Monday, January 30, 2012

ธุรกิจครอบครัวการสืบทอดสู่รุ่นต่อไป



ในปัจจุบัน มีความพยายามที่น่าสนใจ หรือ การเกิดกระแสของ "การปั้นธุรกิจครอบครัว"  ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน  แบบชนิด "บูมสนั่น"  เป็นคลื่นกระแทกสู่ฝั่งซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ซึ่งอาจเป็นเพราะ ในอดีตเราละเลยเรื่องนี้กันมานาน ปล่อยให้ ธุรกิจทั้งหลาย ล้มลุกคลุกคลาน แสวงหาแนวทางของตนเอง  แต่ก็ยังมีนักวิชาการและผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องธุรกิจครอบครัวอยู่ไม่น้อยเช่นกัน เพียงแต่เป้าหมายอาจจะแตกต่างกันออกไป ตามธรรมชาติของผู้ที่ศึกษา

                 ในปี 2554 ที่ผ่านมา หนังสือ "เจาะ DNA ธุรกิจครอบครัวไป " ได้ส่งผ่านไปยังมือ ของธุรกิจครอบครัว  นักศึกษาทางธุรกิจ และผู้ที่สนใจในธุรกิจครอบครัว จำนวนไม่น้อย

                   ประด็นหนึ่งซึ่งเป็นที่สนใจกันมากว่า  "ทายาทธุรกิจครอบครัว รุ่นใหม่ " สนใจอยากดำเนินธุรกิจครอบครัวต่อจากรุ่นก่อนหรือไม่
.                  ..ในบางธุรกิจก้ไม่มีความสนใจเลย เพราะเห็นความยากลำบาก  การทำงานแบหามรุ่งหามค่ำ ทายาทฯรุ่นลูกก็ไม่อยากทิ้งความสุขสบายลงมามือเปื้อน
                   . ..ในบางธุรกิจ ผู้ก่อตั้ง อยากให้ทายาทฯ เข้ามาช่วยทำในธุรกิจครอบครัว แต่ยังขาดประสบการณ์ต้องเรียนรู้ กันอยู่
                   ...มีบางองค์กร อาสาตนเองเข้ามาเตรียมความพร้อมให้ธุรกิจครอบครัว ทั้งอบทั้งรม  แต่พอลงสนามจริง กลับไปเป้นอย่างที่ได้ไปอบรมมา  แต่อาจได้สายสัมพันธ์ การร่วมธุรกิจใหม่ ๆ ที่ต่างไปจากธุรกิจเดิม
                     ...บางคนก็ไม่ได้สนใจไปร่ำเรียนที่ไหน อาศัย อ่าน นสพ. ต่าง ๆ ที่ สื่อพยายามปรับมาเล่นหัวข้อนี้เพราะเป็นกระแส   แต่ก็เป็น "กรณี" ที่บอกไม่หมด มีแต่สิ่งดี ๆ หากลองไปทำบ้างมีทั้งได้ผลและเจ๊ง
                    คำถามคือ ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น
                   ผู้เขียนคิดว่า เราคงต้องกลับมาที่พื้นฐาน
                 ..เมื่อไม่นานนักได้มีโอกาสเป็นวิทยากรที่ปรึกษาในการไปจัดทำ วิสัยทัศน์ และภารกิจ ให้กับธุรกิจครอบครัวที่ตั้งมาตั้งแต่รุ่นพ่อ  จนกระทั่งปัจจุบันอยู่ในมือรุ่นลูก แต่สิ่งที่แตกต่างไปจากเดิมคือมีความตั้งใจอยากทำธุรกิจต่อ แต่เป็นลักษณะ คิดกันเองในครอบครัว เรียนรู้จากความสำเร็จในอดีต และรุ่นลูกในปัจจุบันที่จบการศึกษามาดีพอสมควร
 แต่ธุรกิจ "ไม่แรงอย่างที่คิด" ซึ่งอาจจะมีหลายปัจจัย ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า มีปัจจัยหนึ่งคือ "การเตรียมความพร้อม"  ใน 2 ลักษณะ
                    อย่างแรก ความพร้อมด้านพื้นฐานการศึกษา 
                    ผู้เขียนมีข้อมูลจากการศึกษา ในปี 2010 ของ KPMG ที่ได้ทำการศึกษาผู้ประกอบการในออสเตรเลีย  พบว่า
  การเตรียมทายาทรุ่นใหม่ ด้านการศึกษามีดังนี้
                    -ความรู้ในด้านการศึกษามีคุณสมบัติ
                                หรือปริญญา ระดับ Undergrad   40.38%
                     -ความรู้ในด้านการศึกษามีคุณสมบัติ
                                หรือปริญญา ระดับ Post grad    19.23%
                    -อนุปริญญา                                      17.32%
                    -เกรด 12                                       15.38%
                    -เกรด 10                                       5.77%
                    -คุณสมบัติทางการค้า                           1.92%
                  อย่างที่สอง ความรอบรู้ในธุรกิจ (Business  Acumen)
                   เป้นสิ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าวุฒิความรู้   ยิ่งเรียนมากเท่าไหร่ แต่ขาดความรู่ในธุรกิจ และประสบการณืในทำธุรกิจจริง ๆ มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน  เพื่อนของผู้เขียนที่เป็นผู้ประกอบการแบบธุรกิจครอบครัว จะพบว่ารุ่นทายาท ยังอ่อนประสบการณ์ หรือ คิดแบบในตำราเรียนมากกว่าที่จะนำไปใช้จริงได้  ซึ่งคงต้องให้เวลาในการเรียนรู้และพัฒนา อต่ก็อาจไม่ทันใช้งานเพราะปัจจุบันธุรกิจแข่งขันกันสูง และภูมิทัศน์ทางธุรกิจก็ไม่เหมือนสมัยรุ่นก่อตั้ง หรือ รุ่นก่อน

                  การเตรียมพร้อมสร้างทายาทธุรกิจครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญแต่คงไม่ได้ทำด้วยการไปฟัง บรรยาย -อบรมสัมมนา - แต่ต้องมีโมเดลการเรียนรู้  และเรียนรู้จากโมเดลของธุรกิจครอบครัวที่ ประสบความสำเร็จจากหลาย ๆ รุ่นจนถึงปัจจุบัน  ถอดรหัสความสำเร็จได้  จนกล้าเกร่งไปพัฒนาโมเดลความสำเร็จใหม่ของธุรกิจครอบครัวขึ้นมาได้


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com

        



Thursday, January 26, 2012

ธุรกิจครอบครัวอยู่ได้กี่ชั่วอายุคน



เมื่อสองสามวันก่อนมีอาจารย์ท่านหนึ่งถามผมว่า ธุรกิจครอบครัว อยู่ได้ไม่เกิน 3 ชั่วอายุคน จะมีวิธีการอย่างไร ผู้เขียนพอจะไขข้อข้องใจนี้ได้ไหม

ผู้เขียนเลยตอบไปว่า ที่บอกได้ 3 ชั่วอายุคน นั้นไม่ใช่ฝรั่งแต่เป็นในเอเซีย หรือ ประเทศไทย

จะไม่ให้พูดอย่างงั้นได้ไงในเมื่อ ผ่านไปปีแรก ธุรกิจเริ่มใหญ่  ส่วนใหญ่ ครึ่งหนึ่งก็ตายแล้ว

อย่างแรก ฝั่งเขามีโมเดลในการสืบทอดธุรกิจครอบครัวเพื่อให้ สามารถทำธุรกิจอยู่รอดได้เกิน 3 ขั่วอายุคน

ขณะที่ของไทยเราเพิ่งมาตื่นตัวและให้ความสำคัญกับ การพัฒนาธุรกิจครอบครัว

ฝรั่งเองยังมีการตั้งสมาคม ชมรม และสถาบัน ด้านธุรกิจครอบครัว เพื่อพัฒนาให้ธุรกิจครอบครัวของเขาพัฒนาได้มากยิ่งขึ้น
ของเราเป็นลักษณะรวมตัวเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจและต่อรอง กับภาครัฐ ในเรื่องการลงทุน ความช่วยเหลือ เงินกู้ และ การลดอัตราพิกัดภาษี ในการนำเข้าสินค้า เครื่องจักร และการผลิต

อย่างที่สองทัศนคติของคนในแต่ละรุ่นแตกต่างกัน

ผู้เขียนวิเคราะห์ให้เห็นว่า
-ในยุค แรก ของธุรกิจครอบครัว ซึ่งในประเทศไทยมีแนวโน้มเป็นธุรกิจเชื้้้อสายจีน มากกว่า เชื้อสายไทย เพราะคนไทยคิดว่า
 "สิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยง" จึงทำให้คนมุ่งรับราชการ  ปัจจุบันยิ่งหนักใหญ่ เพราะราชการจ่ายวุฒิป.ตรี ที่ 15,000 บาทยิ่งทำให้คนรับราชการ

ซึ่งในยุคนี้ อยู่ในช่วง ศตวรรษที่ 19-20 (ต้นศตวรรษ)  ผู้เขียนเรียกว่า "Hardship"
ผู้ประกอบการธุรกิจครอบครัว จะหนักเบาเอาสู้  ทำงานหามรุ่งหามค่ำ ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย  ทุ่มเท เพื่อการก่อร่างสร้างตัว  เข้าใจความยากลำบาก อดออม มัธยัสถ์

ยุคต่อมาเป็น ศตวรรษที่ 20  (ปลายศตวรรษที่ 20)  ผู้เขียนเรียก  การหาต้นแบบ Role Model 

คือเป็นยุคที่ ธุรกิจครอบครัว มีลูกหลาน ได้ร่ำเรียนขึ้น ข้ามน้ำข้ามทะเล ไปเรียนต่างประเทศ การทำธุรกิจครอบครัว จึง สร้างต้นแบบของความสำเร็จ โดยเรียนรู้ จาก คนอื่นที่ประสบความสำเร็จ เพื่อไม่ให้ธุรกิจผืดพลาดหรือ ล้มหายตายจากไป  แต่ใครที่ปรับตัวไม่ได้ ตายไปก็ไม่น้อย

ยุคศตวรรษที่ 21 เป้นยุคที่คนรุ่นใหม่เข้ามาในธุรกิจครอบครัวมากขึ้น แต่ไม่อยากเสียเวลาเรียนรู้ ต้องการ "แบบด่วนทันใจ Shortcut  -Instant "  ซึ่งทำให้ รุ่นก่อน ปวดหัว กับการที่ต้องมาเป็นพี่เลี้ยงกับ ครอบครัวที่ไม่มีความเข้าใจสภาพธุรกิจจริง เป็นการทำตามตำราอย่างเดียว

ถ้าเป็นอย่างนี้ คงไม่ถึง 3 ชั่วอายุคน แค่ 2 รุ่นก็ตายหมดครับ
อนาคตเป็นธุรกิจครอบครัวที่จะอยู่ในมือของคนรุ่นใหม่ ๆ ที่น่าจับตามองและศึกษาว่าจะนำพาครอบครัวให้ โลดแล่นข้ามไป มากกว่า 3 ชั่วอายุคนได้ไหม

Ward บอกว่าธุรกิจครอบครัว มีความพิเศษไม่เหมือนธุรกิจทั่วไป หากไม่เรียนรู้และศึกษา ก็ยากที่จะนำพาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
โทร 029301133  email: drdanait@gmail.com