ้นให้แยกตามประเภทของบริษัทแกนเป็นหลัก ดังต่อไปนี้
1. กรณีบริษัททั่วไป > 50%
2. กรณีบริษัทที่ร่วมลงทุนภาครัฐหรือมีข้อจำกัดตามกฎหมายอื่น > 40%
- มีกรรมการและผู้บริหารเป็นบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการบริหารจัดการบริษัทแกน ซึ่งบริหารจัดการบริษัทแกนมาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ปี
- มีอำนาจควบคุมหรือบริหารจัดการบริษัทแกนได้ตามสัดส่วนการถือหุ้น
- ถือหุ้นในบริษัทแกนตลอดเวลาที่เป็นบริษัทจดทะเบียน โดยอาจเปลี่ยนบริษัทแกนได้ เมื่อพ้นระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่หุ้นสามัญเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ
- ต้องไม่มีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจบริหารจัดการเงินลงทุน (Investment Company) ตามที่ ก.ล.ต. กำหนด
ความหมายที่ 2 เป็นบริษัทครอบครัว ที่ไม่ประสงค์จะจดทะเบียน ใน ตลท. แต่ไปถือหุ้น บริษัท โฮลดิ้งของ ธุรกิจในครอบครัวอีกชั้นหนึ่ง แทนที่จะเป็นแค่ บุคคลหรือ สมาชิกครอบครัวไปถือหุ้นใน บริษัทโฮลดิ้ง เท่านั้น เรียกว่า ไม่มีทางหลุดไปเป็นกิจการของใครอื่นได้แน่ ๆ ลงกลอนแน่นหนา
ไม่ว่ากรณีใด ๆ ต้องดูที่ความจำเป็นเพราะว่า หาก ครอบครัวไม่ใหญ่ กิจการที่ดำเนินอยู่หลัก ๆ มีเพียง 1-2 กิจการ และ ไม่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน ธุรกิจครอบครัวลักษณะดังกล่าวหากมีสัญญาครอบครัว มีพินัยกรรม และ ข้อบังคับบริษัท อย่างชัดเจน พร้อมธรรมนูญครอบครัว อาจไม่มีความจำเป็นที่ไปจัดตั้ง บริษัทโฮลดิ้ง ก็ได้ครับ
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
ผู้อำนวยการโครงการ Human Capital
ผู้อำนวยการโครงการ Human Capital
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า