Sunday, March 25, 2012

แวดวงธุรกิจครอบครัวเขาคุยเรื่องอะไรกัน

            มีกระแสการสนทนาและพูดคุยกันเรื่องธุรกิจครอบครัว  กระเพื่อมอยู่อย่างสม่ำเสมอในปัจจุบัน โดยเฉพาะในยามที่ผู้นำตระกูลหรือ
ผู้ก่อตั้งธุรกิจได้เสียชีวิตและจากไป  เช่น กลุ่มธุรกิจกระทิงแดง หรือ ในต่างประเทศ โดยหุ้นส่วนชาวออสเตรีย ภายใต้ชื่อ Red Bull
          -บางธุรกิจครอบครัวก็ได้มีการเตรียมการทั้งด้านธุรกิจและครอบครัวไว้ จึงไม่เกิดปัญหาอะไรในภายหลัง
           -บางธุรกิจครอบครัวก็เป็นแบบฉับพลัน  ทำให้ตั้งตัวกันอย่างไม่ทันท่วงที
           -บางธุรกิจครอบครัว อาจคิดเตรียมการ แต่ ทายาท หรือผู้สืบทอด ยังไม่พร้อมในการเข้ามาดูแลกิจการแทน
          เหล่านี้คือประเด็นที่ธุรกิจครอบครัว มักพูดคุยกัน  และถือเป็นเรื่องสำคัญมาก
          ขณะเดียวกันในทาง"ตำรา" หรือ "ทฤษฎี"  ของธุรกิจครอบครัว เค้าคุยเรื่องอะไรกัน
          อย่างแรก  "อะไรที่ทำให้ธุรกิจครอบครัวมีความโดดเด่นและแตกต่าง"
           เราจะพบว่าในปัจจุบัรมีการเชิญบรรยาย หรือ สัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจที่เป็น "ธุรกิจครอบครัว"  ว่า
         ....ทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จมาได้อย่างไร  และทำไมถึงรอดจนมาถึงปัจจุบัน จนกระทั่งร่ำรวย
             โดยส่วนใหญ่ฟังหรืออ่านไปแล้ว จะไม่ค่อยแตกต่างกัน  โดยเฉพาะในรุ่นก่อตั้ง หรือ รุ่นบุกเบิก
              มักเป็นคนจีนโพ้นทะเล ข้ามน้ำข้ามทะเล มาเมืองไทย  ทำมาหากินแบบหนักเบาเอาสู้  จนค่อย ๆ เริ่มมีฐานะและแยกตัวออกมาตั้งกิจการเป็นของตนเอง.......
           สิ่งเหล่านี้ ต้องทำในเชิงวิชาการจึงจะเป็นองค์ความรู้ที่มีประโยชน์สำหรับ ธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่
           ความจริงแล้วในทางวิชาการเราจะพูดคุยกันในเรื่องต่อไปนี้
         1)  ธรรมชาติ ความสำคัญและความโดดเด่นที่เป็นลักษณะเฉพาะของธุรกิจครอบครัวว่า เป็นอย่างไร
          2) ครอบครัวที่ยิ่งใหญ่ในธุรกิจ  สร้างขึ้นจากอะไร  (โดยหลักการมาจากความไว้เนื้อเชื่อใจและความมุ่งมั่นผูกพัน)
         3)ความเป็นเจ้าของแห่ง  "ธุรกิจอมตะ (Built to Last) "
     สำหรับ เรื่องต่อไป ขอทิ้งไว้ก่อนให้ท่านผู้อ่านคิดต่อครับว่า ในทางวิชาการ เขาคุยอะไรต่อในเรื่องของธุรกิจครอบครัว  ที่เป็นแก่นสาระสำคัญ  ต่อธุรกิจครอบครัวทั้งของตนเองและธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่

วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com
       

Sunday, March 11, 2012

ล่าสุด ! อัตรารอดของธุรกิจครอบครัวไทย



 ถ้าพุดถึงธุรกิจครอบครัวไทย  เรามักจะบอกว่า มีอัตรารอดประมาณ 30% (บางคนก็บอกว่าเยอะแล้ว มองในแง่บวก) แต่ในทัศนะผม หากมีการเตรียมและพัฒนาเพื่อดำเนินการธุรกิจครอบครัวอย่างจริงจัง อัตรารอดน่าจะมากกว่านี้  มิฉะนั้นจะเตรียม ผู้ประกอบการใหม่และ ทายาทธุรกิจครอบครัวไปทำไม

ธุรกิจครอบครอบครัว ที่ใหญ่ที่สุดระดับโลก ในปัจจุบันคือ อันดับ 1  Wal-Mart อันดับ 2  Ford  อันดับ 3 Samsung และอันดับ 4 LG
น่าสนใจนะครับ ที่เอเซีย อยู่ในอันดับที่ 3-4

กลับมาที่เมืองไทยครับ ตัวเลขล่าสุดที่ผมได้วิเคราะห์จากข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
-ในช่วง ปี 2455 -ปี2540  มีธุรกิจจดทะเบียน 483,707 กิจการ มีอัตรารอด 81.6 %
-ในช่วง ปี 2541-ปี 2550 (10ปี) มีธุรกิจจดทะเบียน 372,237 กิจการ มีอัตรารอด 40.9 %(ในปี 2543 มีอัตราการตายเกิน 100 %)
-ล่าสุด  ปี 2541-ปี 2554 (14ปี) มีธุรกิจจดทะเบียน 562,845 กิจการ  มีอัตรารอด 16.5 % (มีอัตราการตายเกิน 100% ในปี 2543 ปี2552 และปี 2554)

ถ้าพิจารณาตัวเลข ในปีแรก ปี 2541 มีอัตรารอด 38.8 %
                               3 ปีแรก (ปี2541-2544) มีอัตรารอด 43.3 %
                               5ปีแรก (ปี 2541-2546) มีอัตรารอด 35.3%
                               8ปีแรก (ปี 2541-2549) มีอัตรารอด 42.4%
ที่น่าแปลกใจคือ อัตรารอด ใน 10ปีของธุรกิจไทยอยู่ที่ 40.9% แต่ พอผ่านไป 14 ปี อัตรารอดกลับลดลงเหลือเพียง 16.5 %  และมีอัตราการตายเกิน 100% ใน 3 ช่วงคือ ปี 2543  ปี  2552 และ ปี 2554

แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจไทย หรือ ธุรกิจที่พัฒนาเป็นธุรกิจครอบครัว มีความยากมากขึ้นในการบริหารกิจการให้ประสบความสำเร็จ
ข้อคิดสำคัญ ประเทศไม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อม  กับการมีปัญหาทางด้านการเมือง  จะส่งผลให้กิจการไม่สามารถรอดไปได้ จากตัวเลขในปี 2552 และ ปี 2554

ผู้ประกอบการและ ธุรกิจควรอบครัว ต้องพัฒนาตัวเองมากยิ่งขึ้น  ไม่มี เทวดาหรือ อัศวินที่ไหนมาช่วยได้หรอกครับ หากไม่ปรับและพัฒนาตัวเองให้แกร่งและแข็งแรง ยังมี คลื่นลูกใหม่ที่รอโถมเข้าหาธุรกิจอยู่คือ AEC 2015 ใครปรับตัวช้า เหนื่อยครับ และอาจไม่มีพื้นที่ให้เล่น ก็ได้


วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  
email: drdanait@gmail.com


Sunday, March 4, 2012

คัมภีร์สร้างและดูแลครอบครัว

-

          ปัจจุบันธุรกิจครอบครัว ต่างสนใจให้ความสำคัญในการบริหารจัดการที่เป็นมืออาชีพมากขึ้น พร้อมกับต่างแสวงหาเรียนรู้เคล็ดวิชา ที่จะใช้นำพาให้ธุรกิจครอบครัวของตนก้าวเดินไปอย่างประสบความสำเร็จ และไม่ต้องผิดพลาดแบบธุรกิจครอบครัวในยุคก่อน ๆ
         การเรียนรู้จาก ธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จถือเป็นการเรียนลัดได้ในอีกแนวทางหนึ่ง แต่ธุรกิจครอบครัวต้องมีความเข้าใจเป็นเบื้องต้น ก่อนว่า
         -ความสำเร็จดังกล่าวเป็นประสบการณ์ตรงของผู้ก่อตั้ง รุ่นพ่อ-แม่หรือ รุ่นลูกหลานแต่ละคน ซึ่งอาจเป็นความสามารถเฉพาะบุคคล ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้
         -สภาพแวดล้อมของธุรกิจแต่ละยุคสมัยมีความแตกต่าง การแข่งขันของธุรกิจและบริบททางธุรกิจไม่เหมือนกัน การนำความรู้ที่ได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟังมาไปใช้จำเป็นต้องเรียนรู้และศึกษาสภาพข้อจำกัดดังกล่าว
         -ไม่มีความสำเร็จใดที่เป็นแบบ One Size Fits All ถ้าไม่ได้ทำการวิจัยศึกษาอย่างเป็นระบบ จนกระทั่งกลั่นเป็นองค์ความรู้แบบที่ทำกันในธุรกิจครอบครัวต่างประเทศหรือ ประเทศตะวันตก
         ผู้เขียนขอนำความสำเร็จของกลุ่มธุรกิจครอบครัวจิราธิวัฒน์จากประสบการณ์ของคุณสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ ได้ใช้สร้างธุรกิจจนประสบความสำเร็จและถือเป็น"ต้นแบบธุรกิจครอบครัวไทย"  ซึ่งยอมรับและกล่าวถึงกันมาก โดยเฉพาะเรื่อง"หลักในการสร้างและดูแลครอบครัว" ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
        (1) การอยู่ร่วมกัน ลักษณะการอยู่ร่วมกันของครอบครัวจิราธิวัฒน์คือ อยู่บ้านเดียวกัน กินข้าวหม้อเดียวกัน เล่นด้วยกัน ทำงานด้วยกันและนอนบ้านเดียวกัน อันเป็นการปูพื้นฐานในด้านความรู้สึกนึกคิดว่าทุกคนมาจากครอบครัวเดียวกัน ไม่เกิดการแบ่งแยกว่าเป็นพี่น้องต่างมารดากัน
        (2) การจัดลำดับอาวุโส ให้ทุกคนเคารพนับถือตามความอาวุโสของอายุ แทนที่จะถือตามศักดิ์ความเป็นอา-หลาน เพื่อเป็นการง่ายแก่การปกครอง ทุกคนในครอบคตรัวจิราธิวัฒน์เหมือนกันหมดไม่มีการแบ่งแยกว่าเป็นน้องเป็นลูก
        (3) การอบรมสั่งสอนในครอบครัว ให้ความสำคัญกับการเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่มาก เรื่องครอบครัวต้องรักน้องมากกว่าภรรยา ต้องมีความกตัญญู ต้องเคารพผู้ใหญ่ ต้องอ่านหนังสือ ต้องประหยัด  อย่าเอาเปรียบคนอื่น อย่าเล่นการพนัน อย่าสูบบุหรี่ ทำอะไรทำจริง สำหรับผู้หญิงจะสอนวิธีการเลือกคู่ครองไม่จำเป็นต้องเป็นคนรวยของให้เป็นคนทำงานจริงจัง
         (4) ใช้หลักประชาธิปไตยกับสมาชิกในครอบครัวทุกคน มีสิทธิมีเสียงที่จะแสดงความคิดเห็น
         (5) การให้การศึกษาแก่สมาชิก ทุกคนจะได้มีการศึกษาที่ดี เด็กผู้ชายเรียนที่อัสสัมชัญ เด็กผู้หญิงเรียนที่มาร์แตร์ เป็นหลักและส่งเรียนต่อต่างประเทศทุกคน
         (6) การแบ่งงานให้สมาชิก โดยการวางแผนธุรกิจล่วงหน้า แบ่งงานให้แต่ละคนโดยคำนึงถึงความอาวุโส ประกอบกับความสามารถและความเหมาะสม
        (7) การทำโทษสมัยแรก ๆ ใช้ไม้เรียว และสมัยหลังใช้การเวียนจดหมายให้ได้อาย ประจานไม่ให้คนอื่นเอาเยี่ยงอย่าง ซึ่งวิธีนี้เป็นที่หวาดกลัวของคนในครอบครัวจึงระวังไม่ให้ทำอะไรผิดกัน
        (8) การชมเชย  คือการมอบความไว้วางใจให้ดูแลธุรกิจโดยให้งานเพิ่มขึ้นอีกเพื่อพัฒนาความสามารถให้มากยิ่งขึ้น จะได้รับผิดชอบที่สูงขึ้นไปอีก

        น่าสนใจใน"ประสบการณ์ของครอบครัวจิราธิวัฒน์" ในการที่จะเรียนรู้แล้วลองปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจครอบครัวในยุคปัจจุบันครับ


วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com