สิ่งที่เป็นวงจรและเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ในธุรกิจครอบครัว คือ
.... การที่ลูกชายหรือ ลูกสาวที่เพิ่งคว้าปริญญา สด ๆ ร้อน ๆ หลังจาก สำเร็จการศึกษาจากเมืองนอก และเมื่อมานั่งมอง "ธุรกิจครอบครัว (Family Business)" มีอะไรให้อยากทำใหม่ ๆ อีกเยอะทีเดียว แหวกแนวทางความสำเร็จของรุ่น ก่อน ๆ ทั้งรุ่นผู้ก่อตั้ง หรือ รุ่นพ่อ-แม่ หรืออาจจะเป็น รุ่นพี่ ๆ ที่ได้ปลุกปั้นความสำเร็จได้มาตลอดช่วงชีวิต..
เพียงแต่การเพิ่งเข้ามาได้ช่วยดูแลกิจการ ย่อมต้องมีเหตุผลที่รุ่นก่อน อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เพื่อยกระดับธุรกิจไปอีกระดับ
นั่นไม่ใช่ สิ่งที่เจนใหม่ ซึ่งมีความต้องการ "คิด" และ "ทำ" สิ่งใหม่ ๆ เพราะอาจจะยังไม่สามารถผลักดันได้อย่างทันทีทันใด โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนองคาพยพของธุรกิจเลยทีเดียว
ความใจเย็น การไม่รีบร้อน น่าจะเป็นยุทธวิธีที่หมาะสม
ในทัศนะผม
1. ต้องคิดหา หรือ ค้นให้พบว่า "จะสร้างพื้นที่ยืนให้กว้างขึ้นได้อย่างไร" หมายถึง การพิสูจน์ฝีมือ ให้รุ่นก่อนยอมรับใน ความสามารถ หรือ เห็นว่า น่าจะให้ดูแลธุรกิจบางส่วนได้อย่างเป็นที่วางใจ
2. การสร้างแบรนด์ น่าจะเป็นสิ่งที่ รุ่นก่อนไม่มีความชำนาญ แต่ รุ่นใหม่มีความเข้าใจและ คุ้นกับแบรนด์ และช่องทางการสื่อสารใหม่ ๆ
สิ่งนี้เป็นโอกาสในการ "สร้างฝีมือของเจนใหม่" เพราะเข้ามาปิดช่องว่างของเจนเนอเรชั่นได้พอดี
ถือเป็นความท้าทาย ของเจนใหม่ ที่จะสร้าง "พื้นที่ยืนในธุรกิจครอบครัว" ครับ
ถือเป็นข้อคิด ฝากก่อน ปีใหม่ 2557 นี้
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอิสระ
รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ปี 2552 ประเภทนักวิชาการและที่ปรึกษา
ผู้อำนวยการโครงการ Human Capital
ผู้อำนวยการโครงการ Human Capital
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า